svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รำลึก ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย "ครูบ้านนอก"ผลงานชิ้นเอก "สุรสีห์ ผาธรรม"

25 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ครูบ้านนอก" เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2521 ผลงานการกำกับโดย "สุรสีห์ ผาธรรม" เป็นภาพยนตร์ร่วมสมัย ที่สะท้อนปัญหาสังคมในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม้จะผ่านมา 45 ปี แต่ยังคงสะท้อนปมคอรัปชันที่มีสังคมไทยตลอดมา

หลังมีรายงานข่าวเศร้าในวันนี้ สิ้น 'สุรสีห์ ผาธรรม' ผู้กำกับภาพยนตร์ครูบ้านนอก ท่านได้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ผู้คนในแวดวงหนังสุดเศร้าร่วมอาลัยในการจากไปของ "สุรสีห์ ผาธรรม" ผู้กำกับภาพยนตร์คนดัง ผู้มีคุณูปการต่อวงการภาพยนตร์ไทย เสียชีวิตวัย75 อาการหัวใจวายเฉียบพลัน รดน้ำศพ สวดพระอภิธรรม ฌาปนกิจ วัดปทุมมาลัย จังหวัดอุบลราชธานี

ล่าสุด อีกความเคลื่อนไหว บก.ทิวา สาระจูฑะ บก.แห่งใหญ่ แห่งนิตยสารสีสัน ได้โพสต์แสดงร่วมอาลัย 2 ผู้ล่วงลับในวันนี้ แด่ สุรสีห์ ผาธรรม และ อุกฤษณ์ พลางกูร 
..
แสงรำไรบอกย่ำรุ่งอีกคำรบ
บางชีวิตมิได้พบฟ้าวันใหม่
แต่สะท้อนคุณค่า-รัก-อาลัย
กระจ่างใจผู้คนบนแผ่นดิน

(*หนังสือ "ลงกลอน" / หน้า 70 )

รำลึก ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย "ครูบ้านนอก"ผลงานชิ้นเอก "สุรสีห์ ผาธรรม"

แด่ สุรสีห์ ผาธรรม และ อุกฤษณ์ พลางกูร

รำลึก ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย "ครูบ้านนอก"ผลงานชิ้นเอก "สุรสีห์ ผาธรรม"

รำลึก ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย "ครูบ้านนอก"ผลงานชิ้นเอก "สุรสีห์ ผาธรรม"

รำลึก ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย "ครูบ้านนอก"ผลงานชิ้นเอก "สุรสีห์ ผาธรรม"

ด้วยความน้อมรำลึกถึงผลงานดีๆ ของท่าน 'สุรสีห์ ผาธรรม' ผู้กำกับภาพยนตร์ครูบ้านนอก นอกจากผลงานที่ทรงคุณค่า วันนี้ในนาม ทีมข่าวเนชั่นออนไลน์ จึงขอย้อนรำลึกถึง หนังไทย ภาพยนตร์ไทยที่ทรงคุณค่าและนำสมัย กล้าที่จะถ่ายทอดเรื่องราว จากที่เคยชมสมัยเด็กๆ และเป็นหนังที่ชื่นชอบมานาน

ณ ครั้งหนึ่งเคยย้อน เคยเกริ่นไว้ ในช่วงที่ดารานำชาย ปิยะ ตระกูลราษฎร์ ท่านได้เสียชีวิต ในวันนี้ ได้คลิกคำว่า ครูบ้านนอก ก็ได้เจอ ได้คลิกอ่านบนโลกออนไลน์ คลิกไปเจอบทความชุดนี้โดยบังเอิญ จึงขอนำเอาเรื่องเล่าจาก Block ดีๆ ที่น่าสนใจ ผู้เขียนใน BlockGang Alex on the rock นี้ เธอได้เล่าถึง เรื่องราวของครูบ้านนอกไว้ได้อย่างน่าสนใจ (หวังว่าผู้เขียนหลัก จะให้อภัยมา ณ โอกาสนนี้) เนื้อหาใน Block ดีๆ ของเธอระบุใจความไว้ว่า

