เพิ่ม nation online
ลงในหน้าจอหลักของคุณ
กรมอุตุนิยมวิทยา "พยากรณ์อากาศ" 24 ชั่วโมงข้างหน้า" ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม
"พยากรณ์อากาศ" ระบุต่อว่า
ทั้งนี้ เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมทะเลอันดามันตอนบนประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สำหรับอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้
"พยากรณ์อากาศ" สำหรับประเทศไทย จนถึงวันพรุ่งนี้แบบรายภูมิภาค มีดังนี้
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
เช็กสภาพอากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า >> คลิกที่นี่
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
กรุงเทพฯ และปริมณฑล
ตรวจสอบ สภาพอากาศ "พยากรณ์อากาศ 7 วัน" แบบรายภาค
คาดหมายอากาศทั่วไป
วันที่ 26 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2565
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. – 2 ธ.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
ออกประกาศ 26 พฤศจิกายน 2565 11:00 น.
คาดหมายอากาศรายภาค
วันที่ 26 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2565
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 27 – 30 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักในวันที่ 30 พ.ย.65
ในช่วงวันที่ 1 – 2 ธ.ค. 65 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 27 – 30 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักในวันที่ 30 พ.ย.65
ส่วนในช่วงวันที่ 1 – 2 ธ.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 27 –29 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. – 2 ธ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
ในวันที่ 26 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 27 พ.ย. – 2 ธ.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 34 องศาเซลเซียส
กรุงเทพฯและปริมณฑล
ในช่วงวันที่ 27 – 30 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักในวันที่ 30 พ.ย.65
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 1– 2 ธ.ค. 65 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1 – 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 33 องศาเซลเซียส
ออกประกาศ 26 พฤศจิกายน 2565 11:00 น.
จับตาค่าฝุ่น
ปัจจัยพื้นฐาน
ความกดอากาศที่มีกำลังแรงมักทำให้เกิดลมแรง ซึ่งฝุ่นละอองสามารถระบายได้ดีหากแต่ช่วงที่มีกำลังอ่อนลงมักจะทำให้มวลอากาศนิ่ง และเกิดปรากฏการณ์อากาศปิด (อินเวอร์ชั่น) ซึ่งอากาศไม่สามารถลอยตัวขึ้นในแนวดิ่งได้ตามปกติ และสามารถสังเกตเห็นได้ถึงสภาวะลมสงบหรือลมอ่อน ปัจจัยเช่นนี้ ทำให้ฝุ่นละอองที่่อยู่ในอากาศไม่สามารถระบายได้ และเกิดการสะสมในอากาศได้หลายวัน-หลายสัปดาห์ หรือนานกว่า (หากไม่มีฝนชะล้างออกไป)
ในกรณีที่เกิดมีชั้นอินเวอร์ชั่นที่ความสูงระดับต่ำใกล้พื้นดิน หรือเพดานการลอยตัว ของอากาศต่ำลงจะทำให้ค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น (อัตราส่วนน้ำหนักต่อปริมาตรอากาศ) ซึ่งมักเกิดในเวลากลางคืนหรือเช้า ในทางกลับกันค่าความเข้มข้นนี้จะสามารถลดลงได้โดยที่ปริมาณอนุภาคไม่เปลี่ยนแปลงหากเพดานการลอยตัวของอากาศสูงขึ้น ซึ่งมักเกิดขึ้นในเวลากลางวันที่มีแสงแดดส่องถึงอันเป็นต้นกำเนิดของพลังงาน การลอยตัว การประเมินปริมาณฝุ่นละอองที่มีในอากาศในพื้นที่หนึ่งๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน มักจะมีการวัดคุณสมบัติทางเคมี เช่นค่าความเข้มข้น หรืออัตราส่วน น้ำหนักต่อปริมาตร (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ส่วนการประเมินปริมาณฝุ่นละอองที่มีในบรรยากาศรวมทั้งหมดตลอดชั้นบรรยากาศ มักจะมีการวัดคุณสมบัติทางฟิสิกส์ต่างๆ เช่น Aerosol Optical Thickness (AOT) เป็นต้น
ตรวจสอบสภาพอากาศ 7 วันข้างหน้า >> คลิกตรงนี้