svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT "เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด"  

12 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไขปมปริศา ข้อสอบเจ้าปัญหา TGAT "เมนูใดสร้างก๊าซเรือนกระจกและส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด" แม้ทาง ทปอ. ยืนยันมีคำตอบ และยินดีที่คำถามดังกล่าวกระตุ้นให้มีการถกเถียง ชาวเน็ตยังถกไม่จบ มาดูแนวทางคำตอบที่น่าสนใจกันว่า สุดท้ายทิศทางคำตอบจะไปทางไหน ตรงนี้มีคำตอบ

ปมร้อนๆ ดราม่าข้อสอบเจ้าปัญหา TGAT

"เมนูใดสร้างก๊าซเรือนกระจกและส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด"

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  

ขณะที่ ทปอ. ยืนยันมีคำตอบ ยินดีที่คำถามดังกล่าวกระตุ้นให้มีการถกเถียง ชาวเน็ตยังถกไม่จบ วันนี้ เนชั่นออนไลน์ มีแนวทางคำตอบดีๆ มาคลายอาการปวดหัวตึ้บๆของชาวเน็ตกัน ติดตามรายละเอียดได้ในตรงนี้มีคำตอบ 


จากกรณีเกิดประเด็น ดราม่า การสอบ TCAS66 จนกลายเป็นประเด็นไวรัลบนสื่อออนไลน์ จน #dek66 ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ เกี่ยวกับข้อสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) ในข้อคำถาม เกี่ยวกับการเลือกเมนูอาหารที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด ทำให้มีการถกเถียงกันสนั่นโลกโซเชียล

แม้ในขณะนี้ ยังคงกลายเป็นกระแสุดปัง ผู้คนในสังคม บรรดาชาวเน็ตและชาวคีย์บอร์ดต่างร่วมถกเถียงกันยาววววววววววนานและสนั่นนนนนบนโลกโซเชียล เมื่อที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. จัดการสอบ TCAS ซึ่งเป็นระบบกลางในการคัดเลือกบุคคลเข้ารับการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยจัดสอบมาตั้งแต่วันที่ 10-12 และ 17 ธันวาคม 2565 โดยวันแรกเป็นรายวิชาความถนัดทั่วไป หรือ TGAT เริ่มสอบตั้งแต่ 09.00-12.00 น.


ต่อมาก็มีประเด็นร้อนนนนน ที่ทำให้คนถกกันสนั่นโซเชียล คือ คำถามในข้อสอบ TGAT ซึ่งมีอยู่ข้อหนึ่งถามว่า "เมนูใดต่อไปนี้ที่สร้างก๊าซเรือนกระจกและส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด" โดยมีคำตอบให้เลือกดังนี้

1. ข้าวราดไก่ผัดกระเทียมพริกไทย

2. ราดหน้าหมู

3. สเต๊กปลาแซลมอน

4. สุกี้ทะเลรวมมิตร

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  

ทั้งนี้ ส่งผลให้ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนพากันตั้งข้อสงสัย คำถามคาใจเช่นนี้ พากันพร้อมใจเรียกหาเฉลย ขอคำตอบชัดๆ ขอคำตอบที่ชัดเจนหน่อย ส่งผลให้แฮชแท็ก #TGAT พุ่งขึ้นติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 ประเทศไทย ในช่วงเวลานั้นอีกด้วย

ในเบื้องต้น ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหว โดยหยิบยกเอกสารคำตอบมาจาก ทาง ทปอ. ที่ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว 
(เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2565) โดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ออกประกาศชี้แจงประเด็นที่สื่อสังคมให้ความสนใจข้อสอบ TGAT พร้อมอธิบายเจตนาของการปรับการสอบรูปแบบใหม่ โดยระบุว่า 