..
หนังไทยเมื่อยี่สิบสามสิบปีที่แล้ว ตอนที่เขียนครั้งแรก (ล่าสุด ถ้าเวลานี้ ก็ล่วงเลยมา 45 ปี มาแล้วนานมากทีเดียวเชียว) เรามีโอกาสได้ดูทางทีวีไทย หนังที่สะท้อนความเป็นอยู่ที่คิดว่าปัจจุบันก็คงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากนัก เราเองก็เป็นครูบ้านนอก แต่ไม่แร้นแค้นหรือเหนื่อยยากเท่ากับหนังเรื่องนี้

บทบาทของ"ครูปิยะ" ครูบ้านนอกในหนังเรื่องนี้ ครูปิยะถือเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน (นักการเมือง ผู้ใหญ่บ้าน ไม่มีบทบาทเลย) แทบทุกเรื่อง ครูนอกจากมีหน้าที่สอนนักเรียนแล้ว ยังสอนชาวบ้าน แก้ปัญหาในหมู่บ้าน รวมทั้งต่อสู้กับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นอีกด้วย

หนังได้ถ่ายทอดชีวิตครูหลายๆ รูปแบบ ทั้งครูใหญ่ที่แสนจะขี้เกียจ ครูใหม่ที่มาสอนเพราะจำใจ ครูใหม่ที่มุ่งมั่น ครูในเมืองที่หลงใหลชนบท เราว่าหนังพากย์นี่ก็ตลกดีเหมือนกัน พากย์เก่ง บทพูดตลกด้วย นักแสดงก็แสดงดี ทั้งปิยะ ตระกูลราษฎร์ วาสนา สิทธิผล และนพพร (จำนามสกุลไม่ได้) สวมบทครูใหญ่ รวมทั้งตัวประกอบอื่นๆ แปลกดีเหมือนกันทั้งที่ชาวบ้านที่เล่น เป็นชาวบ้านจริงๆ กลับเล่นธรรมชาติมาก ดีกว่าเอ็กซ์ตร้าที่ฝึกกันมาอย่างดีแล้วเสียอีก

รำลึก ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย "ครูบ้านนอก"ผลงานชิ้นเอก "สุรสีห์ ผาธรรม"

รำลึก ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย "ครูบ้านนอก"ผลงานชิ้นเอก "สุรสีห์ ผาธรรม"

 

"ครูบ้านนอก" เป็นหนังเก่าก็จริง แต่เป็นหนังที่ร่วมสมัยอยู่เสมอ เมื่อก่อนมีคอรัปชั่น ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เจ้ายศเจ้าอย่าง ตัดไม้ทำลายป่ายังไง ทุกวันนี้ก็ยังคงเป็นอย่างนั้น

แต่เราเป็นโรคจิตนิดนึง เราไม่ชอบเรื่องตอนตื่นเต้น เช่น การแอบดู แล้วลุ้นว่าใครจะมาเจอ ไม่ชอบเลย ก็จะเปลี่ยนช่อง เพราะกลัวสองฝ่ายจ๊ะเอ๋กัน (ประสาทว่ะ) พอตอนนั้นผ่านไป ก็กลับมาดูอีกที จวนจะจบแล้ว

ตอนจบก็เป็นโศกนาฎกรรมค่ะ เราร้องไห้ซะ ตามระเบียบ

หลังจากเรื่องนี้จบไปหนึ่งอาทิตย์ ก็มีเรื่องต่อจากครูบ้านนอก เป็นภาคต่อ แต่ใช้ชื่อเรื่องว่า "หนองหมาว้อ" เพราะเหตุเกิดที่บ้านหนองหมาว้อ ครูที่เหลือก็ทำตาม อุดมการณ์ของครูปิยะ ต่อไป

รำลึก ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย "ครูบ้านนอก"ผลงานชิ้นเอก "สุรสีห์ ผาธรรม"

เสียดายเราดูไม่จบ เพราะเป็นตอนที่ครูปิยะมาเข้าร่างทรง บังเอิญว่าดูอยู่คนเดียว กลัวผี เลยปิดเลย กลัวนอนไม่หลับ เลยไม่รู้ว่าตอนจบจะเป็นอย่างไร ใครดูแล้วช่วยเราต่อให้จบด้วยนะคะ 

