svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เคลียร์ชัด !! ติดเชื้อโควิด ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ต้องทำอย่างไร 

29 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชวนคอข่าว ไขข้อสงสัยกับคำถามคาใจในช่วงนี้ ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 ผู้ป่วยแต่ละสิทธิการรักษาทำอย่างไร ต้องรักษาตัวที่ไหน อ่านตรงนี้มีคำตอบ

เมื่อ "ตรวจ atk ขึ้น 2 ขีด" รู้ตัวว่าติด โควิด-19 ต้องทำอย่างไร ติดต่อหน่วยงานไหน ??

วันนี้ เนชั่นออนไลน์ มีช่องทางมาให้รับทราบและคำตอบ พร้อมแนวทางในการดูแลตนเอง เช็กรายละเอียดได้ตรงนี้ ก่อนใคร !!

 

เปิดคำถามคาใจ ตรวจ ATK แล้วผลขึ้นแสดง 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 ช่วงนี้ ต้องปฏิบัติตนอย่างไร รักษาตัวได้ที่ไหน? 

เคลียร์ชัด !! ติดเชื้อโควิด ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ต้องทำอย่างไร 

เปิดประเดิมกันที่ เพจดัง กรุงเทพมหานคร โพสต์ให้คำตอบ สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 และประชาชนทั่วไป ได้เคลียร์ข้อสงสัยกันตรงนี้ สำหรับแนวทางการดูแล การรักษาตัวและข้อควรปฏิบัติตนหากตรวจ ATK แล้วพบ 2 ขีดหรือ หากคุณติดโควิด-19 ต้องทำอย่างไร 

ถึงปัจจุบันโรค โควิด19 จะถูกประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 แต่ก็ไม่วายยังมีคนติดเชื้ออยู่อยู่รอบ ๆ ตัวเราเพิ่มขึ้นมาซะอย่างนั้น ซ้ำยังเป็นคนที่เพิ่งติดครั้งแรก วันนี้เลยจะมาบอกวิธีที่จำเป็นต้องทำเมื่อ "ตรวจ atk ขึ้น 2 ขีด" 

เคลียร์ชัด !! ติดเชื้อโควิด ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ต้องทำอย่างไร 

ขอขอบคุณที่มา เพจกรุงเทพมหานคร >>

เคลียร์ชัด !! ติดเชื้อโควิด ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ต้องทำอย่างไร 

เคลียร์ชัด !! ติดเชื้อโควิด ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ต้องทำอย่างไร 

 

"ตรวจ atk ขึ้น 2 ขีด" ติดต่อที่ไหน? 

แนวทางการรักษา สิทธิที่สามารถใช้งานได้ 


สิทธิบัตรทอง ติดต่อได้ที่

  • ศูนย์บริการสาธารณสุข
  • คลินิกชุมชนอบอุ่น
  • หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล ตามนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่
  • สถานพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้
  • ร้านยาในโครงการ "เจอ แจก จบ"

 

สิทธิประกันสังคม ติดต่อได้ที่
 
สถานพยาบาล​คู่สัญญา​ในระบบประกันสังคม
 

สิทธิ​ ข้าราชการ
 
สถานพยาบาล​ของรัฐทุกแห่ง
 

"ตรวจ atk ขึ้น 2 ขีด" สามารถติดต่อสอบถามตามช่องทางได้ดังนี้ 

โทร. สายด่วน 1669 กด 2
สายด่วน สปสช. 1330 กด 14 สำหรับประชาชนทั่วไป และ กด 18 สำหรับกลุ่ม 608, ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการ

 

ประชาชนผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง 30 บาท หากเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 สามารถใช้สิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยผู้ป่วยกลุ่มไม่มีอาการหรือเจ็บป่วยเล็กน้อยสามารถรับบริการรับยาที่ร้านยา, บริการโควิด-19 ด้วยระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ผ่าน 4 แอปพลิเคชั่น และบริการปฐมภูมิทุกที่ได้ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขอให้เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลตามสิทธิ

สำหรับ 4 ช่องทางบริการเพื่อดูแลผู้ป่วยโควิดสิทธิบัตรทอง มีดังนี้

1.สถานพยาบาลตามสิทธิ หรือหน่วยบริการประจำ ตรวจสอบสิทธิและรายชื่อได้ที่ https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml

