svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"หมอดื้อ" เผยข้อมูล "ดื่มแอลกอฮอล์บ้าง กลับลดสมองเสื่อม" 

20 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

'หมอธีระวัฒน์' เปิดผลการศึกษา จากวารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน ดื่มแอลกอฮอล์ลดสมองเสื่อม แต่อย่าเพิ่งดีใจ เรื่องนี้จะมีที่มาที่ไปอย่างไร คอข่าว คอสุขภาพ จะต้องอ่านให้จบ แล้วใช้วิจารณญานในการติดตามข่าวสารอย่างมีสติ  

การศึกษานี้ไม่ได้หมายความว่าส่งเสริมให้ผู้คนทั้งหลายดื่มเหล้า เพราะทั้งนี้เราทุกคน ทราบแล้วว่า การดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ถ้าไม่รู้จักตนเองเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นติด

"หมอดื้อ" เผยข้อมูล "ดื่มแอลกอฮอล์บ้าง กลับลดสมองเสื่อม" 

 

ดื่มหัวราน้ำ ชีวิตตนเองและครอบครัวจะพังพินาศและมีโรคภัยไข้เจ็บมหาศาลทั้งโลกทางกายและสมอง

 

"หมอดื้อ" หรือ "หมอธีระวัฒน์" แพทย์คนดัง จัดมาให้อีกหนึ่งบทความ โดยที่เพจของ หมอดื้อ หรือ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha โดยมีข้อความว่า

เปิดผลของการศึกษานี้ ที่ได้รายงานใน วารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน (JAMA network open) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2023
ผลสรุป โครงการศึกษาก็คือ กลุ่มที่คงระดับของการดื่มอยู่ที่ดื่มบ้าง ถึงดื่มปานกลางนั้น ลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมลง และการลดปริมาณจากดื่มหนักเป็นดื่มปานกลาง จะลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมเช่นกัน และในขณะเดียวกันจากที่ไม่ดื่มเลย เป็นเริ่มดื่มบ้างในปริมาณน้อย จะลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมด้วย

 

ทั้งนี้ เป็นการติดตามศึกษาในคนเกาหลีเป็นจำนวน 4 ล้านคน (3,933,382 คน) โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2009 และในจำนวนนี้ ตั้งแต่เริ่มต้น 54.8% ไม่ดื่มเลย 26.7% ดื่มบ้าง 11.0% เป็นพวกดื่มปานกลางและ 7.5% เป็นดื่มหนัก
โดยที่การจัดระดับของการดื่มบ้าง ปานกลาง และหนักนั้น ดูจากปริมาณแอลกอฮอล์มาตรฐาน นั่นก็คือ หนึ่งดื่ม=14 กรัมของแอลกอฮอล์

ดื่มบ้าง หรือ mild drinker จะอยู่ที่น้อยกว่า 15 กรัมต่อวันหรือประมาณ=หนึ่งดื่ม 
ดื่มปานกลางจะอยู่ที่ 15 ถึง 29.9 กรัมต่อวัน หรือประมาณเท่ากับหนึ่งถึงสองดื่มและ
ดื่มหนักจะอยู่ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กรัมต่อวัน นั่นก็คือมากกว่าหรือเท่ากับสามดื่ม
ในระหว่างช่วงเวลา 2009 ถึง 2011 นั้น กลุ่มดื่มบ้าง 24.2% กลุ่มดื่มปานกลาง 8.4% และกลุ่มดื่มหนัก 7.6% นั้นเลิกดื่มไปหมด

แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ปรากฏว่า 13.9% ของกลุ่มไม่ดื่มเลย 16.1% ของกลุ่มที่ดื่มบ้างและ 17.4% ของกลุ่มที่ดื่มปานกลางกลับเพิ่มระดับปริมาณของการดื่มขึ้น

"หมอดื้อ" เผยข้อมูล "ดื่มแอลกอฮอล์บ้าง กลับลดสมองเสื่อม" 

"หมอดื้อ" เผยข้อมูล "ดื่มแอลกอฮอล์บ้าง กลับลดสมองเสื่อม" 

ในช่วงเวลาของการติดตามเฉลี่ย 6.3 ปีนั้น พบว่ามี 2.5% ที่เป็นสมองเสื่อม (100,282 คน) โดยสามารถระบุได้ว่า 2% (79,982 คน) เป็นโรคอัลไซเมอร์ และ 0.3% (11,085 คน) เป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นจากเส้นเลือดฝอยตันพรุนในเนื้อสมอง (vascular dementia)

