svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมอุตุฯ เตือน อากาศแปรปรวน ประเทศไทยตอนบน รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง

17 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือน เรื่องอากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 12 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 12 (58/2566) คาดมีผลกระทบถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566

คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกปกคลุมภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง

สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้

กรมอุตุฯ เตือน อากาศแปรปรวน ประเทศไทยตอนบน รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง

กราฟิกแสดงพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย

กรมอุตุฯ เตือน อากาศแปรปรวน ประเทศไทยตอนบน รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง

โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบดังนี้

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์                                          

มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ หลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว
            
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                                                
ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้

               
(ลงชื่อ)    ชมภารี ชมภูรัตน์                  

           
(นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์)

                             
อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุฯ เตือน อากาศแปรปรวน ประเทศไทยตอนบน รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 18:00 น. วันนี้ ถึง 18:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

  • อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ 
  • โดยมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน 
  • เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน
  • อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส 
  • บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-14 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า 
  • โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย และชัยภูมิ
  • อุณหภูมิต่ำสุด 15-19 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส
  • บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง

  • อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ และอุทัยธานี 
  • อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

  • อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
  • อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

  • มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
  • ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
  • อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

  • เมฆเป็นส่วนมาก
    อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส 
    ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส 

กรมอุตุฯ เตือน อากาศแปรปรวน ประเทศไทยตอนบน รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง

กรมอุตุฯ เตือน อากาศแปรปรวน ประเทศไทยตอนบน รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง

กรมอุตุฯ เตือน อากาศแปรปรวน ประเทศไทยตอนบน รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง กรมอุตุฯ เตือน อากาศแปรปรวน ประเทศไทยตอนบน รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง

ปัจจัยพื้นฐาน

ความกดอากาศที่มีกำลังแรงมักทำให้เกิดลมแรง ซึ่งฝุ่นละอองสามารถระบายได้ดีหากแต่ช่วงที่มีกำลังอ่อนลงมักจะทำให้มวลอากาศนิ่ง และเกิดปรากฏการณ์อากาศปิด (อินเวอร์ชั่น) ซึ่งอากาศไม่สามารถลอยตัวขึ้นในแนวดิ่งได้ตามปกติ และสามารถสังเกตเห็นได้ถึงสภาวะลมสงบหรือลมอ่อน ปัจจัยเช่นนี้ ทำให้ฝุ่นละอองที่่อยู่ในอากาศไม่สามารถระบายได้ และเกิดการสะสมในอากาศได้หลายวัน-หลายสัปดาห์ หรือนานกว่า (หากไม่มีฝนชะล้างออกไป) ในกรณีที่เกิดมีชั้นอินเวอร์ชั่นที่ความสูงระดับต่ำใกล้พื้นดิน หรือเพดานการลอยตัว ของอากาศต่ำลงจะทำให้ค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น (อัตราส่วนน้ำหนักต่อปริมาตรอากาศ) ซึ่งมักเกิดในเวลากลางคืนหรือเช้า

ในทางกลับกันค่าความเข้มข้นนี้จะสามารถลดลงได้โดยที่ปริมาณอนุภาคไม่เปลี่ยนแปลงหากเพดานการลอยตัวของอากาศสูงขึ้น ซึ่งมักเกิดขึ้นในเวลากลางวันที่มีแสงแดดส่องถึงอันเป็นต้นกำเนิดของพลังงาน การลอยตัว การประเมินปริมาณฝุ่นละอองที่มีในอากาศในพื้นที่หนึ่งๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน มักจะมีการวัดคุณสมบัติทางเคมี เช่นค่าความเข้มข้น หรืออัตราส่วน น้ำหนักต่อปริมาตร (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ส่วนการประเมินปริมาณฝุ่นละอองที่มีในบรรยากาศรวมทั้งหมดตลอดชั้นบรรยากาศ มักจะมีการวัดคุณสมบัติทางฟิสิกส์ต่างๆ เช่น Aerosol Optical Thickness (AOT) เป็นต้น

logoline