svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ผู้ว่าฯชัชชาติ กางแผนรับมือ PM 2.5 เน้นดูแลกลุ่มเปราะบางในโรงเรียน

ผู้ว่าฯกทม. เผยต้นตอฝุ่น PM2.5 มาจาก 3 เรื่องหลักๆ คือ  โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ และการเผาชีวมวล ซึ่ง กทม.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ

ผู้สื่อข่าวรายงาน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุ ต้นตอฝุ่น PM2.5 มาจาก 3 เรื่อง คือ  โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ และการเผาชีวมวล ซึ่ง กทม.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งดูแลกลุ่มเปราะบางในโรงเรียนต่างๆ โดยการซื้อและติดเครื่องฟอกอากาศในกลุ่มเด็กเล็ก ส่วนมาตรการแผนแม่บทจะต้องหารือกับนายกรัฐมนตรีต่อไป

ผู้ว่าฯชัชชาติ กางแผนรับมือ PM 2.5 เน้นดูแลกลุ่มเปราะบางในโรงเรียน

 

ครั้งหนึ่ง ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เคยขึ้นเวทีเล่าถึง แนวคิดการนำหลัก ESG (Environment สิ่งแวดล้อม , Social สังคม , และ Governance ธรรมาภิบาล) มาพลิกโฉมกรุงเทพมหานคร ในงาน Redefining the Future of ESG in Thailand

สรุปสาระสำคัญๆ ที่ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ ได้กล่าวในงานสัมมนานี้ให้อ่านกันอีกสักครั้ง

1. ผู้ว่าฯชัชชาติ นำหนังสือของ ศาสตราจารย์ Alain Bertaud (อเลน เบอร์โทด์) ปรมาจารย์ด้านการบริหารจัดการผังเมือง เรื่อง Order without Design : How Markets Shape Cities มาเล่าถึง โดยได้ อธิบายแนวคิดการพัฒนาที่ตกผลึกจากหนังสือเล่มนี้ว่า เวลาเราพูดเรื่องพัฒนาเมือง เรามักพูดเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน แต่แก่นสำคัญคือ เราต้อง ใส่ใจ “คน” ที่อยู่ในเมือง ด้วยแนวคิดจากหนังสือเล่มนี้ “เมืองคือตลาดแรงงาน” ถ้าเราไม่มีงาน ก็จะไม่มีแรงงาน ก็คงไม่มีคนอยู่ในเมือง ดังนั้นเราจึงต้องโฟกัสบทบาทของเมืองที่มีหน้าที่ในการให้บริการด้านแรงงานและงานกับทุกคน โดยต้องใส่ใจกับทุกคน

ผู้ว่าฯชัชชาติ กางแผนรับมือ PM 2.5 เน้นดูแลกลุ่มเปราะบางในโรงเรียน

2. แนวคิดการพัฒนาคนที่อยู่ในเมืองต้องชื่อมโยงกับ ESG เพราะในอนาคตเราไม่สามารถเลี่ยงเทรนด์ Urbarnization ได้ ดังนั้นแนวทางรับมือที่สำคัญ ก็คือการเข้าสู่ความเป็นเมือง และตอบสนองต่อผู้คนที่หลากหลายในเมืองแห่งนี้ให้ได้

3. การสร้างเมืองที่มีคุณภาพได้จะต้องดึงผู้คนที่มีความสามารถ เป็นคนเก่งเข้ามาที่เมืองให้ได้ จะต้องทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองแม่เหล็กขนาดใหญ่ที่ดึงดูดคนเก่งๆให้เข้ามา พร้อมกับสร้างสรรค์เมืองให้ยั่งยืนไปพร้อมกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ทว่า การจะไปถึงจุดนั้นได้ ผู้ว่าฯชัชชาติ บอกถึง "ความท้าทายของกรุงเทพฯ" ในขณะนี้ว่า มีเรื่องอะไรกันบ้าง?

