svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดรายได้ รู้จักที่มา องคมนตรี เกิดขึ้นเมื่อไหร่ พร้อมเช็กอัตราเงินเดือน 

30 พฤศจิกายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดที่มา คณะ 'องคมนตรี' ประเทศไทย หลัง'พล.อ.ประยุทธ์' ได้รับแต่งตั้งเป็นคนล่าสุด มีอดีตนายกรัฐมนตรีท่านไหนใครกันบ้าง พร้อมเช็กอัตราเงินเดือน รับค่าเหนื่อยเดือนละเท่าไร ทีมข่าวรวบรวมรายละเอียดให้ครบ จบที่นี่ ก่อนใคร

ย้อนไปเมื่อวานนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศเรื่อง แต่งตั้งองคมนตรี

เปิดรายได้ รู้จักที่มา องคมนตรี เกิดขึ้นเมื่อไหร่ พร้อมเช็กอัตราเงินเดือน 

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า

ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งองคมนตรี ตามประกาศ ลงวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2565 แล้วนั้น

บัดนี้ ทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มขึ้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 11 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" เป็น องคมนตรี

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2566 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน

เปิดรายได้ รู้จักที่มา องคมนตรี เกิดขึ้นเมื่อไหร่ พร้อมเช็กอัตราเงินเดือน 

เปิดรายได้ รู้จักที่มา องคมนตรี เกิดขึ้นเมื่อไหร่ พร้อมเช็กอัตราเงินเดือน 

ส่องประวัติพอสังเขป พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ท่านเกิดเมื่อวันที่ 21 มี.ค.2497 ปัจจุบันอายุ 69 ปี มีชื่อเล่นว่า "ตู่"

รับราชการในกองทัพบกจนเกษียณอายุราชการ ในตำแหน่งสูงสุดคือ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ก่อนจะเป็นผู้นำการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 ภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 29 ของประเทศไทย ในนามรัฐบาล "คสช." 

ต่อมาในการเลือกตั้งปี 62 หลังมีรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 กำเนิดพรรคการเมืองใหม่ในช่วงเวลานั้น ชื่อ "พรรคพลังประชารัฐ" พล.อ.ประยุทธ์ ก็ได้ตอบรับเทียบเชิญเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี 

ยังคงเป็นที่จดจำ สำหรับสโลแกนในช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียง "เลือกความสงบจบที่ลุงตู่" ประโยคนี้สร้างความสำเร็จให้พรรคพลังประชารัฐ สามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ และทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ได้เป็นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 2

เปิดรายได้ รู้จักที่มา องคมนตรี เกิดขึ้นเมื่อไหร่ พร้อมเช็กอัตราเงินเดือน 

เปิดรายได้ รู้จักที่มา องคมนตรี เกิดขึ้นเมื่อไหร่ พร้อมเช็กอัตราเงินเดือน 

ชวนคอข่าวสายการเมือง มาร่วมย้อน ร่วมทำความรู้จัก “องคมนตรี” มีความเป็นมาอย่างไร ทำหน้าที่อะไรกันบ้าง พร้อมส่องราย ค่าเหนื่อยที่ได้จากการทำหน้านี้เพื่อประเทศชาติ 

เปิดประวัติที่มา "องคมนตรี"
 
สำหรับคำว่า “องคมนตรี” เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งสภาขึ้น 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of state) จำนวน 12 คน เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2417 ต่อมาปี 2437 ได้ยกเลิกไป และจัดตั้ง รัฐมนตรีสภา ขึ้นแทน และปรีวีเคาน์ซิล (Privy council) หรือ ที่ปรึกษาในพระองค์ จำนวน 49 คน เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2417 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น องคมนตรีสภา

องคมนตรี เป็นข้าราชการในพระองค์ และพระมหากษัตริย์ทรงเลือก ตามพระราชกฤษฎีกา จัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ ปี 2560 และต้องไม่เป็น สส., สว. หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการในพระองค์ตำแหน่งอื่น นอกจากองคมนตรี พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ

ทั้งนี้ ก่อนเข้ารับหน้าที่ “องคมนตรี” ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง

