svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"หมอธีระ" อัปเดต วายร้าย XBB.1.5 พร้อมเผยภาวะอาการลองโควิด รวมให้ครบที่นี่  

23 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอธีระ เผยงานวิจัยจาก Wambeke EV และคณะจากมหาวิทยาลัย Strasbourg ประเทศฝรั่งเศส อาการลองโควิดเป็นอย่างไรกำลังเป็นคำถามที่กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง หลังจากที่ล่าสุดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ยังคงไม่สามารถคลี่คลายไปได้ทบทวนอีกครั้ง อาการลองโควิดเป็นอย่างไร

อีกความเคลื่อนไหวทางวิชาการดีๆ ที่ทาง คุณหมอธีระ หรือ นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มักจะนำเอารายงานทางวิชาการมาฝากแฟนข่าวอยู่เสมอๆ ล่าสุด ผู้สื่อข่าวจับตาที่โพสต์ล่าสุด ที่คุณหมอได้ลงไว้ในเฟซบุ๊กส่วนตัว Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน) เกี่ยวกับ สถานการณ์การโควิด-19 ในช่วงนี้ ใจความระว่า 

"หมอธีระ" อัปเดต วายร้าย XBB.1.5 พร้อมเผยภาวะอาการลองโควิด รวมให้ครบที่นี่  

23 มกราคม 2566
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 128,373 คน ตายเพิ่ม 635 คน รวมแล้วติดไป 673,294,559 คน เสียชีวิตรวม 6,746,068 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ รัสเซีย และเม็กซิโก

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 91.1 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 80.94

"หมอธีระ" อัปเดต วายร้าย XBB.1.5 พร้อมเผยภาวะอาการลองโควิด รวมให้ครบที่นี่  

ปัจจุบันในอเมริกา XBB.1.5 ครองสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งแล้ว และหากรวม XBB ไปด้วย ก็รวมเป็น 52.4%

...อัปเดตสถานการณ์สายพันธุ์ไวรัส
รายงานจาก GITHUB สรุปสถานการณ์สายพันธุ์ไวรัสทั่วโลกเมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา
สรุปว่า XBB.1.5 จัดเป็นสายพันธุ์ไวรัสที่แข็งแรงที่สุด (viral fitness) ที่มีการระบาดอยู่ในปัจจุบัน
แม้ปัจจุบันจะครองสัดส่วนหลักในแถบตะวันออกของอเมริกา แต่คาดว่า XBB.1.5 จะเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐอเมริกาภายในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์
  "หมอธีระ" อัปเดต วายร้าย XBB.1.5 พร้อมเผยภาวะอาการลองโควิด รวมให้ครบที่นี่  
ในขณะที่แถบยุโรปยังพบในสัดส่วนน้อยราว 5% ณ ช่วงสัปดาห์แรกของปีนี้ แต่ด้วยค่าเฉลี่ยของการระบาดทวีคูณ (doubling time) ราว 10 วัน หากเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ XBB.1.5 เป็นสายพันธุ์หลักได้ตั้งแต่ปลายกุมภาพันธ์
อย่างไรก็ตาม XBB.1.5 อาจไม่ใช่ตัวเดียวที่ครองการระบาด แต่ต้องแข่งขันกับสายพันธุ์อื่นๆ ในแต่ละพื้นที่ด้วย จึงไม่น่าจะเห็นภาพรวมการระบาดที่ครองด้วย XBB.1.5 ตัวเดียวเดี่ยว ๆ


สายพันธุ์อื่นๆ ที่พบมากในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ XBF ในออสเตรเลีย, CH.1.1 ในนิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักร รวมถึง BQ.1* + S:346T + S:144- ในเดนมาร์ก ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร


...ถ้าประเมินสถานการณ์ของไทย แนวโน้มจะเป็นซุปสายพันธุ์ที่หลากหลาย เพราะปัจจัยหลักมาจากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามามากในหลายเดือนที่ผ่านมา สัดส่วนหลักของสายพันธุ์ย่อมแปรผันตามจำนวนคนเดินทางจากภูมิภาคนั้นๆ

 

