svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ปธ.ศาลฎีกา" เปิดอบรม "ผู้พิพากษาสมทบ" ศาลแรงงาน พัฒนาศักยภาพ อำนวยความยุติธรรม

ประธานศาลฎีกา เปิดงานสัมมนาผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงาน ทั่วประเทศ กว่า 600 คน พัฒนาศักยภาพอำนวยความยุติธรรม ตามนโยบาย "ที่พึ่ง เที่ยงธรรม เท่าเทียม ทันโลก"

20 พฤศจิกายน 2566 ที่ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จ.พระนครศรีอยุธยา นางอโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฎีกา เดินทางมาเป็นในประธานพิธีเปิดโครงการ การประชุมสัมมนาผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานทั่วประเทศครั้งที่ 9 ประจำปี ที่ ศาลเเรงงานภาค1 โดย น.ส.อินทิรา ฉิวรัมย์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 1 เเละคณะเป็นเจ้าภาพ

และมีนายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ อดีตประธานศาลฎีกา พร้อมด้วยอธิบดีผู้พิพากษาศาลเเรงงานกลาง เเละอธิบดีผู้พิพากษาศาลเเรงงานภาค 1-9 พร้อมด้วยคณะผู้พิพากษาสมทบศาลเเรงงานทั่วประเทศเข้าร่วมงาน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

\"ปธ.ศาลฎีกา\" เปิดอบรม \"ผู้พิพากษาสมทบ\" ศาลแรงงาน พัฒนาศักยภาพ อำนวยความยุติธรรม

ประธานศาลฎีกา กล่าวเปิดงานว่า ศาลยุติธรรม เป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา ในการพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ไร้ซึ่งอคติ เพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชนที่ได้รับความ เดือดร้อน หรือมีข้อพิพาทโดยที่ศาลแรงงานเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน ซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งและคดีอาญาโดยทั่วไป

เนื่องจากเป็นข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือเกี่ยวกับสิทธิของนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ โดยกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นระบบไตรภาคี ประกอบด้วย ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่าๆ กัน ซึ่งในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนั้น จำเป็นต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมายแรงงาน

นางอโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฎีกา

ดังนั้น บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่จึงต้องได้รับการเพิ่มพูน ความรู้ด้านกฎหมายแรงงาน และพัฒนาศักยภาพเพื่อให้มีความเข้มแข็งทั้งในด้าน วิชาการ กฎหมายและการปฏิบัติงาน เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามนโยบาย "ที่พึ่ง เที่ยงธรรม เท่าเทียมทันโลก" ในวันนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ ผู้พิพากษาสมทบจะได้รับความรู้ทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนางานของศาลแรงงาน และนำประโยชน์ที่ได้รับไปกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานให้มีมาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนต่อไป

ด้าน น.ส.อินทิรา อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 1 กล่าวรายงานต่อประธานศาลฎีกาว่า ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี แรงงาน ซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งและคดีอาญาโดยทั่วไป การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานจะต้องเป็นไปโดยประหยัด สะดวกและเที่ยงธรรม

ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ศาลแรงงานภาค 1 จึงได้จัดโครงการ การประชุมสัมมนาผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานทั่วประเทศครั้งที่ 9 ขึ้น อันเป็นการเพิ่มพูนความรู้ด้านกฎหมายแรงงาน และเปิดโอกาสให้ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานทั่วประเทศได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ ทัศนคติ วิสัยทัศน์ ตลอดจนรับฟังปัญหา อุปสรรคของการดำเนินกระบวน พิจารณาคดีแรงงาน

น.ส.อินทิรา ฉิวรัมย์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 1

อีกทั้ง เป็นการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานทั่วประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนต่อไปในการจัดโครงการ การประชุมสัมมนาผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 นี้ ศาลแรงงานภาค 1 ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมสัมมนา โดยมีผู้บริหารศาลแรงงานกลาง ผู้บริหารศาลแรงงานภาค 1-9 ให้เกียรติมาเป็นผู้สังเกตการณ์ และมีผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลางผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานภาค 1-9 เป็นผู้เข้าร่วมสัมมนา รวมทั้งสิ้นประมาณ 600 คน

\"ปธ.ศาลฎีกา\" เปิดอบรม \"ผู้พิพากษาสมทบ\" ศาลแรงงาน พัฒนาศักยภาพ อำนวยความยุติธรรม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการจัดสัมนาครั้งนี้ มีผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานทั่วประเทศ ประมาณ 600 คน มีการบรรยาย อภิปราย เสวนา มีรับชมการแสดงโขนรามเกียรติ์ รวมถึงการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาเยี่ยมชมวัดเพื่อประสานความสามัคคีในหมู่คณะของผู้พิพากษาสมทบทั่วประเทศ

\"ปธ.ศาลฎีกา\" เปิดอบรม \"ผู้พิพากษาสมทบ\" ศาลแรงงาน พัฒนาศักยภาพ อำนวยความยุติธรรม \"ปธ.ศาลฎีกา\" เปิดอบรม \"ผู้พิพากษาสมทบ\" ศาลแรงงาน พัฒนาศักยภาพ อำนวยความยุติธรรม