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  

ตามที่มีประเด็นไวรัลในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับข้อสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) ในข้อคำถามเกี่ยวกับการเลือกเมนูอาหารที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุดนั้น คณะกรรมการดำเนินงาน TCAS รู้สึกยินดีที่ข้อคำถามดังกล่าวกระตุ้นให้มีการถกเถียง และทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักรู้ถึงผลกระทบของการเลือกรับประทานอาหารที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างก๊าซเรือนกระจก ตามหลักของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13-Climate Action ของสหประชาชาติ (SDG: Sustainable Development Goals)

เพราะนอกจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ประหยัดพลังงาน การเดินทางโดยสาธารณะ การเลือกทานอาหารจากแหล่งในท้องถิ่น และการบริโภคอย่างพอเหมาะ แล้วการเลือกชนิดอาหารที่รับประทานก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างก๊าซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน
 

ข้อสอบดังกล่าวได้พัฒนาบนฐานความรู้ของการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของสังคม (Civic Engagement) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Workforce Competency) ในส่วนที่ 3 ของวิชา TGAT ซึ่งเป็นวิชาใหม่ที่จัดสอบในปีนี้เป็นครั้งแรก

ความมุ่งหวังประการหนึ่งของการพัฒนาระบบการสอบรูปแบบใหม่ในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย คือการกระตุ้นให้ผู้เข้าสอบได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะอนาคตและทัศนคติที่ดี โดยกำหนดให้เป็นส่วนใหม่ของการสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) เช่น การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ, การคิดเชิงวิพากษ์และการใช้เหตุผล, การบริหารจัดการอารมณ์, การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน, การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม และการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาของสังคม และหวังว่าการจัดศึกษาในอนาคตและการพัฒนาตนเองของผู้เรียนจะเป็นไปในทิศทางดังกล่าวควบคู่ไปกับการเรียนรู้ และประยุกต์เนื้อหาเชิงวิชาการตามหลักสูตรไปพร้อมกัน

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  


หลังจากโพสต์ดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้เป็นที่ถกเถียงในโลกออนไลน์อีกครั้ง เนื่องจากการชี้แจงดังกล่าว ไม่ได้เฉลยคำตอบของข้อสอบเจ้าปัญหาให้ด้วย


ล่าสุด สำหรับประเด็นสุดปัง หรือสุดจะพีค หรือขณะที่ใครบางคน บางครอบครัว หรือบางออฟฟิศก็สุดจะปวดเช่นนี้ 
ทางสำนักข่าว spring news สื่อดังในเครือเนชั่น กรุ๊ป ได้ทำการค้นหาแนวทางคำตอบ เพื่อให้ชาวเน็ตได้คลายข้อสงสัย ทีมข่าวจึงขอหยิบยกนำมาฝากคอข่าวกันตรงนี้ รายละเอียดมีดังนี้

แนวทาง เฉลย! เมนูใดทำโลกร้อนน้อยสุด? คำถาม TGAT 2022 สุดปวดหัว ตอบข้อไหนดีนะ?

มาวิเคราะห์กัน! เมนูใดทำโลกร้อนน้อยสุด? คำถามจากข้อสอบ TGAT 2022 ที่เด็ก ๆ นำออกมาจากห้องสอบมาถาม วอนผู้รู้ช่วยตอบที ตอบข้อไหนแน่? Springnews จัดให้ ตอบข้อไหนไปดู


งงเลยทีนี้ ตอบข้อไหนดี?

จู่ ๆ ก็เป็นไวรัลขึ้นมาเฉย หลัง #dek66 เข้าสอบวัดระดับ TGAT กันไปเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา และก็ได้มีการนำคำถามหนึ่งจากข้อสอบออกจากห้องสอบมาด้วย โดยคำถามมีอยู่ว่า

เมนูใดต่อไปนี้ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจะและภาวะโลกร้อนมากที่สุด

ข้าวราดไก่ผัดกระเทียมพริกไทย
ราดหน้าหมู
สเต็กปลาแซลมอน
สุกี้ทะเลรวมมิตร

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  

หลังจากที่มี ผู้คนนำคำถามนี้มาถามบนโลกโซเลียล หรือสื่อสังคมออนไลน์ก็เกิดประเด็นขึ้นว่า !!!

