svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เตือน นทท.ยอดดอยอากาศหนาว-หนาวจัด มีน้ำค้างแข็ง อุณหภูมิต่ำสุด 2 องศา

24 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย-ภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้น มวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากจีน แผ่ลงมาปกคลุมไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักและคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร 

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน ภาคใต้ฝนหนักและคลื่นลมแรง โดยนางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เผยประกาศ ฉบับที่ 12 เรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 12 (33/2566) มีผลกระทบในช่วงวันที่ 24 - 30 มกราคม 2566

เช็กด่วน !! ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัย (ตามภาพประกอบในข่าว) คลิกที่นี่ 

ประกาศ ฉบับที่ 12 เรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย

     
ในช่วงวันที่ 24 - 26 มกราคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้  ทำให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณ ฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร

ประกาศ ฉบับที่ 12 เรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย
ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 30 มกราคม 2566 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ จะมีกำลังแรงขึ้นเนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร
 

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย และขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งตลอดช่วง

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักบางแห่ง มีดังนี้

ในช่วงวันที่ 24 - 25 มกราคม 2566

ภาคใต้: จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล

ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 30 มกราคม 2566

ภาคใต้: จังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล


จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 05.00 น.

(ลงชื่อ)     ชมภารี ชมภูรัตน์                 

(นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์)

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

ประกาศ ฉบับที่ 12 เรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย

ประกาศฉบับที่ 12 เรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย

กาะติดสภาพอากาศ การคาดหมายรายภาค ระหว่างวันที่ 24 – 30 มกราคม พ.ศ. 2566

ภาคเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 24 - 27 ม.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 9 – 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 34 องศาเซลเซียส
  • บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 2 – 12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม.
  • ส่วนในช่วงวันที่ 28 – 30 ม.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงอีก 1 - 3 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 8 – 17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 – 33 องศาเซลเซียส
  • บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 1 – 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 24 – 26 ม.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 5 - 7 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 9 – 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 – 32 องศาเซลเซียส
  • ส่วนในช่วงวันที่ 27 – 30 ม.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 9 – 18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25 – 30 องศาเซลเซียส
  • บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3 – 10 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 – 40 กม./ชม.

ภาคกลาง

  • ในช่วงวันที่ 24 – 27 ม.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 15 – 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม.
  • ส่วนในช่วงวันที่ 28 – 30 ม.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 1 - 2 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 14 – 19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

  • ในช่วงวันที่ 24 – 27 ม.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 4 - 6 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 15 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 33 องศาเซลเซียส
  • ในช่วงวันที่ 28 – 30 ม.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 15 – 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 32 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ทางตอนบนของภาค อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ในวันที่ 24 - 25 ม.ค. 66
  • ทางตอนล่างของภาค มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
  • อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 33 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่ จ. สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
  • ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

  • มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณตอนล่างของภาค ตลอดช่วง
  • อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 34 องศาเซลเซียส
  • ในช่วงวันที่ 24 - 26 ม.ค. 66 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
  • ในช่วงวันที่ 27 - 30 ม.ค. 66 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพฯ และปริมณฑล

  • ในช่วงวันที่ 24 – 27 ม.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม.
  • ส่วนในช่วงวันที่ 28 – 30 ม.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 1 - 2 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 17 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.

ออกประกาศ 24 มกราคม 2566 11:00 น.

ตรวจสอบสภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า >> คลิกที่นี่ 

ประกาศฉบับที่ 12 เรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย

ชวนอ่านบทความที่น่าสนใจ โดยนักวิชาการคนดังของไทย  

ดร.เสรี เตือนทั่วโลกอากาศแปรปรวน ไทยอาจเจอทั้งภัยแล้ง น้ำท่วมใหญ่ ในปี 2573

"ดร.เสรี" เตือนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงทั่วโลกตั้งแต่ต้นปี 2566 คาดไทยได้รับผลกระทบรุนแรงทั้งภัยแล้ง น้ำท่วมใหญ่ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นภายในปี พ.ศ. 2573
 

การเปลี่ยนแปลงระบบภูมิอากาศ โดยมนุษย์เกิดขึ้นจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ออกสู่บรรยากาศโลกในช่วง 150 กว่าปีที่ผ่านมา ก๊าซเรือนกระจกดูดซับและกักเก็บความร้อนที่แผ่ออกจากโลก ผลคือโลกร้อนขึ้น โดยเฉพาะการกระทำของมนุษย์ทั้งจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การตัดไม้ทำลายป่า เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนและในที่สุดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตราย


รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ระบุว่า

ขณะนี้ สภาพอากาศรุนแรงทั่วโลกกำลังส่งสัญญาณต่อประเทศที่มีความเปราะบางอย่างประเทศไทย รวมถึงอุณหภูมิที่สูงผิดปกติในยุโรป จีน ญี่ปุ่นในช่วงฤดูหนาว อากาศหนาว และร้อนภายในวันเดียว อเมริกาพายุหิมะถล่มมลรัฐตอนกลาง และตะวันออก ปริมาณฝนตกหนักในฝั่งตะวันตกจากแม่น้ำในชั้นบรรยากาศ ภัยแล้ง และน้ำท่วมที่โหดร้ายกับประเทศอาร์เจนตินา และปากีสถานตามลำดับ

ทางฝั่งคณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) คาดการณ์ว่าอุณหภูมิโลกอาจจะสูงขึ้นประมาณ 1.5oC ภายใน 5 ปีข้างหน้า ไทยจะเผชิญกับภัยคุกคาม และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

เริ่มจากภัยแล้งที่ยาวติดต่อกันตั้งแต่ปี 2566-2569 (โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทานกว่า 80%) และตามมาด้วยน้ำท่วมใหญ่ในปี 2572-2573 และหลังปี 2573 ภัยคุกคามดังกล่าวจะมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยโลกอาจจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 2oC (Overshoot) โดยเฉพาะระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น พื้นที่ริมอ่าวไทยหัวตัว ก (สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กทม. และสมุทรปราการ) จะอยู่กันอย่างไร?

ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ผมได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับประธานคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา (ท่านสังศิต พิริยะรังสรรค์) ไปสำรวจสภาพแหล่งน้ำทั้ง จ.ชัยภูมิ (น้ำท่วมใหญ่ปีที่แล้ว) และมุกดาหาร ชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนาไม่มีมีน้ำใช้ ทั้งๆ ที่อยู่ติดแม่น้ำโขงปริมาณน้ำมากมาย เวลาฝนตกก็ท่วมหลากผ่านไปลงแม่น้ำโขง

ทางด้าน รศ.ดร.เสรี เผยอีกว่า 

ได้สร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ของ จ.ชัยภูมิ ได้หารือกับท่านนายก อบจ. (ท่านอร่าม โล่ห์วีระ) เพื่ออธิบายเหตุ และผลของน้ำท่วม และน้ำแล้งของชัยภูมิ และเราจะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ด้วยโครงการขนาดเล็ก ฝายแกนดินซีเมนส์ต้นน้ำ บ่อบาดาล สระเก็บน้ำ (รวมทั้ง จ.มุกดาหารของท่านนายก อบจ. ดร. จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์) เราไม่สามารถรอโครงการขนาดใหญ่ ที่พึ่งพิงงบประมาณภาครัฐได้ (กว่าจะมา 5-10 ปี) ชาวบ้านจะอยู่กันอย่างไร เพราะปัญหา และความทุกข์มันเกิดขึ้นแล้ว และจะรุนแรงมากขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไข ชุมชนต้องเข้มแข็งด้วยตนเอง ชุมชนต้องกำหนดอนาคตตนเองว่าจะผ่านเรื่องน้ำแก้จนได้อย่างไร ?

รศ.ดร.เสรี คาดการณ์สภาพอากาศในประเทศไทย

ในช่วงตั้งแต่วันที่ 16-20 มกราคมนี้ สภาพอากาศหนาวเย็น จะกลับมาจากความกดอากาศสูงจากแผ่นดินใหญ่น่ะครับ ภาคเหนือ และภาคอีสานตอนบนอุณหภูมิจะลดลงจากปัจจุบัน (อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 12-14oC) พื้นที่ กทม. และปริมาณฑลก็จะมีอุณหภูมิเย็นสบายๆ ช่วงเช้า ๆ (ประมาณ 19-20 oC) ท่านใดที่วางแผนไปเที่ยวภาคเหนือ ภาคอีสานเตรียมเสื้อหนาวไปด้วยน่ะครับ มีลมแรงบ้างในบางพื้นที่ ส่วนปริมาณฝนตกหนักจะไม่มีน่ะครับ (ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม)

ขอขอบคุณที่มา springnews

ขอขอบคุณที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา 

logoline