svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ส่องประวัติ การสำรวจ “เรือไททานิค” ในวันที่เรือดำน้ำไททันหายปริศนา

22 มิถุนายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ยังคงเป็นเรื่องราวสุดเศร้าที่จดจำในหัวใจผู้สูญเสียอย่างไม่มีวันลืมเลือน เหตุการณ์สุดเศร้า "เรือไททานิคล่ม"  ชวนคอข่าวเปิดประวัติการสำรวจ “เรือไททานิค” ในวันที่เรือดำน้ำไททันสูญหายไปหลังดำดิ่งสู่มหาสมุทร 

การค้นหา "เรือดำน้ำไททัน" ซึ่งมีผู้โดยสาร 5 คน สูญหายไปเมื่อวันอาทิตย์ ขณะที่เรือดำดิ่งลงสู่ซาก "เรือไททานิก" ยังคงดำเนินต่อไป ล่าสุดในการค้นหาพื้นผิวมีขนาดเป็น 2 เท่าของรัฐคอนเนตทิคัตของสหรัฐฯ และการค้นหาใต้พื้นผิวมีความลึก 2.5 ไมล์ หรือประมาณ 4 กม. ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่รุนแรง คล้ายกับนอกโลกเลยทีเดียว ทั้งอุณหภูมิเยือกแข็งและความมืด

อ้างอิงที่มาจากผู้ที่มีส่วนร่วมในการสำรวจครั้งก่อนบนเรือดำน้ำไททัน โดยได้อธิบายถึงการลงใต้น้ำเป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมงในสภาพที่มืดสนิท ก่อนที่จะชนพื้นมหาสมุทรอย่างกระทันหันในที่สุด ไฟของเรือดำน้ำมีระยะการมองเห็นที่จำกัด แต่ไม่เกิน 2-3 เมตร

การค้นหายังใช้เครื่องบินของ Royal Canadian Airforce ที่เป็นหนึ่งในส่วนเสริมล่าสุดของการค้นหาที่ขยายออกไป เรือและยานบังคับการหุ่นยนต์ (ROV) จำนวนมากขึ้นได้เข้าร่วมภารกิจเช่นกัน หน่วยยามฝั่งกล่าวว่ายังอยู่ในโหมดค้นหาและช่วยเหลือ และยังคงหวังว่าจะพบผู้อยู่บนเรือดำน้ำทั้ง 5 คน 

ช่วงก่อนหน้านี้มีการระบุว่า

มีเสียงดังมากขึ้นในการค้นหาเรือดำน้ำที่หายไป แต่ก็ยังไม่มีใครรู้ว่านั่นคือเสียงอะไร ทางอดีตผู้บัญชาการเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของกองทัพเรือสหรัฐฯ เตือนว่าเสียงที่ตรวจพบในช่วงไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมาอาจไม่ได้มาจาก เรือดำน้ำ Titan มันอาจจะเป็นแค่เสียงธรรมชาติก็ได้ แต่ทีมงานกำลังค้นหาในบริเวณนั้น

การค้นหายังคงแข่งกับเวลา แต่ประเด็นที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ การสำรวจเรือไททานิค เริ่มขึ้นตั้งเเต่เมื่อไหร่ นี่เป็นการรวบรวมไทม์ไลน์มาให้ทำความเข้าใจกัน อ้างอิงจาก สำนักข่าว บีบีซี BBC 

ส่องประวัติ การสำรวจ “เรือไททานิค” ในวันที่เรือดำน้ำไททันหายปริศนา

ประวัติเรือไททานิค หรือ เรืออาร์เอ็มเอส ไททานิค (RMS Titanic) ชนภูเขาน้ำแข็งในมหาสมุทรแอตแลนติก จมลงในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) หลังจากออกเดินทางวันที่ 12 เมษายน

ไททานิค เป็นเรือเดินสมุทร สร้างเสร็จพร้อมให้บริการในปี พ.ศ.2455 จัดเป็นเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ หรือเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ เวลานั้น บุคคลที่มีฐานะร่ำรวยต้องการคมนาคมข้ามประเทศจึงเลือกใช้บริการ โดยมีกำหนดการออกจากท่าเรือที่เซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ไปยังนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เรือออกจากท่าได้ไม่กี่วัน ก็จมลงกลางมหาสมุทรท่ามกลางความช็อกของผู้คนที่ทราบข่าว

ส่องประวัติ การสำรวจ “เรือไททานิค” ในวันที่เรือดำน้ำไททันหายปริศนา เรือไททานิค มีผู้โดยสาร 2,208 คน แบ่งเป็นลูกเรือ 860 คน ขณะเกิดเหตุ เรือบด หรือเรือช่วยชีวิต มีจำนวนไม่เพียงพอต่อผู้โดยสาร โศกนาฏกรรมครั้งนี้ถือเป็นเหตุการณ์สูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชาวอังกฤษ ในทุกปีญาติพี่น้องของผู้รอดชีวิตจากเรือไททานิก ก็จะจัดพิธีรำลึกถึงญาติพี่น้อง ณ จุดที่ซากเรือไททานิคล่ม! 