ตอบข้อไหนดี ซึ่งก็ได้มีการแสดงความคิดเห็นและการวิเคราะห์ในประเด็นคำถามนี้ที่หลากหลายมาก ๆ และยังดูเป็นคำถามที่กว้างมาก ๆ ไม่รู้จะต้องโฟกัสตรงไหนดี บทความนี้ Springnews ในคอลัมน์ Keep The World จึงไปหาคำตอบมาให้แล้ว ว่าแท้จริงแล้ว ข้อนี้ตอบอะไรกันแน่ มาวิเคราะห์และดูเฉลยไปพร้อมกันเลย

อ้างอิงจากการวิเคราะห์จาก อบก. (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก)

จากบทสัมภาษณ์ คุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ว่าเมนูในข้อใดจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและช่วยลดโลกร้อนมากที่สุด คุณเกียรติชาย ได้ให้การวิเคราะห์.ในประเด็นร้อนแรงนี้ว่า 

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  

อย่างแรกที่ต้องวิเคราะห์ ต้องดูก่อนคือประเภทของสัตว์ หลักการใหญ่ ๆ เลย คือพวกสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะสัตว์บก ที่การเพาะเลี้ยงจะไปเกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะ พวกเนื้อวัว เนื้อหมู รวมถึงปลาแซลมอนด้วย ปลาแซลมอนยิ่งหนัก เพราะเขาเลี้ยงในต่างประเทศ และก็มีการขนส่งมา


หลักของอาหารแต่ละชนิดก่อนจะได้มาซึ่งอาหาร มันจะต้องมาดูว่ามันไปเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกอะไรบ้าง อันที่หนึ่งคือ ถ้ามีความเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานต่าง ๆ โดยเฉพาะพลังงานฟอสซิล โดยเฉพาะในเรื่องการขนส่งมันก็จะเกี่ยวข้องในการปล่อยก๊าซมาก

และอย่างที่ทราบกันคือ วัวนม วัวเนื้อ หมู ไก่ สัตว์จำพวกนี้ใช้พลังงานเยอะ ทั้งในเรื่องของการเลี้ยง อาหารที่พวกมันได้กินไป ระบบดูแลโดยรอบ และตัวของพวกมันเองก็สามารถปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซประเภทหนึ่งของก๊าซเรือนกระจกเยอะมาก ก๊าซมีเทนสามารถปล่อยออกมาจากสัตว์ได้ด้วยการผายลมและอุจจาระ ซึ่งก๊าซมีเทนมีศักยภาพมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 28 เท่า
ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  

เรื่องนี้งานวิจัยรองรับทั่วโลกเลยว่า วัว 1 ตัวสามารปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 3 ตัน หรือหากเป็นวัวเนื้อก็จะน้อยลงมาหน่อย ประมาณ 1 ตันกว่า ดังนั้น ในโลกปัจจุบันจึงมีนวัตกรรมอย่าง Plant-Based กระบวนการทำนำพืชมาทำเป็นอาหารเพื่อทดแทนการเลี้ยงปศุสัตว์ ซึ่งทำให้เกิด 2 เรื่องคือ มีการทำลายป่าและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย

ทีนี้ เรามาดูกันที่ตัวอาหารได้แล้วว่า สัตว์ตัวไหนในอาหารปล่อยคาร์บอนฟุตปริ้นมากกว่ากัน จากข้อทั้งหมด สัตว์บกจะปล่อยฟุตปริ้นมากกว่าอาหารทะเล ส่วนอาหารทะเลที่ว่ามักจะมาจากธรรมชาติมากกว่า มันจะไม่ไปเกี่ยวข้องกับระบบย่อยพวกสารมีเทนอะไรต่าง ๆ เพราะฉะนั้นอาหารทะเลไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกเว้น มีการเพาะเลี้ยง ถ้ามีการเพาะเลี้ยงเขาจะใส่อาหาร มีการเดินทาง อย่างแซลมอนเดินทางมาจากต่างประเทศ มีก๊าซเรือนกระจกจากการเดินทาง

