svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รู้จัก 'พิธีจองเปรียง' พระราชพิธีเดือนสิบสอง สู่งานลอยกระทง ในกาลปัจจุบัน

ทำความรู้จัก 'พิธีจองเปรียง' เป็นพิธีบูชาไฟ ถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา กำหนดจัดขึ้นในเดือนสิบสองของทุกปี เปรียบเทียบได้กับ พิธีลอยกระทง ที่เราคุ้นเคยในสมัยนี้ นั่นเอง

'พิธีจองเปรียง' พระราชพิธีเดือนสิบสอง สู่งานเทศกาล 'ลอยกระทง' ในกาลปัจจุบัน

ต้นสายปลายเหตุก็มาจาก ละครพีเรียดเรื่องดังแห่งปี 2566 ละคร "พรหมลิขิต" ในตอนที่จะกำลังออกอากาศ คืนวันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2566 นี้ อันเนื่องมาจากในตอนก่อนหน้านี้ ได้มีตัวละครพูดถึง พิธีจองเปรียง ซึ่งเป็นพิธีโบราณ คนในสมัยปัจจุบันหลายๆ คน อาจไม่เคยได้ยินมาก่อนแน่ๆ !! 

วันนี้ จะนำออเจ้ายุค 2023 ย้อนอดีต ย้อนเวลา ไปทำความรู้จักพิธีดังกล่าว "จองเปรียง" คือ พิธีอะไร พร้อมทำความเข้าใจ พิธีนี้มีความเป็นมาเช่นไร มาร่วมย้อนเวลาไปทำความรู้จักกันตรงนี้ กับ พิธีจองเปรียง

พิธีจองเปรียง

เป็นพิธีบูชาไฟ เพื่อถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา โดยจะจัดขึ้นในเดือนสิบสองของทุกปี ในช่วงเวลาที่น้ำนองเต็มตลิ่งที่เราทุกคนคุ้นหูคุ้นใจกันดีในเพลงลอยกระทง 

โดยพิธีนี้ มีต้นแบบมาจาก ดิวาลี พิธีบูชาไฟของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งว่ากันว่า เป็นพิธีที่สืบเนื่องมาจากบ้านเมืองดั้งเดิม คือเมืองพระนครหลวง หรือ นครธม ในกัมพูชา ตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยา

รู้จัก \'พิธีจองเปรียง\' พระราชพิธีเดือนสิบสอง สู่งานลอยกระทง ในกาลปัจจุบัน

ในสมัยอยุธยา พิธีจองเปรียง ลดชุดลอยโคมลงน้ำ ซึ่งอาจเข้าใจได้ว่าเป็นพิธีเดียวกันทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงแล้ว คือ พิธีนี้มี 2 กิจกรรมในคราวเดียวกัน

คือ จองเปรียง หรือ ลดชุด โดย จอง มาจากคำเขมรว่า “จง” (อ่าน จอง) แปลว่า ผูก, โยง ในที่นี้หมายถึง ดูแลประคับประคองให้มีแสงสว่าง เช่น เลี้ยงไฟไม่ให้ดับ ตรงกับ “ตาม” ในคำว่า “ตามไฟ” 

(ผู้รู้ภาษามอญว่าจอง แปลว่า เผา) เปรียง มาจากคำเขมรว่า “เปฺรง” (อ่านว่า เปรง) แปลว่า น้ำมัน

จองเปรียง จึงหมายถึง ดวงไฟตามประทีปสว่างไสวที่ได้จากการจุดไฟเผาน้ำมัน แล้วชักด้วยสายรอกยกโคมไฟขึ้นไปแขวนตามเสา ระเบียง ชายคา ส่วน ลดชุด หมายถึง ชุดดวงไฟที่ลดขนาดเล็กลง แล้วจัดวางเรียงเป็นแถว โดยจะวางเรียงไว้ที่ช่องที่เจาะไว้ตามผนังกำแพงเมือง หรือกำแพงวัง และจะมีการการลอยโคมในน้ำ หรือเทียบได้กับ ลอยกระทง แบบในยุคปัจจุบัน

รู้จัก \'พิธีจองเปรียง\' พระราชพิธีเดือนสิบสอง สู่งานลอยกระทง ในกาลปัจจุบัน รู้จัก \'พิธีจองเปรียง\' พระราชพิธีเดือนสิบสอง สู่งานลอยกระทง ในกาลปัจจุบัน

สำหรับ พิธีลอยกระทง 

รู้จัก \'พิธีจองเปรียง\' พระราชพิธีเดือนสิบสอง สู่งานลอยกระทง ในกาลปัจจุบัน
เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำกันตั้งแต่กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฟากฝั่งแม่น้ำ หรือเอ่อตลิ่ง ที่นิยมมากๆ คือในช่วงคืนวันเพ็ญเดือน 12 
เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้มองเห็นชัด บางพื้นที่เห็นแม่น้ำที่ใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน ช่างเป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง

แต่เดิม พิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียง ชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหมครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนาก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย

ย้อนสืบค้นอ้างอิงจาก ข้อมูลของ กรมศิลปากร นั้น พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ ๕ ในคํานําระบุว่า 

เป็นพระราชพิธี สําหรับปฏิบัติในพระนคร ซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งอดีต พระราชพิธีเหล่านี้ เกิดขึ้นจากความเชื่อใน ด้านไสยศาสตร์ที่มีการนับถือ พระเจ้าต่างๆ ในศาสนา 
พราหมณ์ และส่วนหนึ่งเกิด จากความเชื่อความศรัทธา ในพุทธศาสนาควบคู่กัน 
ดังนั้นในพระราชพิธีบางอย่าง จึงเป็นการผสมผสานระหว่างพราหมณ์และพุทธ
ในพระราชกําหนดกฎมณเฑียรบาลครั้งกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงพระราชพิธีประจําเดือนทั้ง 12 เดือนไว้ว่า 
เป็นกิจซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงทําเพื่อเป็นมงคลสําหรับพระนคร ทุกปีมิได้ขาด ดังนี้

  • เดือนห้า พระราชพิธีเผด็จศก ลดแจตรออกสนาม
  • เดือนหกพิธีไพศาขย์ จรดพระราชนังคัล
  • เดือนเจ็ดทูลน้ำล้างพระบาท
  • เดือนแปดเข้าพรรษา
  • เดือนเก้าตุลาภาร
  • เดือนสิบภัทรบทพิธีสารท
  • เดือนสิบเอ็ดอาศยุชยแข่งเรือ
  • เดือนสิบสองพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม
  • เดือนอ้ายไล่เรือ เถลิงพิธีตรียัมพวาย
  • เดือนยีการพิธีบุษยาภิเศก เฉวียนพระโคกินเลี้ยง
  • เดือนสามการพิธีธานยเทาะห์
  • เดือนสี่การพิธีสัมพัจฉรฉินท์

 

การพระราชพิธีดังข้างต้นนี้แตกต่างจากพระราชพิธี ที่ปรากฏในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ตรงที่ระยะเวลาในการจัดพระราชพิธีต่างๆ ไม่ตรงกันบ้างในบางเดือน ซึ่งจะขอเรียงตามลําดับเดือน ทั้ง ๑๒ ตามบทพระราชนิพนธ์ ดังนี้

  • เดือนสิบสอง พิธีจอง เปรียง พระราชพิธีลอยพระประทีป
  • เดือนอ้ายพิธีไล่เรือ เฉวียนพระโคกินเลี้ยง
  • เดือนยีพระราชพิธี บุษยาภิเษก พระราชพิธี ตรียัมพวาย ตรีปวาย
  • เดือนสามพิธีธานยเทาะห์ พระราชกุศลเลี้ยงพระตรุษจีน
  • เดือนสี่พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์
  • เดือนห้าพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล
  • เดือนหกพระราชพิธีพืชมงคล พิธีจรดพระนังคัล
  • เดือนเจ็ดพระราชพิธีทูลน้ำล้างพระบาท
  • เดือนแปดพระราชพิธีเข้าพรรษา
  • เดือนเก้าพิธีตุลาภาร
  • เดือนสิบพระราชพิธีสารท
  • เดือนสิบเอ็ดอาศยุชยแข่งเรือ

การพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน เกิดขึ้นจากรัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงมีพระราชดําริว่า 
คําโคลงพระราชพิธี ทวาทศมาสซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบําราบปรปักษ์ ทรงแต่งขึ้นไว้ และกรรมสัมปาทิกได้นําลงไว้ในหนังสือวชิรญาณ แต่ไม่ครบทั้งสิบสองเดือน อีกทั้งถ้อยคําในโคลงอาจเป็นที่เข้าใจยากมาก สําหรับผู้ที่ไม่สันทัดในโคลงกลอน จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นความเรียง เพื่อยังประโยชน์ให้คนรุ่นหลังได้รู้จักการพระราชพิธีสืบต่อไป

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพิธีจองเปรียงไว้ในเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า 
แต่เดิมเป็นพิธีของพราหมณ์  มีการชักโคม แขวนโคมที่เสาโคมชัย และลดโคมลง  ตามกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยาระบุว่า ลอยโคมลงน้ำ 

ทรงพระราชนิพนธ์ว่า

ระยะเวลาชักโคม แขวนโคมจนถึงลดโคม ใช้การพิจารณาพระอาทิตย์  พระจันทร์  บางตำราก็ให้ดูดาวลูกไก่เป็นหลัก แต่ยังไม่ทรงเข้าพระทัยเรื่องการลอยโคมในน้ำ ที่มีอยู่ในกฎมณเฑียรบาลว่าจะทำอย่างไร เพราะโคมทำด้วยโครงไม้ไผ่หุ้มผ้า ใช้เทียนทาน้ำมันเปรียงหรือไขข้อพระโค ถ้านำไปทิ้งน้ำไม่น่าจะเป็นไปได้  

แต่ถ้าหมายถึง การลอยกระทง ก็คงเป็นไปตามคติพราหมณ์ ที่มักจะลอยบาปเคราะห์ทิ้งไปในน้ำ ซึ่งตรงกับพิธีลอยกระทง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงเพิ่มพิธีทางพุทธเข้าไป

รู้จัก \'พิธีจองเปรียง\' พระราชพิธีเดือนสิบสอง สู่งานลอยกระทง ในกาลปัจจุบัน

จิตกรรมฝาหนัง เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน ที่วัดเสนาสนามราม พระนครศรีอยุธยา (ภาพถ่ายโดย พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ จากฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร องค์การมหาชน)

ในสมัยปัจจุบัน ประเพณีลอยกระทง ได้มีการดำเนินการ จัดขึ้นแทบจะทั่วประเทศไทย แทบจะทุกจังหวัด ถือเป็นงานประเพณีประจำปีที่สำคัญ สำหรับการลอยโคม ประชาชนทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน โดยจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ที่สวยงาม 
รู้จัก \'พิธีจองเปรียง\' พระราชพิธีเดือนสิบสอง สู่งานลอยกระทง ในกาลปัจจุบัน รู้จัก \'พิธีจองเปรียง\' พระราชพิธีเดือนสิบสอง สู่งานลอยกระทง ในกาลปัจจุบัน ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนจะเห็นแสงไฟโคม บนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามและประทับใจ ทั้งตัวผู้ลอยและเหล่านักท่องเที่ยวมากๆ ที่ได้เห็น 

รู้จัก \'พิธีจองเปรียง\' พระราชพิธีเดือนสิบสอง สู่งานลอยกระทง ในกาลปัจจุบัน