ข้อมูลที่ไม่คาดคิดมาก่อน ในการศึกษานี้ก็คือ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ดื่มเลยตลอดระยะเวลาที่เริ่มการศึกษา กลับพบว่ากลุ่มที่ดื่มบ้างและดื่มปานกลางกลับมีความเสี่ยงของสมองเสื่อมลดลง 21% (aHR, 0.79; 95% CI, 0.77-0.81) และ 17% (aHR, 0.83; 95% CI, 0.79-0.88) ตามลำดับ

 

แต่ในกลุ่มที่ดื่มหนักนั้นมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 8% (aHR, 1.08; 95% CI, 1.03–1.12)

 

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกับความเสี่ยงของสมองเสื่อมในลักษณะนี้เป็นแบบเดียวกันทั้งโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อมจากเส้นเลือดตัน
• การลดระดับปริมาณของแอลกอฮอล์จากดื่มหนักเป็นดื่มปานกลางทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อมได้ทั้งสองแบบ 
• และเช่นเดียวกันเมื่อเพิ่มปริมาณขึ้นจากระดับปานกลางไปเป็นหนักก็จะเพิ่มความเสี่ยงของสมองเสื่อมทั้งสองแบบ
• แต่ข้อมูลที่ดูประหลาดแต่เป็นไปแล้วนั้น ก็คือในกลุ่มที่ไม่ดื่มเลยและเริ่มต้นดื่มบ้างในระยะต่อมา พบว่าความเสี่ยงที่จะเกิดสมองเสื่อมทั้งหมดลดลง 7 เปอร์เซ็นต์ (aHR, 0.93; 95% CI, 0.90-0.96) และลดลง 8% ของสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ (aHR, 0.92; 95% CI, 0.89-0.95) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ดื่มบ้างอยู่แล้วตั้งแต่ต้น

หมายความว่า เมื่อเริ่มดื่มบ้างแล้วจากไม่เคยดื่มเลยกลับทำให้ความเสี่ยงของสมองเสื่อมนั้นลดลง
ซึ่งข้อมูลจากไม่ดื่มเลยเป็นดื่มบ้าง กลับได้ประโยชน์ ไม่เคยมีรายงานการศึกษาที่ใดมาก่อน และหัวหน้าคณะวิจัยได้กล่าวย้ำว่าผลการศึกษานี้ ไม่ได้เป็นการชักชวนให้คนที่ไม่ดื่มเลยเริ่มต้นดื่ม

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษานี้หรือการศึกษาก่อนหน้า เมื่อเริ่มต้นดื่มไปแล้วและไม่สามารถหยุดยั้งตนเองกลายเป็นติดแอลกอฮอล์จนใช้ปริมาณสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของสมองเสื่อมขึ้นเป็นสามเท่า
ในทางกลับกัน ผู้ที่ดื่มบ้างในปริมาณน้อยอยู่แล้ว สามารถคงปริมาณในระดับนั้นได้ โดยอาจไม่ต้องกังวล และอาจมีความดีใจแฝงอยู่นิดๆว่ายังคงมีสมองใสต่อไปได้

ท้ายสุด คณะผู้ศึกษาได้แจงข้อจำกัดของการศึกษานี้ว่า ปริมาณแอลกอฮอล์ที่แต่ละคนรายงานนั้น อาจเป็นไปได้ว่า น้อยกว่าสัดส่วนที่ดื่มจริง และขณะเดียวกันชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นไม่ได้มีการแยกแยะรายละเอียดในการศึกษานี้ว่า เป็น เหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเป็นเครื่องดื่มประเภทอื่น

และอีกประเด็นหนึ่งก็คือ ผู้อยู่ในการศึกษานี้เป็นผู้ที่ได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

ดังนั้นอาจจะเป็นกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพค่อนข้างดีอยู่แล้วและมีการใช้ชีวิตแบบสุขภาพดีกว่าประชากรทั่วไปในเกาหลี อีกประเด็นที่สำคัญก็คือการศึกษานี้ไม่ได้มีการพิจารณาถึงยีนที่ส่งเสริมที่ทำให้เกิดอัลไซเมอร์ และประการสุดท้ายก็คือ ข้อมูลเหล่านี้จำกัดอยู่ที่คนเกาหลี ดังนั้น อาจจะพูดไม่ได้เต็มที่ว่าสามารถนำไปประยุกต์กับคนเชื้อชาติอื่นได้หรือไม่โดยที่อาจจะมีพันธุกรรมในด้านการขจัดแอลกอฮอล์ไม่เหมือนกัน (alcohol metabolism)

