svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เตือน ค่าฝุ่น PM2.5 ระลอกใหม่ 27-28 ม.ค.นี้ พบ 7 จังหวัดมีผลกระทบสุขภาพ

25 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คพ.รายงาน 6 จังหวัดเหนือ และสมุทรสงคราม ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานค่า AQI เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ชี้ 27-28 ม.ค.นี้ เตรียมรับมือระลอกใหม่ กทม.พร้อมรับมือผ่านวอร์รูม

เตือน ค่าฝุ่น PM2.5 ระลอกใหม่ 27-28 ม.ค.นี้ พบ 7 จังหวัดมีผลกระทบสุขภาพ

25 มกราคม 2566 รายงานความคืบหน้าจากทาง เว็บไซต์ Air4Thai รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศพื้นที่ทั่วประเทศ เมื่อเวลา 11.00 น. พบว่า คุณภาพอากาศอยู่ในระดับดีมาก ถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพื้นที่ที่ ค่าฝุ่นละออง PM2.5 เกินมาตรฐาน มีดังนี้

  • ต.บ้านตาล อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 84 มคก.ต่อลบม.ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ 185  เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ต.ธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย 52 มคก.ต่อลบม.ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ 104 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ต.ลาดใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 55 มคก.ต่อลบม.ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ 111 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน 66 มคก.ต่อลบม.ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ 139 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน 56 มคก.ต่อลบม.ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ 114 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง 62 มคก.ต่อลบม.ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ 129 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา 55 มคก.ต่อลบม.ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ 111 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก 57มคก.ต่อลบม.ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ 116 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

เตือน ค่าฝุ่น PM2.5 ระลอกใหม่ 27-28 ม.ค.นี้ พบ 7 จังหวัดมีผลกระทบสุขภาพ

เตือน ค่าฝุ่น PM2.5 ระลอกใหม่ 27-28 ม.ค.นี้ พบ 7 จังหวัดมีผลกระทบสุขภาพ

เตือน ค่าฝุ่น PM2.5 ระลอกใหม่ 27-28 ม.ค.นี้ พบ 7 จังหวัดมีผลกระทบสุขภาพ

เตือน ค่าฝุ่น PM2.5 ระลอกใหม่ 27-28 ม.ค.นี้ พบ 7 จังหวัดมีผลกระทบสุขภาพ

ขณะที่ในพื้นที่ภาคกลางและปริมณฑล แม้ว่า สถานการณ์ในเขตกทม.-ปริมณฑลจะดีขึ้น แต่ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ยังเตือนฝุ่น PM2.5 มีแนวโน้มสูงระลอกใหม่ ช่วงวันที่ 27-28​ ม.ค.นี้


ส่วนพื้นที่ในต่างจังหวัด พบว่าที่ จ.อ่างทอง พบปัญหาฝุ่น PM2.5 ปกคลุมทั้งจังหวัดต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 แล้ว ข้อมูลจากแอปพลิเคชัน AirVisual ซึ่งเป็นแอปพิเคชันตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 แบบเรียลไทม์ ค่าฝุ่น 64 มคก.ต่อลบ.ม. ส่วนค่าดัชนีคุณภาพ 155 AQI หรือ ไมโครกรัมอยู่ในโซนสีแดง เช่นเดียวกับค่าฝุ่น PM10 ที่ขึ้นไปอยู่ที่ 108 ไมโครกรัม ซึ่งเป็นค่าที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าในวันนี้จะมีลมกระโชกแรง ทำให้ปริมาณค่าฝุ่นลดลงไปกว่าเมื่อวานนี้ (24 ม.ค.) แต่ก็ยังมีค่าเกินกว่ามาตรฐาน

เตือน ค่าฝุ่น PM2.5 ระลอกใหม่ 27-28 ม.ค.นี้ พบ 7 จังหวัดมีผลกระทบสุขภาพ

กรุงเทพฯ ติดโผอากาศแย่ที่สุด อันดับ 10 โลก ฝุ่นพิษ PM 2.5 เกินมาตรฐานกระทบสุขภาพ

กทม.-ปริมณฑล พบฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน หลายพื้นที่ ขณะที่เว็บไซต์ IQAir เผยรายงานคุณภาพอากาศและจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทั่วโลก พบ ฝุ่นพิษ กทม.ติดอันดับ 10 ของโลก

อ้างอิงชุดข้อมุล ณ วันที่ 24 ม.ค. 2566 ที่ผ่านมา กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลคุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

โดยสารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐานได้แก่ ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจพบค่าระหว่าง 41 - 81 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) เกินมาตรฐานหลายพื้นที่



ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตือนประชาชนหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรม และออกกำลังกายกลางแจ้งในช่วงเช้า หากพบอาการผิดปกติ มีอาการแสบจมูก หายใจติดขัด วิงเวียนศีรษะ ให้ไปพบแพทย์ทันที

อ้างอิงจากเว็บไซต์ IQAir เก็บข้อมูลและรายงานคุณภาพอากาศและจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทั่วโลกโดยรายงานล่าสุดเมื่อเวลา 07.00 น. พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ของโลก

