กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศทั่วไป หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย คาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมช่องแคบมะละกาและทะเลอันดามันตอนล่างในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. 2565 ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลาง พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรในระยะนี้ไว้ด้วย
ออกประกาศ 09 ธันวาคม 2565
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 18:00 น. วันนี้ ถึง 18:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค
อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค
อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง
มีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
บริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
กรุงเทพฯ และปริมณฑล
เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ออกประกาศ 09 ธันวาคม 2565
ตรวจสอบสภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า ได้ที่นี่ ก่อนใคร !!
กรมอุตุฯ คาดการณ์สภาพอากาศ 7 วัน ในช่วงระหว่างวันที่ 11-15 ธ.ค.นี้ มวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมไทย ภาคอีสานอุณหภูมิลดลง 3 - 5 องศา ส่วนภาคเหนือ-กลาง-กทม. คาดการณ์จะลดลงประมาณ 2 - 4 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศ คาดหมายอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า โดยในช่วงวันที่ 9 – 10 ธ.ค. 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 15 ธ.ค. 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน
ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณด้านตะวันออกของประเทศมาเลเซียจะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียลงสู่ช่องแคบมะละกา และทะเลอันดามันตอนล่าง ในช่วงวันที่ 9 - 12 ธ.ค. 2565 ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางและลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 9 - 10 ธ.ค. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่งทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 11 – 15 ธ.ค. 65 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิลดลง 3 – 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13 – 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 9 – 11 ธ.ค. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 15 ธ.ค. 65 อากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 – 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 9 - 11 ธ.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 – 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 9 – 12 ธ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 9 – 10 ธ.ค. 65 ส่วนในช่วงวันที่ 13 – 15 ธ.ค. 65 ตอนบนของภาคมีอากาศเย็นในตอนเช้า ตอนล่างของภาคมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 – 33 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 9 – 12 ธ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 9 – 10 ธ.ค. 65 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ในช่วงวันที่ 13 – 15 ธ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 – 33 องศาเซลเซียส
กรุงเทพฯ และปริมณฑล
ในช่วงวันที่ 9 – 11 ธ.ค. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 15 ธ.ค. 65 อากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
เกาะติดสภาพอากาศประจำวัน > คลิกที่นี่
ปัจจัยพื้นฐาน
ความกดอากาศที่มีกำลังแรงมักทำให้เกิดลมแรง ซึ่งฝุ่นละอองสามารถระบายได้ดีหากแต่ช่วงที่มีกำลังอ่อนลงมักจะทำให้มวลอากาศนิ่ง และเกิดปรากฏการณ์อากาศปิด (อินเวอร์ชั่น) ซึ่งอากาศไม่สามารถลอยตัวขึ้นในแนวดิ่งได้ตามปกติ และสามารถสังเกตเห็นได้ถึงสภาวะลมสงบหรือลมอ่อน ปัจจัยเช่นนี้ ทำให้ฝุ่นละอองที่่อยู่ในอากาศไม่สามารถระบายได้ และเกิดการสะสมในอากาศได้หลายวัน-หลายสัปดาห์ หรือนานกว่า (หากไม่มีฝนชะล้างออกไป) ในกรณีที่เกิดมีชั้นอินเวอร์ชั่นที่ความสูงระดับต่ำใกล้พื้นดิน หรือเพดานการลอยตัว ของอากาศต่ำลงจะทำให้ค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น (อัตราส่วนน้ำหนักต่อปริมาตรอากาศ) ซึ่งมักเกิดในเวลากลางคืนหรือเช้า ในทางกลับกันค่าความเข้มข้นนี้จะสามารถลดลงได้โดยที่ปริมาณอนุภาคไม่เปลี่ยนแปลงหากเพดานการลอยตัวของอากาศสูงขึ้น ซึ่งมักเกิดขึ้นในเวลากลางวันที่มีแสงแดดส่องถึงอันเป็นต้นกำเนิดของพลังงาน การลอยตัว การประเมินปริมาณฝุ่นละอองที่มีในอากาศในพื้นที่หนึ่งๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน มักจะมีการวัดคุณสมบัติทางเคมี เช่นค่าความเข้มข้น หรืออัตราส่วน น้ำหนักต่อปริมาตร (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ส่วนการประเมินปริมาณฝุ่นละอองที่มีในบรรยากาศรวมทั้งหมดตลอดชั้นบรรยากาศ มักจะมีการวัดคุณสมบัติทางฟิสิกส์ต่างๆ เช่น Aerosol Optical Thickness (AOT) เป็นต้น