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  

คำตอบสุดท้ายของคำถามนี้

ดังนั้น เมื่อเลือกดูเมนูแล้ว 
สุกี้ ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยพืชซะมากกว่าและก็เป็นอาหารทะเล แต่ต้องเป็นอาหารทะเลที่ไม่เพาะเลี้ยง จึงจะปล่อยคาร์บอนน้อยกว่า ดังนั้น ในส่วนของ อบก. จะขอเลือกข้อ 4 สุกี้ทะเลรวมมิตร เนื่องจาก อาหารทะเล ไม่ได้มาจากการเพาะเลี้ยง และสามารถเก็บมาได้ตามธรรมชาติ (ประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์) จึงไม่ต้องใช้การเดินทางมากและใช้โรงเรือนหรือฟาร์มขนาดใหญ่ในการดูแล  

หากถามว่า ปลาแซลมอนก็เป็นอาหารทะเลเหมือนกัน หรืออาจสามารถเลี้ยงในประเทศไทยได้ ทำไมถึงไม่ใช่ข้อที่ถูก

หากไปดูที่กระบวนการเลี้ยงจริง ๆ แซลมอนส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบของการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ใช้พลังงานเยอะมาก ๆ ในการเดินทางทั้งจากเครื่องบินและเรือ อีกทั้ง แซลมอนต้องมีการคัดเกรดและเลี้ยงอย่างดีเพื่อให้ได้คุณภาพ ก็จะมีโรงเรือนเฉพาะสำหรับการเลี้ยง

หากเลี้ยงในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน จะต้องมีการสร้างฟาร์มหรือโรงเรือนในการเพาะเลี้ยง ต้องให้อาหาร ต้องใช้แสงไฟ ต้องใช้พัดลมหรือแอร์ในการเลี้ยงเพื่อควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งจะทำให้เราต้องสิ้นเปลิงทั้งเชื้อเพลิงฟอสซิลจากการเดินทางและพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงมหาศาลอีกด้วย

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  
คิดว่าการตั้งคำถามแบบนี้กับเด็กยากไปหรือไม่?

คุณเกียรติชาย ตอบว่า

ยากครับ ยากมาก ๆ แต่มันก็เป็นการประกายเหมือนกันนะครับ ทำให้กระแสความสนใจเรื่องนี้มันมี แต่ว่ามันก็ทำให้เราต้องกลับมาสร้างระบบการศึกษาเรื่องพวกนี้อย่างจริงจัง ผมว่าก็ดีเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นแบบนี้ทางภาครัฐเองก็ต้องกระตุ้นใส่เรื่องนี้ไปในหลักสูตรไปอยู่ในการเรียนการสอนมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้บริโภคทั้งหลายเริ่มมาตระหนักในเรื่องพวกนี้ ดีเลย ซึ่งก็เป็นนิมิตหมาย เป็นไวรัลได้ก็ดีนะ

สรุปจากผู้เขียน

ตัวเลือกข้อ 1 และข้อ 2 ประกอบไปด้วยสัตว์เลี้ยงบนบก คือ หมูกับไก่ หมูกับไก่เป็นสัตว์เลี้ยงในฟาร์มที่ใช้ทั้งพื้นที่เยอะ ใช้พลังงานเยอะ และยังสามารถปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งมีความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงทำให้ทั้ง 2 ข้อนี้ไม่อยู่ในตัวเลือกของอาหารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยสุด

สำหรับข้อ 3 สเต็กปลาแซลมอน ปลาแซลมอนเป็นปลาลักษณะนำเข้าซะเป็นส่วนใหญ่ มีการเดินทาง มีโรงเรือนเพาะเลี้ยงเฉพาะ เนื่องจากไม่ใช่ปลาท้องถิ่นของประเทศไทยที่จะเลี้ยงได้ง่าย ๆ หรือหากเลี้ยงในประเทศไทยจะต้องมีโรงเรือนเฉพาะในการดูแลคุณภาพเนื้อ ควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมแสง ซึ่งมีการใช้พลังงานจำนวนมหาศา