ง่ายสุดที่เราทำได้ก็คือ ไม่เคยดื่มก็ไม่ต้องดื่ม หรือถ้าดื่มก็เป็นการดื่มเพื่อสุขภาพในปริมาณน้อยครับ

อีกความเคลื่อนไหวว่าด้วย ประเด็นสมองเสื่อม โพสต์ดีๆ จากหมอดื้อ

ผู้ป่วยสมองเสื่อมออกกำลังมากยิ่งเสื่อมหนัก ป้องกันได้อย่างไร เช็คที่นี่มีคำตอบ หมอธีระวัฒน์เผยออกกำลังกายนั้นดี แต่ทุกอย่างเมื่อไม่อยู่สายกลางจะไม่ดี แนะหนุ่มสาวออกกำลังต่อเนื่อง

สมองเสื่อมเป็นอาการผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน 

แต่ประเด็นที่สำคัญก็คือ เมื่อเป็นแล้วรักษาได้หรือไม่ และจะมีวิธีป้องกันอย่างไร

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า

สมองเสื่อมอยู่แล้ว ออกกำลังเป็นบ้าเป็นหลัง เสื่อมหนักขึ้น

ออกกำลังกายนั้นดี แต่ทุกอย่างเมื่อไม่อยู่สายกลาง ย่อมไม่ดี 

ข้อมูลหลัก ๆ จาก Exercise for cognitive brain health in aging ลงใน วารสารทางสมอง Neurology 2018 ซึ่งได้เอาการวิจัย 98 อันเกี่ยวกับการออกกำลังกายมา

วิเคราะห์ (systematic review) ซึ่งบอกว่าดีต่อสมองและช่วยลดสมองเสื่อม 

แต่ DAPA trial ลงใน วารสารการแพทย์ของอังกฤษ BMJ 2018 เอาคนที่เป็นสมองเสื่อมแล้วมาออกกำลังกายพบว่าออกเยอะไปสมองจะแย่

แล้วเท่าไหร่ดีละ?

การออกกำลังกายช่วยลดโอกาส "สมองเสื่อม" ได้ และออกแบบไหน?

หมอธีระวัฒน์ ระบุอีกว่า จากการศึกษาใน Neurology 2018 พบว่าในทั้งคนวัยกลางหรือสูงวัยที่ทั้งมีโรคสมองเสื่อมอ่อนๆ หรือที่สมองยังแข็งแรงดีอยู่ พบว่ายิ่งออกกำลังกายเยอะก็ยิ่งทำให้ สมองดี สมองดีที่ว่าหมายถึง คิดเร็วขึ้น การตัดสินใจเฉียบขาดขึ้น และจะออกแบบไหนก็ได้ไม่ว่าจะเป็นปั่นจักรยาน วิ่ง ยกน้ำหนัก โยคะ พิลาติส ก็ตาม ขอให้ได้อย่างน้อยอาทิตย์ละสองชั่วโมง 

อันนี้ก็คงเพราะว่าถ้าออกกำลังกาย สุขภาพหัวใจ และเส้นเลือดเราก็จะดีขึ้น นั่นก็แปลว่าสมองจะได้รับสารอาหารเพียงพอ นอกจากนั้นก็เป็นไปได้ว่าการที่เลือดสูบฉีดดีจะทำให้สารพิษหรือโปรตีนผิดปรกติถูกล้างออกไปได้เร็วขึ้น 

นอกจากนั้นสารเคมีที่หลั่งออกมาตอนออกกำลังกายอาจจะมีส่วนช่วยปรับสมดุลในสมองอีกด้วย อันนี้กลับไปลองดูเพิ่มเติมในหมอดื้อตอน “สมองเหี่ยวหด ถ้ายังอ้วน”

แต่ออกกำลังกายกี่ชั่วโมง และรุนแรงแค่ไหน ถึงเรียกว่ามากเกินไป ในอีกการศึกษา Dementia and physical activity (DAPA) trial จากอังกฤษเป็นการศึกษาโดยแบ่งคนไข้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นสมองเสื่อมขั้นน้อยถึงปานกลางออกเป็นสองกลุ่ม (Randomised controlled trial) กลุ่มแรกให้ออกกำลังกายโดยแอโรบิคและยกน้ำหนัก 150 นาทีในหนึ่งอาทิตย์ เป็นเวลาต่อเนื่องสี่เดือนและให้ทำต่อไปเรื่อยๆ 