2.หน่วยบริการปฐมภูมิทุกที่ ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข (พื้นที่ กทม.), คลินิกชุมชนอบอุ่น, สถานีอนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.), หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นต้น ดูรายชื่อได้ที่เว็บไซต์ สปสช. https://www.nhso.go.th/page/hospital เลือกประเภทการขึ้นทะเบียนที่ระบุว่า บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป หรือ หน่วยบริการประจำ

3.รับยาที่ร้านยา เฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว ดูรายชื่อร้านยาที่เข้าร่วมได้ที่ https://www.nhso.go.th/downloads/197

4.ดูแลด้วยระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ผ่าน 4 แอปพลิเคชันสุขภาพด้วยบริการ “COVID-19 Telemedicine” โดยใช้บริการเพียงแอปพลิเคชันเดียว ดังนี้

1.แอปพลิเคชันClicknic รับผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มสีเขียวและกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรังโรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์) ลงทะเบียนที่ https://forms.gle/hfo2Wr9jdvybn8d57 สอบถามเพิ่มเติม ไลน์ไอดี : @clicknic

2.แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) รับผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ เฉพาะกลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ลงทะเบียนที่ https://form.typeform.com/to/cNKqNz3p สอบถามเพิ่มเติม ไลน์ไอดี: @mordeeapp

3.แอปพลิเคชัน GoodDoctor Technology รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และชลบุรี เท่านั้น ลงทะเบียนที่ https://forms.gle/YKVMKy1p8FRDDBje7 สอบถามเพิ่มเติม ไลน์ไอดี : @gdtt

4.แอปพลิเคชัน TotaleTelemed รับผู้ป่วยโควิด-19 ทุกประเภท เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ กลุ่ม 608 ทั่วประเทศ โดย บริษัท โททอลเล่เทเลเมด คลิกไลน์ https://lin.ee/a1lHjXZn สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @totale หรือสายด่วน 0620462944, 0618019577


 

สรุปให้แบบทางลัด "สิทธิประกันสังคม" 

ติดต่อได้ที่

- สถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคม

ผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคโควิด-19 ให้เข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลตามสิทธิ

สิทธิข้าราชการ

- สถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง

ติดต่อสอบถาม 

โทร. สายด่วน 1669 กด 2

หรือ สายด่วน สปสช. 1330 กด 14 สำหรับประชาชนทั่วไป และ กด 18 สำหรับกลุ่ม 608, ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการ
เคลียร์ชัด !! ติดเชื้อโควิด ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ต้องทำอย่างไร 

 

ล่าสุด นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยืนยันผู้ป่วยโควิด-19 ยังรักษาฟรี! ตามสิทธิเหมือนเดิม แม้โรคโควิดจะเข้าสู่โรคประจำถิ่นตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 65 เป็นต้นไป แต่จะมีการปรับแนวทางการจ่ายค่าบริการสาธารณสุขโรคโควิด-19 ทั้งนี้ บอร์ด สปสช.จะพิจารณาในวันที่ 4 ก.ค.65 ซึ่งประชาชนกลุ่มเสี่ยงโควิดยังขอรับชุดตรวจ ATK ที่ร้านขายยาใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการผ่านแอปเป๋าตังได้ เมื่อตรวจแล้วติดเชื้อกลุ่มที่มีอาการไม่มากหรือกลุ่มสีเขียวเข้ารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกแบบเจอแจกจบตามสิทธิรักษา ส่วนกลุ่ม608 หรือมีอาการรุนแรง จะต้องพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษา หากเกิดอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินตามเกณฑ์สีเหลือง-แดง ยังใช้สิทธิ UCEP Plus เข้ารักษาโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 

เคลียร์ชัด !! ติดเชื้อโควิด ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ต้องทำอย่างไร 