รำลึกภาพยนตร์ไทย ครูบ้านนอก หนังไทยร่วมสมัย อ้างอิงข้อมูลจากวิกิพีเดีย 

"ครูบ้านนอก" เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2521 กำกับโดยสุรสีห์ ผาธรรม เป็นภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคมในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับครูหนุ่มสาวที่เพิ่งจบใหม่จากวิทยาลัยครู และเดินทางไปสอนหนังสือในถิ่นทุรกันดาร ขาดไฟฟ้า แหล่งน้ำ และการสาธารณสุข แสดงให้เห็นวิถีการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่แบบเก่าของชาวชนบทในภาคอีสาน และปัญหาความขัดแย้งกับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น

ภาพยนตร์ถ่ายทำที่บ้านดอนเมย ตำบลนาจิก อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดอำนาจเจริญ) ที่เป็นบ้านเกิดของคำหมาน คนไค เจ้าของบทประพันธ์  โดยสมมุติเป็น "บ้านหนองหมาว้อ" ใช้นักแสดงหน้าใหม่ทั้งหมด เข้าฉายครั้งแรกวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมไทย  ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จ ได้รายได้ถึง 9 ล้านบาท ได้รับความชื่นชมจากนักวิจารณ์ และถูกนำไปฉายยังต่างประเทศ ได้รับรางวัลภาพยนตร์สร้างสรรค์ และรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม จากประเทศรัสเซีย 

ในปี พ.ศ. 2552 สุรสีห์ ผาธรรมได้นำภาพยนตร์กลับมาสร้างใหม่โดย สหมงคลฟิล์ม นำแสดงโดย พิเชษฐ์ กองการ ฟ้อนฟ้า ผาธรรม และหม่ำ จ๊กมก ออกฉายในวันครู 14 มกราคม พ.ศ. 2553  ใช้ชื่อภาพยนตร์ว่า ครูบ้านนอก บ้านหนองฮีใหญ่ 

รำลึก ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย "ครูบ้านนอก"ผลงานชิ้นเอก "สุรสีห์ ผาธรรม" เรื่องย่อ "ครูบ้านนอก" 

ในงานเลี้ยงส่งนักศึกษาในวิทยาลัยครูแห่งหนึ่ง ทุกคนสนุกสนานกับการสังสรรค์จากการจัดงานอำลาสถานบันจากวงดนตรีสมัยใหม่ ในขณะที่ ครูปิยะ เดินเลี่ยงออกจากงานมายืนชมนิทรรศการวิถีชีวิตของชาวอีสานอย่างสนใจ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาตัดสินใจสอบบรรจุเป็นเพื่อรับราชการครูที่ภาคอีสาน โดยบรรจุครั้งแรกที่โรงเรียนบ้านหนองหมาว้อ พร้อมกับ ครูดวงดาว หญิงสาวรูปร่างบอบเบา และ ครูพิสิษฐ์ ครูหนุ่มมาดสำอางค์ โดยมี ครูคำเม้า เป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองหมาว้อมีเพียงอาคารเรียนชั่วคราวชั้นเดียวพื้นติดดิน นักเรียนต้องเรียนรวมกันโดยไม่มีการแบ่งกั่นห้องเป็นพื้นที่เป็นสัดส่วนในแต่ละห้อง สภาพนักเรียนสวมเสื้อผ้าขาด ร่างกายมอมแมม ครูปิยะคือตัวแทนของหนุ่มสาวที่มีความมุ่งมั่นในอุดมการณ์เพื่อพัฒนาการศึกษาและสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้า มีการนำความรู้ภูมิปัญญาการเล่านิทานในท้องถิ่นของ เคนคนผีบ้า ผู้เฒ่าแห่งหมู่บ้าน มาเป็นประยุกต์เป็นการสอนการท่องจำในชั้นเรียน

รำลึก ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย "ครูบ้านนอก"ผลงานชิ้นเอก "สุรสีห์ ผาธรรม"