...อัปเดต Long COVID
Bowyer RCE และคณะ จากสหราชอาณาจักร เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารสากล European Journal of Epidemiology เมื่อ 21 มกราคมที่ผ่านมา
ทำการวิเคราะห์ลักษณะของอาการผิดปกติภายหลังจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 จากฐานข้อมูลวิจัย 9 แหล่ง 
สาระสำคัญคือ อาการอ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า (Fatique) ปัญหาด้านความคิด/ความจำ/สมาธิ (Difficulty concentrating, memory loss) และอาการปวดกล้ามเนื้อ (Muscle pain) ถือเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วย Long COVID โดยกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน


...การป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด
การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน ทำงาน เรียน หรือเดินทางท่องเที่ยว จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

ขอขอบคุณที่มา >> 

ติดตามอ่านโพสต์ก่อนหน้านี้ น่าสนใจมากๆ ติดตามอ่าน คลิกที่นี่ 

จำนวนการเสียชีวิตส่วนเกินที่เกิดขึ้นในตลอดช่วงหลายปีของการระบาดจนถึงปัจจุบัน สะท้อนให้เราทุกคนเข้าใจสถานการณ์เป็นอย่างดี

ควรป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน

หากสังเกตภาพที่ 3 จะพบว่า จำนวนเสียชีวิตส่วนเกินของไทยเรา ในปีที่สองที่เกิดช่วง D614G และ Alpha/Delta ระบาดนั้นมีจำนวนพอๆ กับปีสามที่ Omicron ระบาดเลย (ปีสามมากกว่าปีสองนิดหน่อยด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่ Omicron รุนแรงน้อยกว่าเดลต้าและคนรับวัคซีนไปมากกว่าปีสอง) สะท้อนให้เห็นสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น

นโยบายป้องกันและควบคุมการระบาดเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน

"หมอธีระ" อัปเดต วายร้าย XBB.1.5 พร้อมเผยภาวะอาการลองโควิด รวมให้ครบที่นี่  

"WHO" ประกาศชัดให้ใส่ "หน้ากากอนามัย" บนเครื่องบินตลอดเวลา โดยเฉพาะในสายการบินที่เดินทางระยะยาวหลายชั่วโมง ยกเว้นเฉพาะช่วงทานอาหาร ลดการติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ปัจจุบัน

หน้ากากอนามัยเป็นอาวุธชิ้นสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 แต่ในยุคปัจจุบันได้มีการผ่อนคลายการใส่หน้ากากอนามัยโดยที่ไม่ได้บังคับ

อย่างไรก็ดี เวลานี้มีการกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์ย่อยที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อที่รวดเร็ว ประกอบกับมีการเปิดประเทศทำให้มีการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศมากขึ้นจึงก่อให้เกิดความเสี่ยงเป็นอย่างมาก

ล่าสุด น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า

ผู้เดินทางไปต่างประเทศต้องทราบ WHO แนะนำใส่ "หน้ากาก" บนเครื่องบินตลอดเวลาแล้ว

จากสถานการณ์โควิดที่มีการผ่อนคลายความรุนแรงต่อเนื่องกันมาจากปี 2565

ทำให้ภาคธุรกิจด้านการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางโดยเครื่องบินกันเป็นจำนวนมากนั้น

และในหลายประเทศ หลายสายการบินก็ไม่ได้บังคับ หรือไม่ได้แนะนำแบบเข้มให้ผู้โดยสารใส่หน้ากากอนามัย

อย่างไรก็ตาม หมอเฉลิมชัย ระบุอีกว่า เนื่องจากไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยในขณะนี้เกือบทุกตัว 

ทั้ง XBB.1.5 , BQ.1.1 , BA.2.75 ล้วนมีความสามารถในการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก แม้จะไม่ค่อยก่อความรุนแรงมากนัก

จนล่าสุดองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาให้คำแนะนำอย่างชัดเจนว่า

ขอให้สายการบินทุกสาย ได้ให้คำแนะนำอย่างเข้มกับผู้โดยสาร โดยเฉพาะในสายการบินที่เดินทางระยะยาวหลายชั่วโมงว่า

อ้างอิง
1. Variant report 2023-01-19. GITHUB. 19 January 2023.
2. Bowyer RCE et al. Characterising patterns of COVID-19 and long COVID symptoms: evidence from nine UK longitudinal studies. European Journal of Epidemiology. 21 January 2023.

logoline