svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

องค์การอนามัยโลก ประกาศ "ความเหงา" เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน

21 พฤศจิกายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

องค์การอนามัยโลก ประกาศให้ "ความเหงา" เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน อันตรายต่อสุขภาพเทียบเท่าได้กับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน ล่าสุด ตั้งคณะทำงานนานาชาติปฏิบัติงาน เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อรับมือปัญหาระดับโลกเช่นนี้

WHO หรือ องค์การอนามัยโลก ตั้งคณะกรรมาธิการนานาชาติเกี่ยวกับปัญหา "ความเหงา" นำโดย นพ.วิเวก มูรธี ศัลยแพทย์ใหญ่สหรัฐฯ และชิโด เอ็มเปมบา ทูตด้านเยาวชนของสหภาพแอฟริกา รวมไปถึงบรรดานักเคลื่อนไหวและรัฐมนตรีอีก 11 คน เช่น ราล์ฟ เรเกนวานู รัฐมนตรีกระทรวงการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของวานูอาตู และอายูโกะ คาโต้ รัฐมนตรีที่รับผิดชอบมาตรการเกี่ยวกับความเหงาและการแยกตัวจากสังคมของญี่ปุ่น

องค์การอนามัยโลก ประกาศ \"ความเหงา\" เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน

สำหรับการตั้งคณะกรรมาธิการนี้ มีขึ้นหลังจากที่การระบาดของ โควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมหยุดชะงักลง ส่งผลให้ "ความเหงา" เพิ่มระดับสูงขึ้น รวมถึงกระแสตื่นตัวที่เกิดขึ้นใหม่เกี่ยวกับความสำคัญของปัญหาดังกล่าว โดยคณะกรรมาธิการชุดนี้ จะปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลา 3 ปี

องค์การอนามัยโลก ประกาศ \"ความเหงา\" เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน

"ความเหงากำลังกลายเป็นข้อกังวล ด้านสาธารณสุขระดับโลก ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ และการพัฒนาในทุกด้าน ความโดดเดี่ยวทางสังคมไม่มีอายุ หรือขอบเขต ความเสี่ยงด้านสุขภาพนั้น แย่พอ ๆ กับการสูบบุหรี่มากถึง 15 มวนต่อวัน และมากกว่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนและการไม่ออกกำลังกายอีกด้วย" นพ.วิเวก มูรธี กล่าว

องค์การอนามัยโลก ประกาศ \"ความเหงา\" เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน

ในกลุ่มผู้สูงอายุ "ความเหงา" มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะพัฒนาภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 50% และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ โรคหลอดเลือดสมอง 30% 

นอกจากนี้ ความเหงายังบั่นทอนชีวิตของคนหนุ่มสาวอีกด้วย

องค์การอนามัยโลก ประกาศ \"ความเหงา\" เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน

อ้างอิงชุดข้อมูลงานวิจัยเมื่อปี 2022 ระบุว่า 

วัยรุ่น 5 – 15% มีภาวะเหงา ซึ่งตัวเลขมีแนวโน้มว่าจะถูกประเมินต่ำไป ขณะที่ในแอฟริกามีวัยรุ่น 12.7% เผชิญกับความเหงา เทียบกับ 5.3% ในยุโรป

ในขณะที่คนรุ่นหนุ่มสาว กำลังประสบปัญหาความเหงาที่โรงเรียน มีแนวโน้มที่จะไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัยมากกว่าคนทั่วไป 
นอกจากนี้ "ความเหงา" ยังส่งผลไปสู่ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่แย่ลง ความรู้สึกแปลกแยก และไม่ได้รับการสนับสนุนในงานอาจทำให้ความพึงพอใจและประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง

รู้หรือไม่ว่า ความโดดเดี่ยว อ้างว้าง ความเหงา อันตรายเสี่ยงถึงแก่ชีวิตได้ 

ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2566 

แพทย์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ชี้สาเหตุความโดดเดี่ยว อ้างว้าง เหงา เปลี่ยวเหงา เป็นผลเสียต่อสุขภาพคนเรา ทำให้เสี่ยงเสียชีวิตได้มาก รุนแรงมากพอๆ กับการสูบบุหรี่ คนรักสุขภาพที่ดต้องไม่พลาด รวบรวมรายละเอียด ทางแก้ไว้ให้ครบที่ตรงนี้ คนเหงาหนักต้องระวังให้มาก