ในขณะที่ ครูใหญ่ คำเม้า ครูรุ่นเก่าที่ทำหน้าที่สอนหนังสือโดยยึดหลักปรัชญา “เลข คัด เลิก” ส่วนครูพิสิษฐ์ครูหนุ่มเจ้าสำราญที่เคยใช้ชีวิตในสังคมเมืองที่ต้องจำใจมาสอบบรรจุครู ต่อมาครูพิสิษฐ์มีคำสั่งให้ย้ายไปสอนในเมืองเพราะมีเรื่องชกต่อยกับเจ้าหน้าที่ที่มาตรวจราชการที่โรงเรียนลวนลามครูดวงดาว ครูปิยะ ได้เก็บความสงสัยไว้ในใจเกี่ยวกับรถขนไม้ที่วิ่งผ่านเข้ามาในหมู่บ้าน เพราะครั้งหนึ่งเกิดเหตุการณ์ท่อนซุงขนาดใหญ่หล่นจากรถบรรทุกตกลงมาในสนามโรงเรียน ครูปิยะยังพบว่า ทั้งหมดเป็นไม้เถื่อน จึงแอบเข้าไปถ่ายรูปในปางไม้ของ นายมังกร ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นเพื่อส่งข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ จึงทำให้ครูปิยะต้องหนีภัยมืดออกจากบ้านหนองหมาว้อไปอาศัยอยู่กับหลวงตาอยู่ในเมือง แต่ด้วยอุดมการณ์และจิตสำนึกของความเป็นครู "ครูปิยะ" จึงกลับคืนมาสอนที่โรงเรียนโรงเรียนบ้านหนองหมาว้ออีกครั้งท่ามกลางการต้อนรับของครูและนักเรียน เพียงแต่ครูปิยะขี่จักรยานเข้าสู่รั้วโรงเรียนเท่านั้นมือปืนได้ยิงปืนโดนสู่ร่างของครูปิยะจนจักรยานล้มลงสู่พื้นดิน ท่ามกลางความตกตะลึงของครูและนักเรียน จนครูปิยะได้เสียชีวิต สิ้นใจตาย!

รำลึก ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย "ครูบ้านนอก"ผลงานชิ้นเอก "สุรสีห์ ผาธรรม"

ทีมนักแสดง
ปิยะ ตระกูลราษฎร์ รับบท ครูปิยะ
วาสนา สิทธิเวช รับบท ครูดวงดาว
สมชาติ ประชาไท รับบท ครูพิสิษฐ์
นพดล ดวงพร รับบท ครูใหญ่คำเม้า
เพียงพธู อำไพ รับบท พยอม
ต้น โตมร รับบท เคนคนผีบ้า
สุพัฒน์ บุณษรัตน์พันธ์ รับบท หมอสมบัติ
สิงห์ อิ่มลาภ รับบท นายมังกร
ชาญ บ้านสั้น รับบท มือปืน
กำกับ    สุรสีห์ ผาธรรม

รำลึก ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย "ครูบ้านนอก"ผลงานชิ้นเอก "สุรสีห์ ผาธรรม"
เขียนบท    คำหมาน คนไค
บทภาพยนตร์ แสนยานุภาพ สังขวณิช
                    ทศพร นาคธน
เนื้อเรื่อง    คำหมาน คนไค
อำนวยการสร้าง กมล กุลตังวัฒนา 

กำกับภาพ    นิวัติ ศิลปสมศักดิ์
                   เอกชัย ไกรลาศศิริ
ตัดต่อ    นิวัติ ศิลปสมศักดิ์
ดนตรีประกอบ  สุรสีห์ ผาธรรม
บริษัทผู้สร้าง   ดวงกมลมหรสพ 
ผู้จัดจำหน่าย   ดวงกมลมหรสพ
วันฉาย    17 มิถุนายน พ.ศ. 2521
ที่โรงหนังศาลาเฉลิมไทย 
ประเทศ    ไทย
ภาษา    ไทย
ทำเงิน    9 ล้านบาท 

รำลึก ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย "ครูบ้านนอก"ผลงานชิ้นเอก "สุรสีห์ ผาธรรม"

ขอขอบคุณแรงบันดาลใจจาก 'สุรสีห์ ผาธรรม' ผู้กำกับภาพยนตร์ "ครูบ้านนอก" 
ขอขอบคุณที่มา : Blockgang

ขอขอบคุณที่มา: คลิปหนัง "ครูบ้านนอก" เพื่อร่วมอาลัย 'สุรสีห์ ผาธรรม' ผู้กำกับภาพยนตร์ "ครูบ้านนอก" 

logoline