svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ครบรอบ 19 ปี คลื่นยักษ์ "สึนามิ" ถล่มไทย ส่องระบบเตือนภัย ใช้งานได้จริง?

25 ธันวาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ครบรอบ 19 ปี ภัยพิบัติทางธรรมชาติ คลื่นยักษ์ "สึนามิ" ถล่มภาคใต้ของไทย ส่องระบบเตือนภัย ใช้งานได้จริงหรือไม่?

26 ธันวาคม 2566 ครบรอบ 19 ปี เหตุุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ (TSUNAMI) ถล่ม 14 ประเทศโดยรอบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 280,000 คน นับเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

สำหรับประเทศไทย ได้รับผลกระทบ 6 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ภูเก็ต, พังงา, ระนอง, กระบี่, ตรัง และสตูล ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 5,400 ราย บาดเจ็บกว่า 8,000 ราย และมีผู้สูญหายอีกจำนวนมาก

ย้อนไปเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เวลา 07.58 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) เกิดเหตุแผ่นดินไหวใต้ทะเล ขนาด 9.1-9.3 มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณนอกฝั่งด้านตะวันตก ทางตอนเหนือของหัวเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ห่างจาก จ.ภูเก็ต ประมาณ 580 กิโลเมตร

ครบรอบ 19 ปี คลื่นยักษ์ \"สึนามิ\" ถล่มไทย ส่องระบบเตือนภัย ใช้งานได้จริง?

ประมาณ 2 ชั่วโมง หลังจากเกิดแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกผ่านทะเลอันดามัน เข้ากระทบชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย นักท่องเที่ยวจำนวนมากเสียชีวิตจากสึนามิ เพราะขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิ และขาดเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความรู้ความชำนาญ เกี่ยวกับเรื่องคลื่นสึนามิโดยตรง

จากเหตุการณ์มหาวิปโยค ทำให้บ้านเรือนของประชาชน โรงแรม บังกะโล โฮมสเตย์ เกสต์เฮาส์ ร้านค้า ร้านอาหาร ทรัพย์สินส่วนตัวของนักท่องเที่ยว ยานพาหนะ ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนน ได้รับความเสียหายจำนวนหลายพันล้านบาท

ครบรอบ 19 ปี คลื่นยักษ์ \"สึนามิ\" ถล่มไทย ส่องระบบเตือนภัย ใช้งานได้จริง?

หลังเกิดภัยพิบัติสึนามิเมื่อปี 2547 มีการติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ อยู่ในความดูแลของประเทศไทย จำนวน 2 ตัว ห่างจากเกาะภูเก็ต ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 965 กิโลเมตร และอีกจุดห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 340 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า ระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2565 เกิดเหตุแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งหมู่เกาะนิโคบาร์ ห่างจาก จ.ภูเก็ต ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือกว่า 570 กิโลเมตร จำนวน 33 ครั้ง แต่ทุ่นเตือนสึนามิ ทั้ง 2 จุด ขึ้นสถานะไม่ทำงาน ซึ่ง ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยืนยันว่า หากเกิดแผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 7.8 ที่อาจจะทำให้เกิดสึนามิ จะมีการกดปุ่มเตือนภัย และมีเวลา 1.30 ชั่วโมง ที่ประชาชนสามารถอพยพได้ทัน

ขณะเดียวกันยังมี "หอเตือนภัยสึนามิ" ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใน 6 จังหวัด ภูเก็ต, พังงา, ระนอง, กระบี่, ตรัง และสตูล มีทั้งสิ้น 130 แห่ง หากเกิดสึนามิติดชายฝั่งอันดามัน หอเตือนภัยจะดังขึ้นหลังกดสัญญาณเตือนภัย 5 นาที มีทั้งหมด 5 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ เยอรมัน จีน และญี่ปุ่น แจ้งให้อพยพไปที่สูงได้ทันท่วงที

ครบรอบ 19 ปี คลื่นยักษ์ \"สึนามิ\" ถล่มไทย ส่องระบบเตือนภัย ใช้งานได้จริง?

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อาคารหลบภัย และหอเตือนภัยสึนามิหลายแห่งถูกปล่อยทิ้งร้าง มีหญ้าขึ้นปกคลุม จนชาวบ้านไม่มั่นว่ายังสามารถส่งสัญญาณเตือนภัยได้จริงหรือไม่

ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 เวลาประมาณ 03.45 น. หอเตือนภัยจำนวน 25 แห่ง ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้ส่งสัญญาณเตือนภัยโดยไม่ทราบสาเหตุ และก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเกิดสึนามิ แต่จากการตรวจสอบไม่พบความผิดปกติของอุปกรณ์

ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ชี้แจงทำความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่ในช่วงที่มีเสียงสัญญาณเตือนภัยเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถห้ามได้ แต่การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ ระบบเตือนภัยต่างๆ ความพร้อมด้านการอพยพ เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ เพื่อลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก :

logoline