svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน ฉบับที่ 4 ระวังคลื่นลมแรง ฝนตกหนักถึงหนักมาก 

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 4 (164/2566) เตือน คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก คาดมีผลกระทบถึงวันที่ 6 มิถุนายน 66 พร้อมแจ้งพิกัดจังหวัดเสี่ยงภัย เช็กรายละเอียดและรายชื่อจังหวัดในโซนเสี่ยงภัย ได้ที่นี่ เพื่อเตรียมการรับมือในทันทุกสถานการณ์ ที่อาจจะเกิดขึ้น 

ในช่วงเย็นวันนี้ (17.00 น.) กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก ฉบับที่ 4 (164/2566) มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง

โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน ฉบับที่ 4 ระวังคลื่นลมแรง ฝนตกหนักถึงหนักมาก 


ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเสี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามัน ควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน ฉบับที่ 4 ระวังคลื่นลมแรง ฝนตกหนักถึงหนักมาก 

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน ฉบับที่ 4 ระวังคลื่นลมแรง ฝนตกหนักถึงหนักมาก 

สำหรับภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในบริเวณ
จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ขอให้ประชาชนบริเวณตังกล่าวระวังผลกระทบ
จากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่มไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา
http:/www.tmo.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน ฉบับที่ 4 ระวังคลื่นลมแรง ฝนตกหนักถึงหนักมาก 

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน ฉบับที่ 4 ระวังคลื่นลมแรง ฝนตกหนักถึงหนักมาก 

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน ฉบับที่ 4 ระวังคลื่นลมแรง ฝนตกหนักถึงหนักมาก 

กรมอุตุนิยมวิทยา จะออกประกาศฉบับต่อไปในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 05.00 น.
 

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า (1 มิ.ย. 66): ประเทศไทย ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจท้าให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะ พื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณ ที่มีฝนฟ้าคะนอง ส้าหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 มิ.ย. 66 นี้ไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ประกอบกับในช่วงวันที่ 4 – 7 มิ.ย. 66 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมชายฝั่งประเทศเมียนมาและมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง: ในช่วงวันที่ 4 – 7 มิ.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม

ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 6 มิ.ย. 66

สถานการณ์แผ่นดินไหวในช่วง (31 พ.ค.- 1 มิ.ย. 66): ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 2.1 มีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.ทุ่งฟ้าผ่า อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ขนาด 4.2 มีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลยูนนาน, ประเทศจีน ขนาด 2.4, 3.9, 4.0 และ 1.9 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

 

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 31 พ.ค.-9 มิ.ย.66 อัพเดท 2023053112 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF)

1- 4 มิ.ย.2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้การกระจายของฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนลดลงบ้าง โดยยังมีฝน/ฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคตะวันออก (จันทบุรี ตราด) และภาคใต้โดยเฉพาะด้านรับมรสุม (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ จันทบุรี ตราด)ยังมีฝนตกต่อเนื่อง และตกหนักบางแห่ง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมา ภาคใต้ฝั่งอันดามันยังต้องระวัง ฝนตกหนัก

ฝนจะเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นปลายช่วง (5- 10 มิ.ย.2566) คาดว่าจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน สำหรับภาคใต้จะยังมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม มีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมมีกำลังปานกลาง ห่างฝั่งคลื่นสูง ชาวเรือ ชาวประมงต้องเพิ่มความระมัดระวัง ในการเดินเรือในระยะนี้

 

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)