svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"โอมิครอน" แตกหน่อกว่า 540 สายพันธุ์ย่อย วัคซีนเข็มกระตุ้นยังมีความจำเป็น

16 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"หมอธีระ" เผยข้อมูลโควิด โอมิครอนแตกหน่อมากกว่า 540 สายพันธุ์ย่อย การระบาดในไทยยังต่อเนื่อง ย้ำคนไทยยังจำเป็นต้องไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดเสี่ยงป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID

รายงานสถานการณ์ความคืบหน้าทางวิชาการ การระบาดของโควิด-19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยทางด้าน รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat  ระบุว่า 

16 ธันวาคม 2565 

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 395,995 คน ตายเพิ่ม 917 คน รวมแล้วติดไป 655,934,350 คน เสียชีวิตรวม 6,665,797 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 90.64 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 72.62

\"โอมิครอน\" แตกหน่อกว่า 540 สายพันธุ์ย่อย วัคซีนเข็มกระตุ้นยังมีความจำเป็น

\"โอมิครอน\" แตกหน่อกว่า 540 สายพันธุ์ย่อย วัคซีนเข็มกระตุ้นยังมีความจำเป็น

...อัปเดตจาก WHO

องค์การอนามัยโลกเผยแพร่ข้อมูลรายสัปดาห์ WHO Weekly Epidemiological Update ประจำวันที่ 14 ธันวาคม 2565

ปัจจุบันสายพันธุ์ Omicron ครองสัดส่วนสูงถึง 99.5% 

Omicron นั้นมีการแตกหน่อ มีลูกหลานไปมากถึงกว่า 540 สายพันธุ์ย่อย ทั้งนี้เป็นไวรัสลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ย่อยกัน หรือที่เรียกว่า recombinant กว่า 61 สายพันธุ์ย่อย

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของไวรัสที่สังเกตเห็นกันในช่วงนี้นั้นคือ มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งที่พบบ่อยหรือพบซ้ำต่อเนื่องในหลายสายพันธุ์ย่อย ทำให้สะท้อนว่า ไวรัสตัวใหม่ๆ มีแนวโน้มที่จะมีวิวัฒนาการไปในทิศทางคล้ายกัน (Convergent evolution) 

ที่สำคัญคือ ตำแหน่งการกลายพันธุ์เหล่านั้นดูจะสัมพันธ์กับสมรรถนะของไวรัสที่พัฒนาเพื่อให้ดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากขึ้น (immune evasiveness)

WHO ระบุว่ามี 5 สายพันธุ์ย่อยที่อยู่ในการติดตามอย่างใกล้ชิดในปัจจุบัน

BA.2.75.x

เริ่มมีรายงานตั้งแต่ช่วงธันวาคม 2564 และระบาดในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงปัจจุบันมีการแพร่กระจายไปทั่วโลกถึง 85 ประเทศ 

แต่เดิมระบาดมากในอินเดีย และบังคลาเทศ ต่อมาถูกแทนที่ด้วย XBB 

ขณะนี้ประเทศที่พบว่ามีความชุกของสายพันธุ์ย่อยนี้สูงสุดได้แก่ ประเทศไทย (53.8%), ออสเตรเลีย (25.1%), มาเลเซีย (22.5%), จีน (18.8%), และนิวซีแลนด์ (16.3%)

BA.5

ครองการระบาดทั่วโลกมายาวนาน เพราะมีสมรรถนะการติดเชื้อเร็ว และดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่าสายพันธุ์เดิมอย่าง BA.1 และ BA.2 โดยตรวจพบแล้วใน 119 ประเทศ

BQ.1.x

จัดเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีอัตราการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นรวดเร็วที่สุด ขณะนี้กระจายไปแล้ว 90 ประเทศ 

XBB.x

เป็นลูกผสมระหว่าง BA.2.10.1 กับ BA.2.75 โดยมีการรายงานครั้งแรกเมื่อสิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา 

ปัจจุบันระบาดกระจายไป 70 ประเทศทั่วโลก แต่ความชุกยังไม่มากนักราว 3.8% 

ประเทศที่พบมากได้แก่ อินเดีย (62.5%), โดมินิกัน (48.2%), สิงคโปร์ (47.3%), มาเลเซีย (40.9%), และอินโดนีเซีย (29.3%)

และ BA.2.30.2 มีตำแหน่งการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งที่คล้ายคลึงกับสายพันธุ์ย่อยต่างๆ ข้างต้น ยังมีรายงานการระบาดไม่มากนัก แต่พบได้ในแทบทุกทวีป 

...ในภาพรวมแล้ว พบว่าสายพันธุ์ BA.2.75.x และ XBB ขยายตัวอย่างช้าๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตก

ในขณะที่ BQ.1.x และ BA.5 ซึ่งมีการกลายพันธุ์เพิ่มจากเดิม 5 ตำแหน่ง มีการระบาดขยายตัวขึ้นค่อนข้างเร็วกว่า และกระจายไปทั่วโลก

 

\"โอมิครอน\" แตกหน่อกว่า 540 สายพันธุ์ย่อย วัคซีนเข็มกระตุ้นยังมีความจำเป็น

...การระบาดของไทยเรายังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ระมัดระวังตัวเสมอเวลาออกไปใช้ชีวิตประจำวัน

จำเป็นต้องไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดเสี่ยงป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID

หากไม่สบาย ไอ เจ็บคอ ไข้ คัดจมูก ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ควรตรวจ ATK 

ถ้าผลบวก แปลว่าติดเชื้อ ควรแยกตัวจากผู้อื่นอย่างน้อย 7-10 วันจนกว่าอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจซ้ำได้ผลลบ จึงออกมาใช้ชีวิตป้องกันตัวเคร่งครัดจนครบสองสัปดาห์

\"โอมิครอน\" แตกหน่อกว่า 540 สายพันธุ์ย่อย วัคซีนเข็มกระตุ้นยังมีความจำเป็น

หากป่วย แต่ตรวจได้ผลลบ อย่าเพิ่งวางใจ อาจเป็นผลลบปลอมได้ จึงควรตรวจซ้ำทุกวันอย่างน้อย 3 วันติดกัน

ย้ำอีกครั้งว่า สภาพแวดล้อมในสังคมปัจจุบันมีการติดเชื้อแพร่เชื้อจำนวนมาก มีความเสี่ยงมาก จำเป็นต้องป้องกันตัวให้ดี

ไม่ติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด เพราะติดแล้วไม่ใช่แค่ชิลๆ แล้วหาย

แต่ป่วยหนักได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อ Long COVID ระยะยาวที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะการใช้ชีวิต

การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก


ขอขอบคุณที่มา: Thira Woratanarat 


 

logoline