26 สิงหาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า เตือนรับมือ “ฝนฟ้าคะนอง” และ “ฝนตกหนัก” ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
“ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้”
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 25 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ระบุว่า..
ในช่วงวันที่ 26 – 28 ส.ค. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
“ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก”
ส่วนในช่วงวันที่ 29 – 31 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับในช่วงวันที่ 28 – 31 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น
“ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก”
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย สูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 – 2 เมตรในช่วงวันที่ 25 – 27 ส.ค. 66
ส่วนในช่วงวันที่ 28 – 31 ส.ค. 66 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 29 – 31 ส.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง
อัปเดตเส้นทางพายุ
พายุไต้ฝุ่น “เซาลา” (SAOLA) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก หรือด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนผ่าน สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) ในช่วงวันที่ 30 – 31 ส.ค. นี้ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทยโดยตรง ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปยังบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
อัปเดตสถานการณ์พายุ วันที่ 25 สิงหาคม 2566 เวลา 04.00 น. ขณะนี้ในมหาสมุทรแปซิฟิก มีพายุโซนร้อนเกิดขึ้น 2 ลูก คือ "พายุไต้ฝุ่น เชาลา" (SAOLA) (พายุลูกที่ 9) มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ พายุนี้ไม่ได้เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ และ "พายุโซนร้อนด็อมเร็ย" (DAMREY) อยู่ห่างจากประเทศไทยมาก จึงไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย
ฝนที่เกิดขึ้นในขณะนี้มาจากร่องมรสุมที่พาดผ่านทางตอนบนของไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมฝน)ที่พัดปกคลุม ไม่ใช่อิทธิพลของพายุ ขอให้ติดตามเป็นระยะๆ อย่าได้ตื่นตระหนก
หมายเหตุ : "เซาลา (SAOLA)" หมายถึง เป็นชื่อสัตว์ชนิดหนึ่งตระกูลวัว พบในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตั้งชื่อโดยประเทศเวียดนาม ส่วน "ด็อมเร็ย " หมายถึง ช้าง ตั้งชื่อโดยประเทศกัมพูชา
พยากรณ์ฝนสะสมทุกๆ 6 ชม. โอกาสการก่อตัวของพายุ (Tropical Cyclone genesis) และพยากรณ์คลื่นลม จาก ECMWF init.2023082412 : ยังมีฝนและตกหนักบางแห่ง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณด้านรับมรสุม และใกล้ร่องมรสุม บริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคอีสานตอนบนและด้านตะวันออก
ช่วงปลายเดือน ตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค.66 คาดว่าร่องมรสุมจะมีกำลังแรงขึ้น เตรียมรับมือฝนตกหนัก เพิ่มขึ้น ส่วนพายุมีการก่อตัวการก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก ยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน มีกำลังแรงขึ้นด้วย ชาวเรือ ชาวประมงต้องระวัง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย ตั้งแต่เวลา 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้ มีรายละเอียดดังนี้
กรุงเทพและปริมณฑล
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา
ออกประกาศ 26 สิงหาคม 2566