svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"อาจารย์อุ๋ย" ชี้ รูปปั้นกายแก้ว ถือเป็นทรรศนะอุจาด วอน กทม. ปรับปรุงกม.

19 สิงหาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"อาจารย์อุ๋ย" นักวิชาการด้านกฎหมาย-อดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ชี้ รูปปั้นกายแก้วถือเป็นทรรศนะอุจาดหรือมลภาวะทางสายตา (Visual Pollution) แนะ กทม. แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้รองรับประเด็นดังกล่าว  

จากกรณี รูปปั้นกายแก้ว ที่มีผู้นำมาตั้งบริเวณบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าวว่า ซึ่งมีลักษณะน่ากลัวและก่อให้เกิดความไม่สบายใจกับผู้ที่สัญจรไปมานั้น

\"อาจารย์อุ๋ย\" ชี้ รูปปั้นกายแก้ว ถือเป็นทรรศนะอุจาด วอน กทม. ปรับปรุงกม.

ล่าสุด ทางด้าน นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย นักวิชาการด้านกฎหมาย และอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้ความเห็นว่า กรณีรูปปั้นกายแก้ว ซึ่งตนขอไม่เรียกว่าครู เพราะมีนักประวัติศาสตร์ออกมาชี้แจงแล้วแล้วว่าไม่มีตัวตนอยู่จริง และแม้จะตั้งในพื้นที่ส่วนบุคคลและเป็นเสรีภาพในการนับถือศาสนาที่รัฐธรรมนูญมาตรา 31 บัญญัติรับรองไว้ก็ตาม

แต่เมื่อมีเสียงเรียกร้องว่ารูปปั้นนี้สร้างความเสียหายทางจิตใจ คือทำให้รู้สึกหวาดกลัวหรือขยะแขยง บุคคลเหล่านั้นก็สามารถใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 ซึ่งบัญญัติว่า

"ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น"

และแม้จะเป็นการสร้างในพื้นที่ส่วนตัวและมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม แต่การใช้สิทธินั้นก็ต้องไม่กระทบผู้อื่น ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 บัญญัติไว้ คือ "การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย" ซึ่งผู้ที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิฟ้องร้องให้ย้ายรูปปั้นได้ และยังเคยมีคำพิพากษาฎีกาที่ 1518/2538 ตัดสินไว้ว่าการสร้างหลุมฝังศพไว้ในบ้านตัวเอง หากทำให้เพื่อนบ้านรู้สึกกลัวก็ถือเป็นการกระทำละเมิด
 
นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 397 ก็บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท" ซึ่งรูปปั้นดังกล่าวทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญทางสายตาและจิตใจ ก็เป็นความผิดตามมาตรานี้

\"อาจารย์อุ๋ย\" ชี้ รูปปั้นกายแก้ว ถือเป็นทรรศนะอุจาด วอน กทม. ปรับปรุงกม.

 

\"อาจารย์อุ๋ย\" ชี้ รูปปั้นกายแก้ว ถือเป็นทรรศนะอุจาด วอน กทม. ปรับปรุงกม.
 
อย่างไรก็ตาม ตนมองว่านี่เป็นปัญหาเกี่ยวกับ ทรรศนะอุจาด (visual pollution) ซึ่งหมายถึง อะไรก็ตามที่ดูแล้วไม่เจริญหูเจริญตา ซึ่งรวมถึงป้ายโฆษณา สายเคเบิ้ลที่ห้อยรุงรัง และตึกสูงที่บดบังวิวทิวทัศน์ ฯลฯ ซึ่งกฎหมายของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร ยังไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ส่วนกฎหมายอื่น ๆ เช่น กฎหมายอาคาร กฎหมายป้าย กฎหมายสิ่งแวดล้อม ก็จะเน้นไปที่เรื่องของความปลอดภัยมากกว่า จึงยังเป็นช่องโหว่ให้เกิดปัญหา ในขณะที่เวลาเราไปเที่ยวต่างประเทศเช่นแถบยุโรปจะเห็นว่าเมืองของเขามีความสวยงาม ดูแล้วสบายตาน่ามอง ไม่มีอะไรเกะกะรกสายตา นั่นเพราะเขาให้ความสำคัญกับเรื่อง visual pollution มาก ต้องมีกฎหมายควบคุมบังคับว่าต้องสร้างอะไร จัดวางอะไรให้เจริญหูเจริญตา ห้ามทำอะไรระเกะระกะ
 
สำหรับ ประเทศไทยนั้น ถ้าบังคับกันเคร่งครัดแบบในต่างประเทศ อาจจะกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่และการทำมาหากินของพี่น้องประชาชน ตนจึงเสนอให้ใช้หลัก "เอาใจเขา มาใส่ใจเรา" อะไรที่เราคิดว่ามันจะรกหูรกตาคนอื่น ไม่สวยไม่งาม ก็อย่าทำ แล้วภาครัฐก็เริ่มปรับปรุงกฎหมายแบบค่อยเป็นค่อยไปตามการเจริญเติบโตของสังคม น่าจะเป็นหนทางที่ลงตัวที่สุด
 

logoline