นางสาวรัชดา กล่าวต่อว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ขณะนี้ สถานการณ์ลดความรุนแรงลง ซึ่งระบบสาธารณสุขมีศักยภาพรองรับได้ แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีโรคเกิดขึ้น อาจมีเป็นคลัสเตอร์ขึ้นมาบ้างแล้วลดลงไป ทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างเหมาะสม มีระบบเฝ้าระวังและเตรียมการรักษาพยาบาล  สำหรับข้อกำหนดของ ศบค. เรื่องผ่อนคลายข้อปฏิบัติในการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทั่วราชอาณาจักร ที่ให้การสวมหรือถอดหน้ากากเป็นตามความสมัครใจนั้น ยังมีสถานที่ที่ต้องใส่หน้ากากอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อหรือรับเชื้อ ได้แก่ สถานที่นอกอาคารที่มีความแออัดมีการรวมกลุ่มคนจํานวนมาก ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้ หรืออากาศระบายถ่ายเทไม่ดี เช่น ขนส่งสาธารณะ ตลาด สนามกีฬาหรือสถานที่แสดงดนตรีที่มีผู้ชม เป็นต้น ส่วนสถานที่ภายในอาคารที่ต้องสวมหน้ากาก เช่น บนเครื่องบิน รถไฟฟ้าบีทีเอส โรงเรียนและสถานศึกษาที่เป็นที่ปิด เป็นต้น แต่หากมีการจัดกิจกรรมในที่โล่งแจ้งก็สามารถผ่อนปรนการสวมหน้ากากได้

 

“นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำถึงการดูแลสุขภาพของประชาชนต้องให้ทั่วถึงทุกกลุ่ม รัฐบาลจะไม่ทอดทิ้งประชาชนอย่างแน่นอน หากป่วยด้วยโรคโควิด-19 ยังคงสามารถเข้ารักษาตามสิทธิสุขภาพของตน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เหมือนเดิม ขอให้ทุกคนเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขไทยที่ได้รับการยกย่องติดอันดับโลกมาโดยตลอด สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการรักษา คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง ดูแลสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง” นางสาวรัชดา กล่าว

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เพื่อให้การดูแลประชาชนผู้ติดเชื้อโควิด19 เป็นไปอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ตามข้อสังการนายกรัฐมนตรี ขณะนี้ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดระบบสำหรับผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม (อาการไม่รุนแรง) สามารถรับยาโควิด19 แบบเจอ-แจก-จบ จากร้านยาที่ร่วมโครงการกับ สปสช.ทั่วประเทศได้แล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เปิดรับเฉพาะผู้ป่วยโควิดสิทธิบัตรทองเท่านั้น
 
สำหรับขั้นตอนรับยาที่ร้านยา มีดังนี้
 
1.ผู้ที่ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด (ทั้งสิทธิประกันสังคมและสิทธิบัตรทอง 30 บาท) ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง ไม่ใช่ผู้พิการหรือผู้ป่วยติดเตียง และไม่ใช่กลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์)
 
2.โทรติดต่อร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อส่งผลตรวจ ATK คู่กับบัตรประชาชนผ่านไลน์ของร้านยา โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่ร้านยา
 
3.ร้านยาซักประวัติข้อมูลทั่วไป แนะนำและให้คำปรึกษาการใช้ยา
 
4.ไม่มีการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ ผู้ป่วยไม่ควรมารับยาที่ร้านเอง แนะนำให้ญาติหรือคนอื่นมารับแทน

เคลียร์ชัด !! ติดเชื้อโควิด ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ต้องทำอย่างไร   
ทั้งนี้ ผู้ป่วยโควิดทั้งสิทธิประกันสังคมและสิทธิบัตรทอง สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านยาที่เข้าร่วมโครงการกับ สปสช. ได้ที่ https://www.nhso.go.th/downloads/197 

การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 นับตั้งแต่วันที่1 ต.ค. เป็นต้นไป ที่ได้ปรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยืนยันการรักษาพยาบาลได้ตามสิทธิฟรี ครอบคลุมทั้งสิทธิบัตรทอง สิทธิข้าราชการ และสิทธิประกันสังคม โดยเป็นการดูแลรักษาตามอาการและตามดุลยพินิจแพทย์ รายละเอียดมีดังนี้ 

1.การรักษาแบบเจอ แจก จบ กรณีไม่มีอาการ ยังคงรับการรักษาในรูปแบบของเทเลเฮลธ์ผ่าน 4 แอปพลิเคชันได้ตามปกติ โดยพบแพทย์ทางไกล วินิจฉัยอาการ และจัดส่งยาทางไปรษณีย์  

2.สามารถรับยารักษาโควิดตามอาการที่ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการกับ สปสช. ดูรายชื่อร้านยาที่เข้าร่วมโครงการได้ที่  https://www.nhso.go.th/downloads/197