หรือหากนำเข้าจากต่างประเทศ แน่นอนว่าการขนส่งนั้นใช้พลังงานมากกว่าใคร ๆ สามารถสร้างคาร์บอนฟุตปริ้นได้ง่ายมาก ๆ ด้วยการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ตัวการโลกร้อน ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ

และสำหรับข้อ 4 สุกี้ทะเลรวมมิตร สาเหตุที่คำตอบคือข้อนี้ เนื่องจากสุกี้ประกอบด้วยผักและอาหารทะเล อาหารทะเลในที่นี้หากไม่ได้มาจากโรงเพาะเลี้ยง ซึ่งส่วนใหญ่เรือประมงจะไปเก็บขึ้นมาขาย จึงมักจะมาจากแหล่งธรรมชาติมากกว่า จะเสียพลังงานแค่เฉพาะการล่องเรือออกไปเก็บพวกมันขึ้นมา ซึ่งดูจะใช้พลังงานน้อยกว่าข้อที่เหลือ และไม่มีตัวการในการปล่อยก๊าซมีเทนเหมือนสัตว์บก

แต่สำหรับผู้เขียนนั้น ถ้าจะให้ดี ควรตั้งคำถามตรงๆ โฟกัสประเด็นชัดๆ ลงไปเลยอาจจะดีกว่าในการวิเคราะห์วำหรับเด็ก ๆ ว่าจะต้องวิเคราะห์จากวัตถุดิบ แหล่งที่มา หรือกระบวนการใด ๆ บ้าง เด็ก ๆ จะได้ไม่งง ซึ่งก็น่าจะดีกว่าคำถามกว้างๆ แบบนี้

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  

อีกมุมมองที่มาจาก 

เพจ  ภาคีสร้างสุข หรือ Thai Climate Justice for All  ได้นำเสนอ ไว้ดังนี้   ปัญหาการวัดความรู้เกี่ยวกับโลกร้อนในลักษณะข้อสอบนี้พบเจอในบ้านเราบ่อยมาก 

..
ผมคงไม่ไปวิจารณ์ในรายละเอียดเนื้อหา เพราะมีหลายคนให้ความเห็นไปแล้ว
แต่อยากสะท้อนถึงปัญหาวิธีคิดต่อการรู้เท่าทันเรื่องโลกร้อนของระบบการศึกษาไทย ที่เจอแบบนี้อีกมาก ก็คือ

1) ทำให้ปัญหาโครงสร้างกลายเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล หรือเรื่องทางเทคนิค ทั้งที่ไม่ว่าจะเลือกกินอะไร ก็ไม่มีผลต่างกันนักเมื่ออยู่ในโครงสร้างอำนาจพลังงาน เกษตร อุตสาหกรรมที่เหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม
2) ไม่สนใจถามถึงสาเหตุ ที่มาของปัญหา ราวกับมันเกิดของมันเอง
3) ไม่สนใจต่อผู้ได้รับผลกระทบ และผู้เอาเปรียบ รวมถึงวิธีได้รับผลกระทบและกลเม็ดการเอาเปรียบ
4) ไม่เห็นทุนทางสังคม ที่ผู้คนกลุ่มต่างๆ ทั้งชุมชน เกษตรกร คนเมืองต่างๆ มีบทบาทการขับเคลื่อนอย่างไร
5) แยกขาดความรู้ ความเข้าใจต่อสภาพปัญหาและวิธีรับมือออกจากวิถีชีวิตของผู้คน ออกจากวัฒนธรรม ออกจากปัญหาความไม่เป็นธรรมและไม่ยั่งยืน และออกจากโครงสร้างการพัฒนาทุนนิยมทั้งหมด 
โลกร้อนถูกทำให้เป็นเรื่องเฉพาะนักวิทยาศาสตร์กายภาพว่าด้วยคาร์บอน และนักเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยตลาดคาร์บอนเท่านั้น
และที่สำคัญที่สุดคือ
6) ไม่มีคำถาม   ข้อถกเถียง หรือเอาข้อถกเถียงที่มีอยู่มาพินิจพิเคราะห์ เช่น ตลาดคาร์บอนกับการฟอกเขียว ปัญหาทางปรัชญาของ Nature based solution... ฯลฯ

เมื่อ climate literacy ของการศึกษาไทย มองการสร้างการเรียนรู้เรื่องโลกร้อนเป็นส่วนเสี้ยวของปัญหาเทคนิคยิบย่อย เพียงเพื่อตอบคำถามเอาคะแนน

การศึกษาไทยจึงไม่อาจสร้าง พลเมืองตื่นรู้ที่มีจินตภาพ ปัญญา และความมุ่งมั่นสู้กับปัญหาโลกร้อนได้

ป.ล. Thai Climate Justice for All กำลังเริ่มพัฒนากระบวนการเรียนรู้ climate literacy กับโรงเรียนสาธิตธรรมศาสตร์ ในปีหน้า ไว้คืบหน้าอย่างไรจะมาเล่าให้ฟังครับ

และหากโรงเรียน หรือกลุ่มกิจกรรมเรียนรู้ไหนสนใจ ยินดีมาพัฒนาด้วยกันครับ
กฤษฎา บุญชัย
ผู้ประสานงาน TCJA

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  
 

ล่าสุดในอีกความคิดเห็น จากทางด้าน ‘ดร.อนันต์’ ที่ได้ออกแสดงความคิดเห็น 

ดราม่าข้อสอบ ‘ทปอ.’ คนคิดข้อสอบจำประสบการณ์ตัวเองไม่ได้
ท่าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า

สรุปเฉลยคืออะไรครับ รออ่านเฉลยและเรียนรู้วิธีคิดเชิงวิพากษ์อยู่เหมือนกันครับ แต่ฟังข่าวดูเหมือนจะบอกว่า คำเฉลยเป็นความลับ ไม่สามารถเปิดเผยได้ แอบเสียดายนิดนึง

เอาจริงๆ เด็กที่ตอบข้อนี้ถูกมีสักกี่คนที่เข้าใจเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13 ของ UN จริงๆ หรือแค่มั่วถูก…คนคิดคำถามเหมือนจำประสบการณ์ตัวเองไม่ได้ว่า ตอนเป็นเด็ก ม.ปลายเวลาทำข้อสอบไม่ได้ แล้วพวกเค้าจะทำยังไงกัน

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  

ที่มา Anan Jongkaewwattana

แล้วคุณ(ผู้อ่านข่าวนี้) ล่ะ คิดเห็นอย่างไรกับคำถามข้อสอบข้อนี้?

 

ท้ายนี้ ทางองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กำลังจัดกิจกรรมตอบคำถามว่าข้อใดถูกต้อง คุณผู้อ่านรู้คำตอบโดยตรงจากปากอบก. ขนาดนี้แล้ว ไปร่วมตอบคำถามชิงรางวัลกันเยอะ ๆ นะและอย่าลืมคำนึงถึงวิธีรักษาสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวันกันเยอะ ๆ นะ

นอกจากนี้ กระแสบนโลกออนไลน์ยังแพร่กระจายประเด็นออกไปอีก ซึ่งนอกจากข้อสอบหัวข้อดังกล่าวที่กลายเป็นประเด็นดรามาแล้ว ยังมีการพูดถึง การออกข้อสอบที่ยากเกินไป และเวลาในการสอบไม่สอดคล้องกันอีกด้วย 

ขอขอบคุณที่มา Spring News 
 

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  

ไขข้อสงสัย ดราม่าข้อสอบ TGAT \"เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด\"  

logoline