"เรือที่ไม่มีวันจม" 

ประโยคเชิญชวนสุดเร้าใจนี้ เป็นเหมือนคำโฆษณาของ เรือไททานิค เรือเดินสมุทรจากอังกฤษที่ได้ชื่อว่าใหญ่และหรูหราที่สุดในยุคต้นศตวรรษที่ 20 แต่เเล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เรือไทานิกได้จมลงในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455 หลังชนกับภูเขาน้ำแข็งบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ 

เหตุการณ์เรือไททานิคจมครั้งนั้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน จากผู้โดยสารราว 2,208 คน นับเป็นหนึ่งในอุบัติเหตุและโศกนาฏกรรมทางเรือที่ร้ายแรงที่สุดในโลกก็ว่าได้ 

ข้อสงสัยสาเหตุที่ทำให้เรือไททานิคล่มเกิดจาก

1. อุปกรณ์ความปลอดภัยไม่เพียงพอ

การล่มของเรือไททานิค ระบุว่าเกิดจากการชนกันของเรือกับภูเขาน้ำแข็ง ส่วนความสูญเสียที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการบรรจุเรือชูชีพที่ไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้โดยสาร รวมถึงการฝึกฝนลูกเรือให้รองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น มีระบุกำหนดการเข้าวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2455 ก่อนเกิดเหตุ 1 วัน ผู้โดยสารและลูกเรือควรได้เข้ารับการฝึกซ้อมระบบความปลอดภัย แต่ถูกยกเลิกไปเนื่องจากปัญหาด้านการจัดการการสื่อสารด้วยวิทยุโทรเลข

2. ความขัดข้องทางเทคนิคการสื่อสาร

สมัยนั้นการเดินทางบนเรือเดินสมุทรใช้เวลานานนับเดือน การสื่อสารวิทยุโทรเลข เน้นบริการแก่ผู้โดยสารกับคนบนบกมากกว่า ไม่ได้จัดพื้นที่ไว้ให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยบนบก ภายหลังเกิดเหตุเรือไททานิกล่ม ระบบวิทยุการสื่อสารภาคพื้นทะเลกับเรือเดินสมุทร จึงให้ความสำคัญกับข้อมูลด้านความปลอดภัยมากขึ้น

3. ความเร็วของเรือไททานิค

ผู้เชี่ยวชาญให้ความคิดเห็นว่า ที่เรือไททานิคต้องใช้ความเร็วเรือสูง ท่ามกลางการเดินทางผ่านธารน้ำแข็งนั้น เพราะต้องการให้เรือเดินทางไปยังจุดหมายต่อไปได้เร็วขึ้น เนื่องจากปริมาณเชื้อเพลิงที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอ จึงต้องการแล่นเรือให้เร็ว เพื่อย่นระยะทาง จึงทำให้ไม่สามารถหลบภูเขาน้ำแข็งที่เผชิญได้

ชวนคอข่าว ร่วมย้อนเวลาไปในปี พ.ศ.2529 นักธรณีวิทยาใต้น้ำชาวอเมริกัน โรเบิร์ต บอลลาร์ด ค้นพบ ซากเรือไททานิค โดยใช้เทคโนโลยียุคใหม่ในขณะนั้นคือ โซนาร์ ตามข้อมูลเเล้ว

โรเบิร์ต บอลลาร์ด ค้นพบซากครั้งแรกตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2528 แต่เพิ่งสำรวจอย่างละเอียดในปี 2529 ได้ถ่ายภาพทั้งหมดรวมกว่า 60,000 ภาพและถ่ายเทปวิดีโอเป็นความยาวถึง 60 ชั่วโมง

เปิดประวัติการสำรวจ “เรือไททานิค” ในวันที่เรือดำน้ำหายปริศนา 

  • ปี 2528 (ค.ศ. 1985) – ไซต์ไททานิคถูกค้นพบโดยทีมอเมริกัน-ฝรั่งเศส
  • ปี 2529 (ค.ศ. 1986) - ทำการสำรวจซากเรือ ทีมงานจาก Woods Hole Oceanographic Institution ได้บันทึกวิดีโอแรกของซากเรือลำนี้

