svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รู้จัก "เดลตาครอน" โควิดลูกผสมคืออะไร น่ากลัวแค่ไหน "หมอเฉลิมชัย" มีคำตอบ 

17 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รู้จัก "เดลตาครอน" โควิดลูกผสม คืออะไร? น่ากลัวแค่ไหน "หมอเฉลิมชัย" รวบรวมข้อมูลไว้ให้ครบถ้วน ติดตามอ่านได้ในตรงนี้ คุณหมอคนดัง พร้อมไขคำตอบ 

"ไวรัส Deltacron (เดลตาครอน) กลับมาพูดถึงกันอีกรอบ น่ากลัวมากน้อยเพียงใด การที่ไวรัสโคโรนาลำดับที่เจ็ด ซึ่งก่อโรคโควิด-19 เป็นไวรัสชนิดสารพันธุกรรมเดี่ยวหรืออาร์เอ็นเอ (RNA) จึงมีการกลายพันธุ์เป็นธรรมชาติต่อเนื่องกันมาตลอดเวลา..."

 

รู้จัก "เดลตาครอน" โควิดลูกผสมคืออะไร น่ากลัวแค่ไหน "หมอเฉลิมชัย" มีคำตอบ 

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" 

โดยมีเนื้อหาระบุว่า 

ไวรัส Deltacron (เดลตาครอน) กลับมาพูดถึงกันอีกรอบ น่ากลัวมากน้อยเพียงใด
การที่ไวรัสโคโรนาลำดับที่เจ็ด ซึ่งก่อโรคโควิด-19 เป็นไวรัสชนิดสารพันธุกรรมเดี่ยวหรืออาร์เอ็นเอ (RNA) จึงมีการกลายพันธุ์เป็นธรรมชาติต่อเนื่องกันมาตลอดเวลา


ในช่วงสามปีที่มีการระบาดของโควิด พบว่ามีการกลายพันธุ์ไปทั้งสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อย นับ 100 นับ 1000 สายพันธุ์แล้ว
เฉพาะ Omicron (โอมิครอน) อย่างเดียว ก็มีสายพันธุ์ย่อยมากกว่า 500 สายพันธุ์ สายพันธุ์หลักๆที่พวกเราคุ้นเคยกันดีได้แก่ สายพันธุ์อู่ฮั่น สายพันธุ์อัลฟ่า สายพันธุ์เดลต้า และสายพันธุ์โอมิครอน


ในช่วงปลายปี 2564 ซึ่งมีไวรัสสายพันธุ์เดลต้าระบาดเป็นหลัก และเกิดไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนขึ้นมาซ้อนทับกัน จึงทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดไวรัสลูกผสมระหว่างเดลต้ากับโอมิครอนได้


โดยในต้นเดือนมกราคม 2565 มีนักชีววิทยาชาวไซปรัสรายงานการพบเดลตาครอน (Deltacron : Delta+Omicron) เป็นครั้งแรก แต่หลังจากที่มีการตรวจสอบทางวิชาการแล้ว ก็พบว่าเป็นการปนเปื้อนทางห้องปฏิบัติการ

รู้จัก "เดลตาครอน" โควิดลูกผสมคืออะไร น่ากลัวแค่ไหน "หมอเฉลิมชัย" มีคำตอบ 

ถัดมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 หน่วยงานหลักของอังกฤษ (UKHSA : United Kingdom Health Security Agency) ก็ได้ประกาศเป็นครั้งแรกว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตาครอนจริง แต่ไม่ได้มีความรุนแรงอะไร
หลังจากนั้นในเดือนมีนาคมต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ก็มีการรายงานพบไวรัสเดลตาครอน ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส และในสหรัฐอเมริกา

ในช่วงหลัง มีข้อมูลจากสหรัฐอเมริกาหลายหลายงานด้วยกัน ที่ยืนยันการพบไวรัสเดลตาครอน
โดยรายงานที่หนึ่ง เป็นการตรวจตัวอย่างของผู้ติดโควิด 29,719 ราย ในช่วงพฤศจิกายน 2564 ถึงกุมภาพันธ์ 2565 พบเพียง 2 รายที่เป็นไวรัสเดลตาครอน และไม่ได้มีลักษณะที่รุนแรงแตกต่างไปจากไวรัสโอมิครอนแต่อย่างใด