ส่วนอีกกลุ่มดูแล ตามเดิม ออกกำลังตามสังขาร ไม่ถึงเป็น aerobic
ผลกลับผิดคาด

เพราะหลังจาก 12 เดือน การทำงานของสมองในกลุ่มออกกำลังกาย หนัก aerobic กลับแย่ลงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เคี่ยวเข็ญให้ออกกำลังกาย รุนแรง

หมอธีระวัฒน์ ระบุอีกด้วยว่า การศึกษาเก่า อาจจะไม่ได้ให้ออกกำลังกายแบบหนักหน่วง 

นี้เป็นการชี้ให้เห็นว่า ในกลุ่มคนที่เป็นสมองเสื่อมไปแล้ว การออกกำลังกายมากเกินไปแบบหนักหน่วงอาจจะไม่ดี

ทั้งนี้ จะเป็นเพราะ มันสายเกินไปแล้ว และเส้นเลือดที่ตีบ รวมกับสมองที่ทำงานอาจจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ แล้ว 

พอให้ไปออกกำลังกายหนักๆ พลังงานจากการหล่อเลี้ยงของเลือดอันน้อยนิดที่เหลืออยู่จึงถูกเอาไปใช้กับกล้ามเนื้อในร่างกายจนเกินไป 

สมองจึงได้รับการกระทบกระเทือนเข้าไปใหญ่ ?

แต่ข้อดีกับการออกกำลังกายสำหรับคนดูแลก็คือ คนไข้กายแข็งแรงจึงสามารถช่วยเหลือตัวเองในการเดินเหินได้ง่ายกว่าถ้าเทียบกับคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
สรุปว่ายังไงดี?

ข้อมูลในเรื่องนี้ ถึงจะมีเยอะและยังไม่สามารถสรุปได้ว่าออกกำลังกายอะไร แบบไหน ออกนานเท่าไหร่ดีสุด 

ที่สรุปไม่ได้ชัด ก็คงเป็นเพราะว่าคนแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน สภาพร่างกาย ระดับไขมันหรือกล้ามเนื้อก็ไม่เหมือนกัน คนที่อ้วนลงพุงก็ควรจะออกกำลังกายแนวแอโรบิคบ้าง เพิ่มอัตราการเต้นหัวใจเพื่อลดไขมันที่พุง เพราะเรารู้ว่ายิ่งไขมันรอบเอวเยอะ สมองส่วนความจำก็จะยิ่งเล็ก 

ส่วนคนที่กล้ามเนื้อน้อยนิดก็ควรจะมีการยกน้ำหนักกันหน่อยเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อสามารถช่วยใช้น้ำตาลในเลือดได้ดีและปกป้องสมองของเราได้

ส่วนหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่ออกกำลังกายกันหนัก ๆ ก็ไม่ต้องห่วงเพราะสมองและเส้นเลือดยังดี ออกไปเถอะ น่าจะปกป้องสมองได้ แต่ถ้าออกทั้งวันทุกวัน ก็อย่าลืมทานอาหารให้พอ อย่าให้ถึงกับผอมแห้งจนเกินไป และควรจะมีวันพักผ่อนด้วยเพราะร่างกายก็ต้องการการพักผ่อนในการฟื้นฟู 

ออกกำลังกายก็หมั่นยืดเส้นยืดสายและระวังกีฬาที่มีการกระแทกสูงเพราะอายุที่มากขึ้นก็จะตามมากับไขข้อเสื่อม ปั่นจักรยานบนถนนอย่าลืมหมวกกันน็อค ระวังรอบข้างและเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

จบดื้อๆ ว่า อายุมากขึ้น แถมสมอง บวก ลบ อาจเริ่มมีสมองเสื่อม ออกกำลังตามสังขาร คือเดิน ตากแดด วันที่ไร้ PM 2.5 ค่อยๆเพิ่ม วันละ 400 ก้าว และไม่เป็นการหักโหม ค่อยๆเดิน ต่อเนื่อง เข้าเป้า เกิน 4,500  ไปถึง 7,000 และเขยิบเป็น 10,000 ก้าว

อันนี้ ใช้ได้แน่ และปลอดภัยด้วย

หมอธีระวัฒน์ 


"หมอดื้อ" เผยข้อมูล "ดื่มแอลกอฮอล์บ้าง กลับลดสมองเสื่อม" 

logoline