ผู้ว่าฯชัชชาติ กางแผนรับมือ PM 2.5 เน้นดูแลกลุ่มเปราะบางในโรงเรียน
การคมนาคม กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความหนาแน่นสูง ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญและจุดเด่นของกทม.เพราะเมืองที่มีประชากรหนาแน่น มีระบบขนส่งมวลชน ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจัดเป็นเมืองเศรษฐกิจที่เติบโต เมืองลักษณะนี้จึงมีการเดินทาง การทำงาน การพักผ่อน ทั้งหมดถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ดังนั้นความท้าทายคือ การที่เมืองขยายตัว มีพื้นที่ธุรกิจการค้า ที่พักอาศัย โซนสีต่างๆ รวมทั้งพื้นที่อาศัยที่ขยายตัวออกนอกเมือง สิ่งสำคัญและความท้าทายคือการพัฒนาขนส่งมวลชนที่เชื่อมโยงทั้งระบบ

ความเท่าเทียม ด้วยลักษณะความเป็นเมืองของกรุงเทพฯแม้จะอยู่กันตามที่อยู่อาศัยบ้านเรือนที่ใกล้ชิดกัน แต่คนที่อยู่ในกรุงเทพฯก็เหมือนแยกกันอยู่ เป็นการอยู่อาศัยในรูปแบบที่ไม่ได้พึ่งพากันและกัน ต่างคนต่างอยู่ จึงเป็นความท้าทายของการพัฒนาชีวิตในรูปแบบนี้ เพราะความเป็นเมือง เราอาจไม่ได้รู้จักเพื่อนบ้านเรา และไม่ได้ตระหนักว่าเราไม่ได้ใกล้ชิดกันเลย

กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงวัย คนยากจน ผู้พิการ เป็นความท้าทายที่คนกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครที่จะต้องดูแลพวกเขา

“การสร้างกรุงเทพฯที่เป็นสังคมสำหรับทุกคน มีความยุติธรรม เป็นสังคมที่เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ดังนั้นเราจะไม่ยอมประนีประนอมต่อปัญหาต่างๆ เพราะอนาคตเป็นของคนรุ่นใหม่ เราต้องทำทุกอย่างให้อนาคตคนรุ่นใหม่สดใส สร้างเมืองที่เป็นทรัพยากรสำหรับคนรุ่นใหม่ในอนาคต”

ผู้ว่าฯชัชชาติ กางแผนรับมือ PM 2.5 เน้นดูแลกลุ่มเปราะบางในโรงเรียน

ผู้ว่าฯชัชชาติ เล่าถึงแนวนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ และฝุ่น PM 2.5 ที่กรุงเทพฯมีแผนปลูกต้นไม้นับล้านต้น โดยประกาศโครงการมากว่า 3 สัปดาห์แล้ว ได้รับความร่วมมือทั้งจากบุคคลทั่วไป บริษัทเอกชน องค์กรต่างๆ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา สามารถปลูกต้นไม่ได้กว่า 4 หมื่นต้นแล้ว

นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ให้ความสำคัญกับเรื่อง Net Zero เรามีเป้าหมายท้าทายที่เรียกว่า BMA NETZERO ที่มีการวางแผนการบริหารจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สนับสนุนการใช้รถพลังงานไฟฟ้าให้มากขึ้น

ส่วนด้านสังคม ผู้ว่าฯชัชชาติ เล่าว่า จุดที่จะสร้างให้มีความเท่าเทียมมากขึ้นอย่างแรกเลยคือ การศึกษา เด็กๆจะต้องมีโอกาสที่จะพัฒนาตัวเองและจะช่วยเรื่องความเท่าเทียมมากขึ้น รวมทั้งการให้ความรู้ต่างๆเพื่อให้พวกเขารู้จักการดูแลสุขภาพเพื่อสุขภาวะที่ดี สามารถเติบโต ทำงานใช้ชีวิตในเมืองได้มีประสิทธิภาพ และสุดท้ายเรื่อง ธรรมมาภิบาล ผู้ว่าฯชัชชาติ อธิบายถึงการใช้แพลทฟอร์มเพื่อให้ประชาชนทั้งหมดเข้ามาสื่อสารและตรวจสอบการทำงานของกรุงเทพฯได้ รวมทั้งได้รับรู้ปัญหาจากในพื้นที่จริง เช่น แอปพลิเคชั่น ทราฟฟี่ ฟองดูว์ ที่คนกทม.สามารถส่งปัญหา ใส่รูป แจ้งพิกัดผ่านแพลทฟอร์มได้ หลังจากเปิดให้บริการมีผู้ส่งเรื่องร้องเรียนผ่านแพลทฟอร์มมากกว่า 7 หมื่นเรื่อง และขณะนี้สามารถแก้ไขไปได้แล้วกว่า 2 หมื่นเรื่อง นอกจากนี้ยังมีแพลทฟอร์ม Open Data ที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นระหว่างผู้บริหารกรุงเทพฯกับประชาชนผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯมากขึ้น ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานการเอาประชาชนมาเป็นศูนย์กลาง