3.ยกเลิกการแจกชุดตรวจ ATK ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง หากไปโรงพยาบาลแล้วแพทย์พิจารณาให้ตรวจคัดกรอง จะไม่มีค่าใช้จ่าย 

4.ผู้ป่วยที่มีอาการหนักสามารถรับการรักษาเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลตามสิทธิ

5.การใช้สิทธิ UCEP Plus กระทรวงสาธารณสุขปรับปรุงหลักเกณฑ์ UCEP Plus ใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65 โดยกำหนดให้เฉพาะผู้ป่วยโควิดที่มีอาการเจ็บป่วยวิกฤต (สีแดง) สามารถใช้สิทธิ UCEP Plus เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทุกแห่งได้ และไม่มีเงื่อนไข 72 ชั่วโมงแรก ซึ่งต้องมีอาการเจ็บป่วยวิกฤตตามเกณฑ์ UCEP Plus เช่น มีภาวะหัวใจหยุดเต้น ทางเดินหายใจอุดกั้น หายใจหอบเหนื่อย มีภาวะที่ทำให้อาการระบบทางเดินหายใจรุนแรง ไม่สามารถหายใจได้ มีภาวะช็อก ความดันโลหิตต่ำ หรืออาการอื่นๆ ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนผู้ป่วยโควิด19 อาการสีเหลือง เช่น กลุ่ม 608 ที่ไม่มีอาการ จะไม่ครอบคลุมสิทธิ UCEP Plus แต่สามารถเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลตามสิทธิสุขภาพของตนได้

ทั้งนี้ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) มีศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต เป็นหน่วยประสานระหว่างประชาชนและสถานพยาบาล ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและให้ข้อมูล สอบถามโทร.0-2872-1669


ใครเพิ่งหายป่วย "โควิด-19" สำรวจตัวเองเป็นแบบนี้ไหม? เมื่องานวิจัยใหม่พบว่า ผู้ที่มีภาวะ "Long COVID" มีปัญหาด้านการนอนหลับราว 1 ใน 4 อีกทั้ง 53.4% ของกลุ่มทดลอง มีปัญหาด้านความคิดความจำแย่ลง

ช่วงนี้คนไทยต้องตั้งการ์ดสูง เพราะโควิด-19 กลับมาระบาดอีกครั้ง (Small wave) แม้หลายคนจะได้รับวัคซีนแล้วแต่ก็มีโอกาสติดได้ และอย่าลืมว่าหลังหายป่วยโควิดจะมีอาการ "Long Covid" ตามมาอีกหลายเดือน ซึ่งส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันไม่น้อย

แถมล่าสุดมีการศึกษาชิ้นใหม่ที่สำรวจจากกลุ่มผู้ร่วมทดสอบ พบว่า ผู้ที่มีภาวะ Long Covid มีปัญหาด้านการนอนมากถึง 1 ใน 4 ทั้งนอนไม่หลับ และนอนหลับมากผิดปกติ และกว่าครึ่งมีปัญหาความจำและความคิดแย่ลง แบ่งเป็น

22.2% ของกลุ่มผู้ทดสอบ เกิดอาการนอนไม่หลับ
3.1% ของกลุ่มผู้ทดสอบ มีปัญหานอนมากกว่าปกติ
53.4% ของกลุ่มผู้ทดสอบ มีปัญหาด้านความคิดความจำที่แย่ลง


โดยรายงานข้างต้น รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ นำมาเผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว “Thira Woratanarat” พร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่า ผลการศึกษาข้างต้น หัวหน้าวิจัยอย่าง Moura AEF และทีมวิจัยจากบราซิล ได้ทำการวิจัยแบบติดตามประเมินกลุ่มผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และประสบภาวะ Long COVID จำนวน 189 คน จนได้ข้อมูลผลสำรวจชิ้นนี้ออกมา

เคลียร์ชัด !! ติดเชื้อโควิด ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ต้องทำอย่างไร 

ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวก็สอดคล้องกับสิ่งที่พบในปัจจุบัน นั่นคือ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาทั้งเรื่อง "นอนไม่หลับ" รวมถึงปัญหาด้านความคิดความจำ ซึ่งกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือการเรียนได้