  • ปี 2530 (ค.ศ. 1987) - ภารกิจกู้ซากเรือครั้งแรกรวบรวมสิ่งของจากเรือไททานิคได้ 1,800 ชิ้น
  • ปี 2538 (ค.ศ. 1995) - เจมส์ คาเมรอน เยี่ยมชมซากเรือ มีการใช้ฟุตเทจในภาพยนตร์เรื่องไททานิกของเขา
  • ปี 2541 (ค.ศ.1998)  - นักท่องเที่ยวกลุ่มแรกไปดำน้ำที่นั่น 
  • ปี 2541 (ค.ศ.1998) - ยกส่วนของเรือไททานิคขึ้น
  • ปี 2548 (ค.ศ.2005) - เรือดำน้ำที่มีลูกเรือ 2 ลำ ดำน้ำไปที่ซากเรือ
  • ปี 2553 (ค.ศ.2010)  - หุ่นยนต์อัตโนมัติทำแผนที่ไซต์เรือไททานิค 
  • ปี 2555 (ค.ศ.2012) - ซากเรือได้รับการคุ้มครองโดย Unesco
  •  ปี 2562 (ค.ศ.2019) - ยานดำน้ำลึก DSV ซึ่งตั้งชื่อว่ายาน Limiting Factor ลงสำรวจและถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีบริเวณซากเรือไททานิค ในรอบ 14 ปี

  • ปี 2563 (ค.ศ.2020)– สหรัฐฯ และอังกฤษตกลงสนธิสัญญาคุ้มครองซากเรือไททานิค
  • ปี 2564 (ค.ศ.2021)– OceanGate ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในการเข้าถึง
  • ปี 2566 (ค.ศ.2023)– การสแกน ซากเรือด้วยระบบดิจิตอลขนาดเต็มครั้งแรก ถูกสร้างขึ้นโดยใช้การทำแผนที่ใต้ทะเลลึก

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ ไททานิค

โรส เดวิท บูเคเตอร์ เป็นตัวละครที่มีชีวิตอยู่จริงในเรื่องไททานิค โดยเธอได้เปิดใจเล่า เหตุการณ์ความรักที่เกิดขึ้นบนเรือ โดยเธอเป็นผู้รอดชีวิตจากไททานิกล่ม แต่ก็สูญเสียชายผู้เป็นที่รัก เธอกลับเข้าฝั่งอย่างปลอดภัย แต่เธอก็ไม่ใช่โรสทั้งหมดในภาพยนตร์

แจ็ค ดอว์สัน ไม่มีอยู่จริง มีแต่การระบุพบศพชายที่ชื่อ J. Dowson และเขาเสียชีวิตบนเรือ ศพของเขาถูกฝังในสุสานที่รวบรวมผู้เสียชีวิตจากไททานิคล่ม และกลายเป็นหลุมศพที่มีผู้เข้าไปเยี่ยมมากที่สุด

ส่องประวัติ การสำรวจ “เรือไททานิค” ในวันที่เรือดำน้ำไททันหายปริศนา

โรส ไททานิค มีตัวตนจริงๆ หลังจากเธอพลัดพรากจากคู่รักบนเรือไททานิคแล้ว เธอก็ขึ้นฝั่งและได้แต่งงาน มีชีวิตครอบครัวใหม่ ดำรงชีพด้วยอาชีพนักแสดง จนคนที่เป็นแฟนหนังไททานิคคิดว่าคุณยาย กลอเรีย สจ๊วต อาจจะเป็นโรสตัวจริงแน่ๆ แต่ขณะที่โรสรอดมาจากไททานิคล่ม ตรงกับอายุคุณยายเพียง 2 ขวบ จึงเป็นไปไม่ได้ที่คุณยายจะเป็นโรส กลอเรีย สจ๊วต เสียชีวิตในปี 2553 ในวัย 100 ปี

ส่องประวัติ การสำรวจ “เรือไททานิค” ในวันที่เรือดำน้ำไททันหายปริศนา

เพลงดังจากหนังดังไททานิค

เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องไททานิค มีชื่อเพลงว่า "My Heart will go on"

เจมส์ แคเมรอน เล่าเนื้อหาของ หนังเรื่องไททานิค ให้กับนักแต่งเพลงที่เขาหมายหมั้นปั้นมือให้มาทำเพลง แต่นักแต่งเพลงก็ไม่ได้รับปากว่าจะทำให้ และเมื่อเขียนเพลงเสร็จ นักร้องก็ยังไม่ได้ตอบตกลงร้องในครั้งแรก!!

ขอขอบคุณที่มา ฐานเศรษฐกิจ / ข้อมูลอ้างอิงจาก : time.com , BBC , sarakadeelite 

logoline