ผู้ว่าฯชัชชาติ กล่าวปิดท้ายไว้ว่า 

ESG เป็นสิ่งสำคัญและแนวทางที่จะเป็นโซลูชั่นให้กับเมือง ดังนั้น กรุงเทพฯ ต้องแสวงหาความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่จะพัฒนาเมืองใน “รูปแบบเครือข่ายนวัตกรรม” ที่ถือเป็นโมเดลที่เรานำมาใช้ในการพัฒนากรุงเทพฯ ขณะนี้ 

ผู้ว่าฯชัชชาติ กางแผนรับมือ PM 2.5 เน้นดูแลกลุ่มเปราะบางในโรงเรียน
มาย้อนอ่าน เส้นทางชีวิตผู้ชายคนเก่งที่ชื่อ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร คนที่ 17    

  • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีชื่อเล่นว่า "ทริป"
  • เกิดวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2509
  • ภูมิลำเนาเป็นคน กรุงเทพมหานคร
  • ศึกษาระดับมัธยมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จบการศึกษาระดับปริญญาโทจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • จบการศึกษาระดับปริญญาเอก จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา

แม้ ว่าจะเรียนจบด้านวิศวกรรมศาสตร์ และทำงานในแวดวงวิศวกรรมศาสตร์มาอย่างยาวนาน แต่ในวันที่ 22 พ.ค. 2565 ซึ่งเป็นวันประกาศนับคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หลังจากที่ชัชชาติรูปผลการคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ "ชัชชาติ" ได้ กล่าวระหว่างการแถลงว่า "การเป็นผู้ว่าฯ กทม. จะต้องวางบทบาทวิศวกรลงก่อน ไม่อย่างนั้นเราจะเห็นแค่การสร้างเมกะโปรเจ็กต์ เพราะงานของผู้ว่าฯกทม. คืองานที่จะต้องดูแลสารทุกข์สุขดิบของประชาชน" 

"ชัชชาติ" เกิดและเติบโตในกรุงเทพมหานคร เป็นลูกชายของ พลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) เขามีพี่สาวหนึ่งคน ตือ รศ. ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ พี่ชายฝาแฝดอีกหนึ่งคนคือ รศ. ดร.นายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์ กรรมการแพทยสภาวาระ พ.ศ. 2562–2564 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 

ผู้ว่าฯชัชชาติ กางแผนรับมือ PM 2.5 เน้นดูแลกลุ่มเปราะบางในโรงเรียน

ส่วนประวัติการทำงานของ "ชัชชาติ" เคยทำงานเป็นวิศวกรโครงสร้างในบริษัทเอกชน 
-พ.ศ. 2538 ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจัดการทรัพย์สิน 

-พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2555 นอกจากนั้นยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง อาทิ บริษัทขนส่ง จำกัด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

-พ.ศ. 2551 - เดือน มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

-พ.ศ. 2555 เขาได้รับการทาบทาม จากนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเข้าดำรงตำแหน่งในเดือนมกราคม  2555 

 

ผู้ว่าฯชัชชาติ กางแผนรับมือ PM 2.5 เน้นดูแลกลุ่มเปราะบางในโรงเรียน
ความนิยมของ ชัชชาติ ไม่ได้มีแค่ใน กรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่ได้เริ่มขึ้นมาจากรูมีมที่ชัชชาติเข้าไปทำบุญใส่บาตรภายในวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ โดยมีลักษณะสวมเสื้อแขนกุด หิ้วถุงอาหาร และเดินด้วยเท้าเปล่า หลังจากภาพนี้ เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต มีผู้คนตัดต่อภาพล้อเลียน รวมถึงเลียนแบบท่าทางและการแต่งตัวเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการแชร์ภาพขณะทำงาน ลงพื้นที่ของ ชัชชาติที่สื่อให้เห็นว่าเป็นคนที่แข็งแกร่งที่สุด จนได้รับฉายาว่า  "ผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี"