svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"หมอยง" ยัน โควิดสายพันธุ์เดลตาครอนไม่มีจริง ไม่ต้องให้ความสำคัญ

02 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"หมอยง" ยันโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนไม่มีจริง ไม่ต้องให้ความสำคัญ ชี้ที่พบมากทั่วโลกเวลานี้เป็นสายพันธุ์ย่อย โอมิครอน BA.2.75 และ BQ.1.1

"หมอยง" ยัน โควิดสายพันธุ์เดลตาครอนไม่มีจริง ไม่ต้องให้ความสำคัญ

"หมอยง" ยัน โควิดสายพันธุ์เดลตาครอนไม่มีจริง ไม่ต้องให้ความสำคัญ

อีกหนึ่งบทความที่มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องเกี่ยวกับโควิด รายงานข่าวล่าสุด มาจากทางด้าน "หมอยง" หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า 

 

โควิด 19  การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ไขข้อเท็จจริง เดลตาครอน

 

การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัส เกิดขึ้นได้จากการค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กละน้อย ด้วยการเปลี่ยนพันธุกรรม และทำให้สร้างกรดอะมิโนเปลี่ยนแปลงไป
อย่างที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์จากแอลฟา เบตา เดลตา โอมิครอน เปลี่ยนแปลงบนยีนของหนามแหลม spike  

 

ทำให้ระบบภูมิต้านทานเปลี่ยนแปลง โอมิครอนยังเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยไปเป็นลูกหลาน BA.1 BA.2…BA.5.. 

 

เปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย ก็ยังเป็นโอมิครอนอยู่ สายพันธุ์โอมิครอน อยู่นานมากอยู่มา 1 ปีแล้ว การแยกสายพันธุ์ ดังแสดงในรูป 


ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มของสายพันธุ์อู่ฮั่นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน 

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อความอยู่รอดของไวรัส ที่ผ่านมาตัวที่แพร่พันธุ์ได้เร็ว ความรุนแรงน้อย ก็จะอยู่รอด 

 

และเกิดสายพันธุ์ใหม่ เรื่อยมา อัตราการเสียชีวิตก็ลดลงมาโดยตลอด

 

"หมอยง" ยัน โควิดสายพันธุ์เดลตาครอนไม่มีจริง ไม่ต้องให้ความสำคัญ

การเปลี่ยนแปลงชนิดที่ 2 เป็นการแลกชิ้นส่วนต่างสายพันธุ์ หรือผสมส่วน ที่เรียกว่า recombination 

 

เราพบได้เห็นในไวรัสหลายชนิดเช่น ไวรัสที่ทําให้เกิดโรคมือเท้าปาก ไวรัสท้องเสีย norovirus เกิดได้จากการที่มีไวรัส 2 สายพันธุ์ติดเชื้อในผู้ป่วยคนคนเดียวกัน 

 

แล้วไปแลกชิ้นส่วนกัน เกิดเป็นลูกผสม หัวเป็น สายพันธุ์หนึ่ง หางเป็นสายพันธุ์หนึ่ง 

"หมอยง" ยัน โควิดสายพันธุ์เดลตาครอนไม่มีจริง ไม่ต้องให้ความสำคัญ

ดังนั้น เดลตาครอน จะเกิดได้ จะต้องมีผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา ร่วมกับ โอมิครอน 

จึงจะเกิดลูกผสม เดลตาครอน แต่ขณะนี้ แทบจะไม่พบสายพันธุ์เดลตา จะเกิดลูกผสม เดลตาครอนได้อย่างไร เมื่อไม่มีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ คิดแบบง่ายๆ

 

มีการพูดถึงเดลตาครอน จะเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็กๆของสายพันธุ์เดลตาที่มีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนคล้ายคลึงกับสายพันธุ์เดลตา ในสายพันธุ์ โอมิครอน

 

เชื่อว่าไม่ได้เป็นการแลกชิ้นส่วนกัน และตั้งชื่อเป็น XBC และทางองค์การอนามัยโลกก็ไม่ได้มีการกำหนดชื่อใหม่หรือสายพันธุ์ใหม่ว่าเป็น เดลตาครอน หรือให้ความสำคัญแต่อย่างใด 


ตอนนี้ก็ยังมีแต่แอลฟา เดลตา โอมิครอน และมีสายพันธุ์ย่อยตามที่เราคุ้นหูกัน 
ใครจะเรียก เดลตาครอน ขณะนี้ก็ไม่ได้มีความสำคัญอะไร การรายงานเข้าไปในธนาคารรหัสพันธุกรรม GISAID สายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้เป็นสายพันธุ์เด่นอะไรเลย 

 

และไม่มีความสำคัญในขณะนี้ไม่ว่าในอัตราการแพร่กระจายที่พบ หรือความรุนแรงที่พบ 

 

สายพันธุ์ที่พบมากทั่วโลกขณะนี้ เป็นสายพันธุ์ย่อย โอมิครอน BA.2.75 และ BQ.1.1 

"หมอยง" ยัน โควิดสายพันธุ์เดลตาครอนไม่มีจริง ไม่ต้องให้ความสำคัญ

บ้านเราขณะนี้เป็น BA.2.75 และก็คงจะตามมาด้วย BQ.1.1 ในอนาคตอันใกล้ ดังแสดงในรูปของ GISAID


"หมอยง" ยัน โควิดสายพันธุ์เดลตาครอนไม่มีจริง ไม่ต้องให้ความสำคัญ

 

"เดลตาครอน" จะเบียด โอไมครอน เข้ามาก่อปัญหาได้หรือไม่ ?

 

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ได้อธิบายถึง ไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง "เดลตา" และ "โอไมครอน BA.2" ที่มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "เดลตาครอน" พบระบาดในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย ทั้งยังพบแพร่ติดต่อหลายประเทศในอาเซียน แต่ยังไม่พบอาการที่รุนแรง

เดลตาครอนสายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง "เดลตา" และ "โอไมครอน BA.2" ทั่วโลกพบประมาณ 4 สายพันธุ์หลัก ปริมาณแต่ละสายพันธุ์อยู่ในระดับหลักร้อย คือ

1. XAY และสายพันธุ์ย่อย XAY.1, XAY.2

2. XBA

3. XBC และสายพันธุ์ย่อย XBC.1, XBC.2 และ XBC.3 

4. XAW  

แม้ว่า XBC มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าเดลตาครอนสายพันธุ์ลูกผสมอื่น แต่มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดใกล้เคียงกับ BA.5, BA.2.75, XBB และ BQ.1 ดังนั้นจึงไม่ง่ายนักที่ "เดลตาครอน" XBC จะระบาดแซงหน้าบรรดาไวรัสโคโรนาที่มีการระบาด ในประเทศไทยมาก่อนหน้า (BA.5,BA.2.75,XBB,XBB.1,BN.1,BF.7, BQ.1,BQ.1.1.10, CH.1.1)

"หมอยง" ยัน โควิดสายพันธุ์เดลตาครอนไม่มีจริง ไม่ต้องให้ความสำคัญ

จากการทดลองในหลอดทดลองพบว่า ยาฉีดแอนติบอดีสร้างภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป เช่น อีวูชิลด์ ( Evusheld ) สามารถเข้าจับและยับยั้งการเพิ่มจำนวนของสายพันธุ์ BA.5, BA.2.75, BN.1 และ เ"เดลตาครอน" XBC ได้ แต่สำหรับสายพันธุ์ XBB,XBB.1,BQ.1,BQ.1.1 พบว่าดื้อต่อแอนติบอดีสร้างภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป เกือบทุกชนิด


การแพร่ระบาด "เดลตาครอน" สายพันธุ์ลูกผสมทั่วโลก

จากข้อมูลจากฐานข้อมูล โควิด โลก "กิสเสด (GISAID)" พบ "เดลตาครอน" สายพันธุ์ลูกผสมทั่วโลก


1. "เดลตาครอน" XAY และสายพันธุ์ย่อย มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.5 ประมาณ 38%

  • XAY   พบจำนวนประมาณ 30 ราย    
  • XAY.1 พบจำนวนประมาณ 20 ราย
  • XAY.2 พบจำนวนประมาณ 20 ราย

 

2. XBA จำนวนประมาณ 6 ราย ความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด น้อยกว่า BA.5 ประมาณ -15%

 

3. "เดลตาครอน" XBC และสายพันธุ์ย่อย มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.5 ประมาณ 45%

  • XBC จำนวนประมาณ 25 ราย
  • XBC.1 จำนวนประมาณ 147 ราย
  • XBC.2 จำนวนประมาณ 132 ราย
  • XBC.3 จำนวนประมาณ 170 ราย

 

4. "เดลตาครอน" XAW มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.5  ประมาณ 1%

  • XAW จำนวนประมาณ 48 ราย

"หมอยง" ยัน โควิดสายพันธุ์เดลตาครอนไม่มีจริง ไม่ต้องให้ความสำคัญ

XBC มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.5 และ BA.2.75 ประมาณ 18% และ 35%

XBB มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า XBC ประมาณ 41% 

BQ.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า XBB ประมาณ 9%

 

ขอขอบคุณที่มา  : Yong Poovorawan / Center for Medical Genomics

 

logoline