ภาวะ Long COVID นั้นเกิดได้กับทุกเพศทุกวัยไม่ว่าจะติดเชื้อแบบไม่มีอาการ อาการน้อย หรืออาการมาก อีกทั้งผู้ใหญ่เสี่ยงกว่าเด็ก และเพศหญิงเสี่ยงกว่าเพศชาย โดยอาการผิดปกติจากภาวะ Long COVID นั้น เกิดขึ้นได้ทุกระบบในร่างกาย และส่งผลให้เกิดปัญหาโรคเรื้อรังตามมาในระยะยาวได้

ขณะที่งานวิจัยจาก NYU Grossman School of Medicine ที่เผยแพร่ในวารสาร Journal of the Neurological Sciences (JNS) เมื่อเร็วๆ นี้ ก็ระบุถึงผลกระทบของ Long COVID ที่ส่งผลต่อการนอนหลับที่แย่ลงเช่นกัน

โดยนักวิจัยพบว่า 50% ของผู้ป่วยกลุ่มวัยผู้ใหญ่ที่มี “ความเครียดในชีวิตอยู่แล้ว” หลังจากติดโควิดและมีอาการลองโควิด จะมีแนวโน้มอย่างน้อย 2 เท่าที่จะเกิด ภาวะซึมเศร้า โรคสมองฝ่อ ความเหนื่อยล้า ปัญหาการนอนหลับ และอาการอื่นๆ ในระยะยาว

จากการติดตามผลกับผู้ป่วยโควิด 790 ราย หลังหายจากโควิดในระยะเวลา 6 เดือนและ 12 เดือน (1 ปี) พบว่าผู้เข้าร่วมทดสอบรายงานว่า พวกเขามีความเครียดในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญหลังต้องเผชิญภาวะ Long COVID ในระยะเวลา 12 เดือน

โดยปัจจัยที่ทำให้พวกเขาเกิดความเครียดและกังวลมากขึ้น ได้แก่ ตกงาน, ความไม่มั่นคงทางการเงิน, ปัญหาปากท้อง, การเสียชีวิตของผู้สัมผัสใกล้ชิด, ความพิการที่เกิดขึ้นใหม่ (อาการรุนแรงจากการป่วยโควิดจนระบบร่างกายเสียหาย)

ศาสตราจารย์ Jennifer A. Frontera หัวหน้าวิจัยจากภาควิชาประสาทวิทยา NYU Langone Health กล่าวว่า “การรักษาลองโควิด ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาเชิงบำบัดที่ช่วยลดความบอบช้ำจากเหตุการณ์ในชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียด แต่ทั้งนี้ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของแนวทางให้ที่ดีที่สุด”

นอกจากนี้ในการศึกษาซ้ำครั้งที่สอง ทีมนักวิจัยพบว่าผู้ที่มีภาวะ Long COVID มีอาการของกลุ่มโรคที่ระบุใหม่ 3 กลุ่มคือ

กลุ่มที่ 1: มีอาการเล็กน้อย (ส่วนใหญ่ปวดศีรษะ) เข้ารับการรักษาเพียงเล็กน้อยก็หาย

กลุ่มที่ 2: อาการหลายอย่าง เช่น วิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านอาการซึมเศร้าและจิตบำบัด

กลุ่มที่ 3: อาการทางปอดเป็นหลัก เช่น หายใจถี่ หายใจไม่อิ่ม ปวดศีรษะ ความคิดความจำแย่ลง ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาบำบัดทางกายภาพ

จากการวิเคราะห์พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด คือ กลุ่มอาการที่ 2 ซึ่งมีอัตราความพิการสูงขึ้น มีความวิตกกังวล ซึมเศร้า เหนื่อยล้า และการนอนหลับแย่ลง โดย 97% ของผู้ป่วยกลุ่มอาการดังกล่าวเมื่อได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทางจิตเวชรายงานว่าพวกเขาอาการดีขึ้นจริง

ดังนั้น วิธีหลีกเลี่ยงภาวะLong COVID ที่ดีที่สุด คงหนีไม่พ้นการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อโควิดหรือไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ อีกทั้งการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบตามกำหนด ก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะป่วยรุนแรง การเสียชีวิต และลดความเสี่ยงของภาวะลองโควิดได้

--------------------

อ้างอิง : BioMedCentral, รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์, ScienceDaily 

 

logoline