อีกรายงาน เป็นการตรวจข้อมูลของผู้ติดเชื้อ 1.8 ล้านตัวอย่าง ตั้งแต่มกราคม 2564 โดยได้ตัดประเด็นที่เกิดจากการปนเปื้อนในห้องแล็บ (Laboratory Contamination) กรณีติดเชื้อสองชนิดพร้อมกัน (Co-infection) และการผิดพลาดอื่นๆ ก็พบว่ามี "ไวรัสเดลตาครอน" บ้างประปราย และทำนองเดียวกันคืออาการก็ไม่ได้รุนแรงกว่าโอมิครอน

รู้จัก "เดลตาครอน" โควิดลูกผสมคืออะไร น่ากลัวแค่ไหน "หมอเฉลิมชัย" มีคำตอบ 

รู้จัก "เดลตาครอน" โควิดลูกผสมคืออะไร น่ากลัวแค่ไหน "หมอเฉลิมชัย" มีคำตอบ 

จนกระทั่งล่าสุด ในวารสารการแพทย์ NEJM ก็ได้มีจดหมายถึงบรรณาธิการ จากศูนย์การแพทย์ที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอ (Ohio State University)

ได้ทำการตรวจหาระดับความดื้อต่อภูมิคุ้มกันของไวรัส ระหว่างเดลต้าครอน กับโอมิครอนสายพันธุ์อื่นๆคือ BA.1 และ BA.2 ก็สรุปว่าไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญมากนัก

กล่าวโดยสรุป

  • ไวรัสเดลตาครอน เป็นไวรัสลูกผสมระหว่างสายพันธุ์หลักเดลต้ากับโอมิครอน
  • หลังจากที่มีการพบมา 10 เดือนแล้ว ก็ยังไม่ได้มีจำนวนที่มากมาย แปลว่าความสามารถในการแพร่ระบาดไม่มากนัก
  • การดื้อต่อภูมิต้านทาน ไม่ว่าจะเป็นจากการฉีดวัคซีนหรือการติดเชื้อเองตามธรรมชาติ ก็ไม่ได้มากกว่าไวรัส โอมิครอน BA.1/BA.2

พบเชื้อโควิด ’Deltacron’ ลูกผสมระหว่าง ’Delta -Omicron’ ครั้งแรกใน’ไซปรัส’ 

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานการค้นพบของ ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพฯ และไวรัสโมเลกุล ว่าขณะนี้ได้ค้นพบ สายพันธุ์ของ โควิด-19 ที่รวมเดลตา (Delta ) และโอมิครอน (Omicron) ที่ผสมเข้าด้วยกันใช้ชื่อว่า "เดลตาครอน" (Deltacron) ในประเทศไซปรัสเป็นครั้งแรก

ย้อนไปเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2565 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานการค้นพบของ เลลอนดิออส คอสตริกิส (Leondios Kostrikis) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยไซปรัสและหัวหน้าห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพและไวรัสโมเลกุล ได้ให้สัมภาษณ์สื่อรายการทีวีช่องหนึ่งระบุว่า สายพันธุ์ของ โควิด-19 ที่รวมเดลตา (Delta) และโอมิครอน (Omicron) ที่ผสมเข้าด้วยกันถูกพบในไซปรัส  “เดลตาครอน” (Deltacron) เนื่องจากมีการระบุลายเซ็นทางพันธุกรรมเหมือนโอมิครอนภายในจีโนมเดลตา กรณีดังกล่าว 25 กรณีและการวิเคราะห์ทางสถิติแสดงให้เห็นว่าเชื้อ 2 ตัว ที่รวมพลังกันนั้นพบมากในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ลำดับทางทางพันธุกรรมของเคส “เดลตาครอน” ทั้ง 25 เคสถูกส่งไปยัง GISAID ฐานข้อมูลระหว่างประเทศที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงของไวรัสเมื่อวันที่ 7 มกราคม และยังต้องติดตามต่อไปว่าเชื้อนี้จะมีความร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงแค่ไหน !!

รู้จัก "เดลตาครอน" โควิดลูกผสมคืออะไร น่ากลัวแค่ไหน "หมอเฉลิมชัย" มีคำตอบ 

รู้จัก "เดลตาครอน" โควิดลูกผสมคืออะไร น่ากลัวแค่ไหน "หมอเฉลิมชัย" มีคำตอบ 

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เตือนทั่วโลกจับตา "เดลตาครอน XBC” ลูกผสมระหว่างเดลตา และโอมิ ครอน BA.2 พบโจมตีปอดแรงเท่าเดลตา แพร่เร็วเหมือนโอมิครอน พบระบาดฟิลิปปินส์ 193 คน ยังไม่พบในไทย