“คนที่โดดเดี่ยวมาก ๆ จะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต มากกว่าคนทั่วไป” Bruce Rabin ผู้อำนวยการโครงการ Healthy Lifestyle Program จาก University of Pittsburgh Medical Center กล่าวไว้

ความเหงา สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในระดับยีน และสารเคมีในสมอง ทำให้หลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมาง่ายขึ้น และเมื่อเราเครียด ร่างกายก็จะหลั่งอะดรีนาลีน และฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์หดหู่อย่าง คอร์ติซอล ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆ อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเรา จนก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้

องค์การอนามัยโลก ประกาศ \"ความเหงา\" เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน

เทคโนโลยีกับความเหงา

เทคโนโลยี สามารถเป็นตัวเร่งทำให้ปัญหาความเหงารุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่อ้างถึงรายงานที่พบว่า ผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นเวลา 2 ชั่วโมงขึ้นไปทุก ๆ วันมีแนวโน้มที่จะรู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคมมากกว่าผู้ที่ใช้แอปฯ เหล่านั้นน้อยกว่า 30 นาทีต่อวันถึงสองเท่า

องค์การอนามัยโลก ประกาศ \"ความเหงา\" เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน

นายแพทย์มูรธี อธิบายว่า

โซเชียลมีเดีย คือสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเหงามากขึ้น รายงานของเขาชี้ให้เห็นด้วยว่า บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ เริ่มใช้มาตรการป้องกันสำหรับเด็ก โดยเฉพาะในเรื่องพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย และว่า “ไม่มีอะไรมาแทนที่การมีปฏิสัมพันธ์แบบเจอตัวได้จริงๆ”

"การที่เราเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารกันมากขึ้น ทำให้สูญเสียการมีปฏิสัมพันธ์แบบเจอตัวกันจริงๆไปได้ ดังนั้น เราควรออกแบบเทคโนโลยีที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ของเราให้แน่นแฟ้นแทนที่จะทำให้ความสัมพันธ์อ่อนแอลง" นายแพทย์มูรธีให้แง่คิด

Mintel เผยผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 8 ใน 10 กำลังประสบปัญหาสุขภาพจิต โดย Gen Z คือกลุ่มวัย ที่รู้สึกโดดเดี่ยวที่สุด

งานวิจัยฉบับใหม่ของ บริษัทวิจัยด้านการตลาดระดับโลก Mintel (มินเทล) ชี้ ผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 8 ใน 10 ราย ต่างประสบปัญหาสุขภาพจิตในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา สามอันดับแรก คือ ความเครียด (46%) นอนไม่หลับ (32%) และวิตกกังวล (28%)
องค์การอนามัยโลก ประกาศ \"ความเหงา\" เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน

เชื่อหรือไม่ว่า

ในปี 2020 ในปีที่โควิด-19 ระบาดอย่างรุนแรง มีตัวเลขว่า คนอยู่กับเพื่อนๆ ใช้เวลากับเพื่อนๆ เพียง 20 นาที ต่อวัน  นับว่าเป็นช่วงเวลาที่น้อยมากๆ น้อยกว่าค่าเฉลี่ยช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมาถึง 1 ชั่วโมง 

เมื่อทราบข้อมูลว่าด้วยความเหงาขนาดนี้แล้ว โปรดหันมามอง มาสังเกตคนรอบตัว คนรอบข้างเรา อย่าปล่อยให้ คนใกล้ตัวของคุณ "เหงา" และรู้สึก "โดดเดี่ยว" เพราะเพียงแค่การ ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันสั้นๆ เสียสละเวลาไม่นานนัก แต่มันก็อาจจะทำให้ คนที่เหงาหนัก เหงาอยู่ มีกำลังใจในการที่จะใช้ชีวิตบนโลกนี้ต่อไปได้!

องค์การอนามัยโลก ประกาศ \"ความเหงา\" เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน

logoline