เปิดรายได้ รู้จักที่มา องคมนตรี เกิดขึ้นเมื่อไหร่ พร้อมเช็กอัตราเงินเดือน  ทำความเข้าใจ ขอบเขตหน้าที่ขององคมนตรี
สื่อดัง คมชัดลึก อธิบายไว้ว่า 
องคมนตรี เป็นคณะที่ปรึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้น เพื่อถวายคำแนะนำแก่พระมหากษัตริย์ไทย รวมทั้งปฏิบัติภารกิจ ตามที่พระมหากษัตริย์ทรงกำหนด หรือทรงมอบหมาย จะต้องมีสมาชิกจำนวนไม่เกิน 18 คน โดยพระมหากษัตริย์มีพระราชวินิจฉัยในการแต่งตั้งสมาชิกองคมนตรีทั้งหมด โดยคณะองคมนตรี จะทำการประชุมทุกสัปดาห์ ณ ทำเนียบองคมนตรี บริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ ใกล้พระบรมมหาราชวัง

ทั้งนี้ ประธานองคมนตรีคนปัจจุบัน คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 24 อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตผู้บัญชาการทหารบก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 2562 ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ โดยพระมหากษัตริย์มีพระราชวินิจฉัย ในการแต่งตั้งสมาชิกองคมนตรีทั้งหมด และ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2566 ครบทั้ง 18 คน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดแล้ว

ส่องค่าเหนื่อย-อัตราเงินเดือน ประธานองคมนตรี-คณะองคมนตรี
ตามพระราชกฤษฎีกา เงินประจำตำแหน่งขององคมนตรีและรัฐบุรุษ พ.ศ.2551 มาตรา 4 ระบุว่า ให้ประธานองคมนตรีได้รับเงินประจำตำแหน่งเป็นรายเดือน เดือนละ 121,990 บาท ให้องคมนตรีอื่น ได้รับเงินประจำตำแหน่งเป็นรายเดือน เดือนละ 112,250 บาท

โดยในมาตราที่ 5 ระบุว่า  ให้ผู้ซึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องไว้ในฐานะ "รัฐบุรุษ" ได้รับเงินประจำตำแหน่งเป็นรายเดือน เดือนละ 121,990 บาท

ทำเนียบองคมนตรี ที่เคยเป็น นายกรัฐมนตรี

  • นายสัญญา ธรรมศักดิ์
  • พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
  • พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
  • นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

รายชื่อคณะองคมนตรี ณ ปัจจุบัน ประกอบด้วย 

  • พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย
  • นายพลากร สุวรรณรัฐ
  • ศาสตราจารย์พิเศษ อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
  • นายศุภชัย ภู่งาม
  • พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข
  • พล,อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา
  • พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
  • นายจรัลธาดา กรรณสูต
  • พล.อ.กัมปนาท รุดดิษฐ์
  • พล.ร.อ.พงษ์เทพ หนูเทพ
  • รองศาสตราจารย์ ดร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา
  • นายอำพน กิตติอำพน
  • พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท
  • พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง
  • นายนุรักษ์ มาประณีต
  • ศาสตราจารย์ ดร.เกษม จันทร์แก้ว
  • พล.อ. บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

เปิดรายได้ รู้จักที่มา องคมนตรี เกิดขึ้นเมื่อไหร่ พร้อมเช็กอัตราเงินเดือน 

ย้อนอ่าน

โพสต์สุดซึ้งในเฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha ได้มีการโพสต์ระบุข้อความว่า “พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักครับตลอดระยะเวลา 9 ปี ของการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย เป็นช่วงเวลาที่มีความหมายมากที่สุดของชีวิต เป็น 9 ปีที่ได้ทำงานเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของผม และของเราทุกคน เป็น 9 ปีที่ผมได้ใช้สติปัญญา ทุ่มเททุกศักยภาพและกำลังความสามารถ สานพลังจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน รวมทั้งเชิดชูสถาบันอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย และเป็น 9 ปีของประเทศไทยที่ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด มีความเจริญก้าวหน้าในหลายด้านทัดเทียมนานาอารยประเทศ และพร้อมยกระดับไปสู่ประเทศชั้นนำของโลก ในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยเหตุผลสำคัญได้แก่
 
1. เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมี "ยุทธศาสตร์ชาติ" ระยะยาว 20 ปี เพื่อเป็นเข็มทิศนำทางและกรอบแนวคิดในการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ให้เกิดความต่อเนื่อง เป็นเป้าหมายให้ทุกภาคส่วนได้ทำงานร่วมกัน ขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกระดับ

2. มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมครั้งยิ่งใหญ่ ในทุกระบบ ทั้งทางถนน ทางราง ทางทะเล และทางอากาศ รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต ยกบทบาทของประเทศจากความโดดเด่นทางภูมิรัฐศาสตร์ ให้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ ด้านการบิน ด้านการขนส่งสินค้า ด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ

3. มีความพร้อมเรื่อง "เศรษฐกิจดิจิทัล" และ "เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม" โดยมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล และ 5G ที่โดดเด่นในภูมิภาค เป็นที่ดึงดูดการลงทุนบริษัทชั้นนำของโลกหลายราย ซึ่งจะส่งเสริมบทบาทให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้าน 5G - Data center - Cloud services ที่สำคัญในภูมิภาค มีการใช้ประโยชน์ของประชาชนในชีวิตประจำวัน การศึกษาหาความรู้ การประกอบอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตนและสร้างรายได้ที่สูงขึ้นของคนทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพ

4. มีการกำหนด 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต รวมทั้งมีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตส่งเสริมเศรษฐกิจเพื่อกิจการพิเศษ ทั้งด้านการแพทย์ ด้านนวัตกรรม ด้านดิจิทัล เป็นต้น ที่เป็นแหล่งบ่มเพาะแรงงานทักษะสูง-แรงงานแห่งอนาคต รวมถึงเกษตรอัจฉริยะ  เพื่อตอบสนองตลาดแรงงานในอนาคต และการพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21

5. สร้างกลไกในการบริการจัดการทรัพยากรที่สำคัญของชาติ (1) "น้ำ" ออกกฎหมายน้ำฉบับแรกของประเทศ มีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) บูรณาการหน่วยงานน้ำในทุกระดับ (2) "ดิน" ตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) และจัดทำแผนที่ One Map เพื่อแก้ปัญหาที่ดินทับซ้อนมาหลายสิบปี รวมทั้งจัดสรรที่ดินทำกินให้กับผู้ยากไร้-เกษตรกร (3) "ป่า" เช่น ออกกฎหมายป่าชุมชน ไม้มีค่า และตลาดคาร์บอนเครดิต เพื่อส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ

6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น (1) ส่งเสริมสวัสดิการกลุ่มเปราะบางทั้งเด็ก-ผู้สูงอายุ-ผู้พิการ (2) ส่งเสริมบทบาทกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กองทุนยุติธรรม และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (3) การยกระดับศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ด้วยการศึกษา รองรับความท้าทายใหม่ๆ ของโลกในอนาคต

7. ปฏิรูปกฎหมายไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และดึงดูดการลงทุนเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ รวมทั้งแก้ไขและบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถแก้ไขวิกฤตชาติได้ในหลายเรื่อง เช่น ปลดธงแดง ICAO และแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย IUU สร้างความเชื่อมั่นประเทศไทยในเวทีโลก

8. ประยุกต์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในระบบราชการไทย เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ประชาชนและเอกชน ที่เข้าถึงง่าย - สะดวก - โปร่งใส เช่น (1) บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ช่วยให้การจ่ายเงินช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางตรงเป้าหมาย เต็มเม็ดเต็มหน่วย ตรวจสอบได้ (2) UCEP สายด่วน 1669 บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ฟรีทุกสิทธิ์ ทุกโรงพยาบาล เป็นต้น

9. สร้างความสัมพันธ์ทั่วโลก ทั้งในรูปแบบทวิภาคี-พหุภาคี และเขตการค้าเสรี (FTA) รวมทั้งรื้อฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย เพื่อขยายความร่วมมือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และตลาดการค้าระหว่างกัน

ทั้งนี้ การเดินทางของประเทศไทยในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้ราบรื่น หรือง่ายดาย ยังคงมีวิกฤตโควิด วิกฤตความขัดแย้งในโลก ที่ส่งผลกระทบด้านราคาพลังงาน ค่าครองชีพ และเงินเฟ้อจนถึงในปัจจุบัน แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทย ช่วยให้เราฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ และฟื้นตัวมาได้ ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ยังคงผันผวน

ผมขอขอบคุณพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคน เพื่อนข้าราชการ และทุกภาคส่วน ที่ได้เสียสละและอดทนในทุกสถานการณ์ที่ผ่านมา เพื่อให้ส่วนรวม สังคม และประเทศชาติ กลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง ซึ่งผมมั่นใจอย่างยิ่งว่าประเทศไทยนับจากวันนี้เป็นต้นไป จะไม่ได้เริ่มนับที่ 1 อีกต่อไป หากทุกอย่างที่เราสร้างกันมานั้นได้รับการต่อยอด ก็จะทำให้เราเดินทางเข้าสู่ "เส้นชัย" ได้เร็ววันขึ้นครับ

เปิดรายได้ รู้จักที่มา องคมนตรี เกิดขึ้นเมื่อไหร่ พร้อมเช็กอัตราเงินเดือน 

ขอบคุณที่มา : เฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha

 

ขอขอบคุณที่มา: วิกิพีเดีย / คมชัดลึก

logoline