เตือน ค่าฝุ่น PM2.5 ระลอกใหม่ 27-28 ม.ค.นี้ พบ 7 จังหวัดมีผลกระทบสุขภาพ

ทั้งนี้ ในช่วงก่อนหน้านี้ (24 ม.ค. 2566) ทางผู้ว่าฯ กทม. ขอความร่วมมือภาครัฐ เอกชน และ ประชาชน ใช้มาตรการ Work From Home วันที่ 26 ม.ค.นี้ เพื่อช่วยกันลดความเสี่ยงฝุ่นที่อาจเพิ่มขึ้น จากความหนาของชั้นบรรยากาศ

สำหรับช่วงที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร ดำเนินมาตรการเพื่อรับมือต่อวิกฤตฝุ่น PM 2.5  คือ การตรวจสอบแหล่งกำเนิดฝุ่น ทั้งจากต้นทาง และปลายทาง เช่น รถควันดำ, โรงงาน, สถานที่ก่อสร้าง, แพลนท์ปูน รวมถึงขอความร่วมมือผู้ประกอบการลด หรือ งดกิจก่อสร้างที่ทำให้เกิดฝุ่น เป็นต้น

ขณะเดียวกัน กรุงเทพมหานคร ได้ตั้งทีมวอร์รูมฝุ่น รับมือมาตั้งแต่เดือน พ.ย.2565 เพื่อเฝ้าระวังผลกระทบที่เกิดขึ้น และการให้ประชาชน ร้องเรียน แจ้งข้อมูลผ่านท่างแอปพลิเคชัน "Traffy Fondue" ของ กทม.

จริงหรือไม่? ฝุ่น PM 2.5 เป็นพาหะของไวรัส COVID-19
ฝุ่น PM2.5 ที่ลอยในอากาศนั้นสามารถเป็นพาหะของเชื้อไวรัสโคโรน่า และการที่ฝุ่นมากขึ้นทำให้คนติดเชื้อมากขึ้น แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร มาหาคำตอบไปด้วยกัน

PM2.5 กับ COVID-19 สัมพันธ์กันอย่างไร?
นักวิจัยจาก the Harvard T.H. Chan School of Public Health ได้วิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่น PM2.5 กับไวรัส COVID-19 (1) ข้อมูลจาก 3,000 เมืองในสหรัฐอเมริกาที่มีฝุ่น PM2.5 หนาแน่น (ซึ่งครอบคลุม 98% ของประชากรทั้งประเทศ) พบความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจว่าในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นเฉลี่ยสูงขึ้น 1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ COVID-19 ในระดับรุนแรงหรือเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 8%

ตัวเลขนี้อาจดูไม่มาก แต่เมื่อพิจารณาจากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุว่าช่วงการเปลี่ยนแปลงปริมาณมลพิษในอากาศที่ยังปลอดภัยคือ 10 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม. หมายความว่าโดยทั่วไปแล้ว ค่ามลพิษในตอนเช้าอาจเริ่มที่ 1 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม. และเพิ่มไปยัง 10 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม. ในช่วงเวลาเร่งรีบมีรถมากในตอนเย็น นับว่าเป็นการเพิ่มขึ้นในระดับที่ปลอดภัย

นั่นแปลว่าในวันปกติที่ค่ามลพิษเพิ่มขึ้นหรือลดลงในระดับปลอดภัย มีโอกาสที่ความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 ในระดับรุนแรงหรือเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นถึง 70%

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัสหรือเสียชีวิตที่แท้จริงคืออะไร?
โดยปกติปอดของมนุษย์จะมีตัวรับเซลล์ทั้งหมด 3 ตัว ประกอบไปด้วย เอนไซม์ ACE2 โปรตีน DC-SIGN และ L-SIGN (2) มีหน้าที่รักษาระบบการทำงานในร่างกายให้เป็นปกติ และเสริมภูมิคุ้มกันต่อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะเอนไซม์ ACE2 ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน คอยตรวจจับไวรัสและส่งสัญญาเตือนรวมถึงช่วยควบคุมความดันโลหิตนั้น ในปอดของผู้ที่ได้รับมลพิษมากรวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความอ่อนแอหรือเสี่ยงต่อการถูกทำลายมากกว่า ซึ่งเอนไซม์นี้คือเป้าหมายหนึ่งที่ไวรัสโคโรน่าเข้าไปโจมตีและเป็นช่องทางเข้าสู่เซลล์ปอดนั่นเอง

 

จากสาเหตุข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ฝุ่น PM2.5 ไม่ใช่พาหะโดยตรงของการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า แต่ทำให้ปอดของมนุษย์อ่อนแอลง ทำให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายปอดได้ง่ายขึ้น เราจึงต้องระวังการสูดหายใจรับอากาศที่มีฝุ่นมากเข้าไปอยู่เสมอ เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสจากการที่ปอดอ่อนแอได้สูง


ขอขอบคุณที่มาของสาระดีๆ จาก >> IQAir

logoline