svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"นิด้าโพล" เผยคนส่วนใหญ่ อยากให้ใช้เลขสายรถเมล์แบบเดิม งานนี้เห็นด้วยไหม?

11 กุมภาพันธ์ 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจประชาชนส่วนใหญ่ อยากให้ใช้เลขสายรถเมล์แบบเดิม พร้อมมองพฤติกรรมคนขับยังไร้วินัยเหมือนเดิม เหตุยิ่งแก้ยิ่งเละ งานนี้เห็นด้วยไหม?

เป็นอีกนโยบายของรัฐบาล ที่ถูกประชาชนวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก กรณีกระทรวงคมนาคม เดินหน้าแผนปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทางในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ผู้โดยสาร และสามารถเชื่อมโยงระบบรถโดยสารประจำทาง กับระบบขนส่งสาธารณะอื่น ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านตามแผนปฏิรูปฯ

โดยทาง รมว.คมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก ปรับเลขสายรถเมล์ใหม่ ประชาชน โดยให้นำขีดคั่นออก และต่อท้ายด้วยวงเล็บสายรถเมล์เดิม เริ่ม 1 มี.ค. นี้ ซึ่งกรณีนี้ ประชาชนที่ใช้รถเมล์ ต่างพากันออกมาโวยวายว่า "เป็นการสร้างความสับสน เหมือนยิ่งแก้ ยิ่งเละ"

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก NIDA Poll - นิด้าโพล ของ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “รถเมล์ชาวกรุง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5 - 7 กุมภาพันธ์ 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการให้บริการของรถเมล์ในกรุงเทพมหานคร การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
\"นิด้าโพล\" เผยคนส่วนใหญ่ อยากให้ใช้เลขสายรถเมล์แบบเดิม งานนี้เห็นด้วยไหม?
 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการใช้บริการรถเมล์ในกรุงเทพมหานครในปีที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.95 ระบุว่า ไม่เคยใช้บริการเลย รองลงมา ร้อยละ 22.60 ระบุว่า ใช้บริการรถเมล์เป็นบางครั้ง ร้อยละ 21.83 ระบุว่า เคยใช้บริการ แต่ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาไม่ได้ใช้บริการเลย และร้อยละ 9.62 ระบุว่า ใช้บริการรถเมล์อยู่เป็นประจำ   

เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า ใช้บริการรถเมล์อยู่เป็นประจำ และใช้บริการรถเมล์เป็นบางครั้ง (จำนวน 422 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับการให้บริการของรถเมล์ในกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.15 ระบุว่า การให้บริการไม่แย่ลงและไม่ดีขึ้น แค่พอยอมรับได้ รองลงมา ร้อยละ 24.41 ระบุว่า การให้บริการดีเหมือนเดิม ร้อยละ 22.51 ระบุว่า การให้บริการดีขึ้น ร้อยละ 10.43 ระบุว่า การให้บริการแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 4.50 ระบุว่า การให้บริการแย่ลง 

เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า ใช้บริการรถเมล์อยู่เป็นประจำ ใช้บริการรถเมล์เป็นบางครั้ง และเคยใช้บริการ แต่ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาไม่ได้ใช้บริการเลย (จำนวน 708 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับการปรับเลขสายรถเมล์ใหม่ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 63.98 ระบุว่า ควรใช้เลขสายรถเมล์แบบเดิมที่เคยเป็นมาในอดีต เช่น สาย 150 เป็นต้น รองลงมา ร้อยละ 20.20 ระบุว่า เห็นด้วยกับเลขสายรถเมล์ใหม่ที่ไม่มีขีด แต่ยังคงวงเล็บเลขสายรถเมล์เดิม เช่น สาย 115 (150 เดิม) ร้อยละ 8.48 ระบุว่า เห็นด้วยกับเลขสายรถเมล์ใหม่ที่มีขีด เช่น สาย 1-15 และร้อยละ 7.34 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ   
ภาพจากเฟซบุ๊ก รถเมล์ไทย Rotmaethai

ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชน ต่อพฤติกรรมการขับขี่ของรถเมล์ บนท้องถนนในกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.18 ระบุว่า ส่วนใหญ่การขับขี่ไร้วินัยเหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 27.33 ระบุว่า ส่วนใหญ่การขับขี่มีวินัยดีเหมือนเดิม ร้อยละ 23.05 ระบุว่า ส่วนใหญ่การขับขี่มีวินัยที่ดีขึ้น ร้อยละ 9.55 ระบุว่า ส่วนใหญ่การขับขี่ไร้วินัยมากขึ้น และร้อยละ 3.89 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ       

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร ตัวอย่าง ร้อยละ 45.95 เป็นเพศชาย และร้อยละ 54.05 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 15.11 อายุ 15-25 ปี ร้อยละ 16.34 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 25.20 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 25.11 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 94.20 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.05 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.75 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ 

ตัวอย่าง ร้อยละ 43.97 สถานภาพโสด ร้อยละ 52.90 สมรส และร้อยละ 3.13 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 11.83 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.08 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.78 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 40.08 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 10.23 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 6.79 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 28.25 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 26.26 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 0.38 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 8.24 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 22.45 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 7.63 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 26.72 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 5.42 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 22.75 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 14.12 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 7.10 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 9.62 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 14.27 ไม่ระบุรายได้
 

ทั้งนี้ สำหรับการเปลี่ยนหมายเลขสายรถเมล์นั้น ทางเพจ "รถเมล์ไทย Rotmaethai" ได้มีตัวอย่างหมายเลขของสายรถเมล์เดิมและตัวเลขที่เปลี่ยนใหม่มายกตัวอย่าง โดยระบุว่า 

บันเทิง!!!
เมื่อทางราชการ กำหนดให้เลขสายรถเมล์ปฏิรูป เอา "-" ออก
แล้วเราก็จะพบว่า...

สาย 53 เปลี่ยนเป็นสาย 29
สาย 29 เปลี่ยนเป็นสาย 11
สาย 11 เปลี่ยนเป็นสาย 33
สาย 33 เปลี่ยนเป็นสาย 26
สาย 26 เปลี่ยนเป็นสาย 136
สาย 136  เปลี่ยนเป็นสาย 347
สาย 52 เปลี่ยนเป็นสาย 16
สาย 16 เปลี่ยนเป็นสาย 22
สาย 22 เปลี่ยนเป็นสาย 340
สาย 520  เปลี่ยนเป็นสาย 168
สาย 168  เปลี่ยนเป็นสาย 150
สาย 150 เปลี่ยนเป็นสาย 115
สาย 115  เปลี่ยนเป็นสาย 145
สาย 145  เปลี่ยนเป็นสาย 318
สาย 59 เปลี่ยนเป็นสาย 18
สาย 18 เปลี่ยนเป็นสาย 23
สาย 23 เปลี่ยนเป็นสาย 35
สาย 35 เปลี่ยนเป็นสาย 48
สาย 48 เปลี่ยนเป็นสาย 311
สาย 2 เปลี่ยนเป็นสาย 32E 
สาย 32 เปลี่ยนเป็นสาย 25
สาย 25 เปลี่ยนเป็นสาย 37E
สาย 37 เปลี่ยนเป็นสาย 49
สาย 49 เปลี่ยนเป็นสาย 243
สาย 38 เปลี่ยนเป็นสาย 38 

บอกได้เลยว่างานนี้เละ ยิ่งแก้ ยิ่งเละ เพราะพอเอาขีดออกไป กลายเป็นว่า บางเส้นทาง ไปใช้เลขสายที่เป็นของเดิม

สาย 53 ใช้เลขสายนี้มาตั้งแต่ปี 2513 เปลี่ยนมาเป็นสาย 29 ซึ่งเราจะเห็นสาย 29 ไปสนามหลวง แล้วสาย 29 เปลี่ยนไปใช้สาย 11 เราจะได้เห็นสาย 11 ไปวัดพระศรีมหาธาตุบางเขน ไม่ไปสวนหลวง ร.9 แล้ว
คงได้ทะเลาะกันแน่หละงานนี้ สาย 22 เปลี่ยนเส้นทางไปปากเกร็ด เดิมผ่านหน้ารามแท้ๆ 555555
คือไม่ต่างอะไรกับการสลับเลขสายทั้งระบบเลย
ใครคิดเห็นอย่างไรกับประเด็นนี้ เชิญครับ

logoline