รายงานความเคลื่อนไหวล่าสุด (15 พ.ย. 2565) เฟซบุ๊กศูนย์ Center for Medical Genomics ของศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความระบุว่า เตือน “เดลตาครอน XBC” ลูกผสมระหว่าง “เดลตา” และ “โอมิครอน BA.2” พบระบาดในฟิลิปปินส์ 193 คน กลายพันธุ์ไปมากกว่า XBB และ BQ.1 พบแพร่ติดต่อหลายประเทศในอาเซียน แต่ยังไม่พบอาการรุนแรง

ศูนย์ข้อมูลจีโนมทางการแพทย์ ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจับตามอง เดลตาครอน โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด-19 ปลายปีที่ 3 ซึ่งโอมิครอนกำลังอ่อนกำลังลง และดูเหมือนเดลทาครอน หลายสายพันธุ์กำลังระบาดขึ้นมาแทนที่ เช่น XBC, XAY, XBA และ XAW

โดยเฉพาะเดลตาครอน “XBC” มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากโควิด19 สายพันธุ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” มากที่สุดถึงกว่า “130” ตำแหน่ง  จากการถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนมของเดลตาครอน พอจะประเมินได้ว่าเป็นไวรัสโควิด-19 ที่มีศักยภาพในการโจมตีปอดอย่างเดลตา และอาจแพร่ระบาดได้รวดเร็วเหมือนโอมิครอน

เมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา มีรายงานการตรวจพบเดลตาครอนในประเทศฟิลิปปินส์ ระยะหนึ่งจากนั้นได้สูญหายไป ไม่เกิดการระบาดรุนแรงขยายวงกว้าง แต่มาในช่วงปลายปี 2565 กลับพบเดลตาครอน ในประเทศฟิลิปปินส์อีกครั้งในรูปแบบของโควิดสายพันธุ์ XBC, XBA, XAY และ XAW ระบาดขึ้นมาใหม่

ชี้เดลตาครอน โจมตีปอด-แพร่เชื้อเร็ว
ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด (worst-case scenario) ลูกผสมเดลตา-โอมิครอนอาจมีอันตรายพอๆ กับสายพันธุ์เดลตา ซึ่งคร่าชีวิตผู้ที่ติดเชื้อไปประมาณ 3.4% ซึ่งสูงกว่าอัตราการเสียชีวิตของโอมิครอนเกือบสองเท่า ตามผลการศึกษาในปี 2565 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Reviews Immunology

นอกจากนี้ “เดลตาครอน”อาจมีความสามารถในการแพร่ติดต่อได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับโอมิครอน แต่การทำนายความรุนแรงของสายพันธุ์ลูกผสมหรือสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่เป็นเรื่องยาก เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่าเหตุใดโอมิครอนจึงดูเหมือนจะก่อโรคโควิด-19 ที่รุนแรงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเดลตา

ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าทำไมโควิด-19 จึงเปลี่ยนจาก “โรคทางเดินหายใจส่วนล่าง” ในช่วง 2 ปีแรกที่เดลตา และสายพันธุ์ก่อนหน้าระบาด มาเป็น “โรคทางเดินหายใจส่วนบน” ที่มีความรุนแรงลดลงในปีที่ 3 การเปลี่ยนแปลงอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนอกเหนือไปจากโปรตีนหนามซึ่งไวรัสใช้ในการเกาะติดเซลล์ของมนุษย์และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน

เตือนโควิดกลายพันธุ์ “เดลตาครอน XBC” โจมตีปอดแพร่เชื้อเร็ว
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เตือนทั่วโลกจับตา "เดลตาครอน XBC” ลูกผสมระหว่างเดลตา และโอมิ ครอน BA.2 พบโจมตีปอดแรงเท่าเดลตา แพร่เร็วเหมือนโอมิครอน พบระบาดฟิลิปปินส์ 193 คน ยังไม่พบในไทย
วันนี้ (15 พ.ย.2565) เฟซบุ๊กศูนย์ Center for Medical Genomics ของศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยา ลัยมหิดล โพสต์ข้อความระบุว่า เตือน “เดลตาครอน XBC” ลูกผสมระหว่าง “เดลตา” และ “โอมิครอน BA.2” พบระบาดในฟิลิปปินส์ 193 คน กลายพันธุ์ไปมากกว่า XBB และ BQ.1 พบแพร่ติดต่อหลายประเทศในอาเซียน แต่ยังไม่พบอาการรุนแรง

รู้จัก "เดลตาครอน" โควิดลูกผสมคืออะไร น่ากลัวแค่ไหน "หมอเฉลิมชัย" มีคำตอบ 

จากการถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนมของเดลตาครอน พอจะประเมินได้ว่าเป็นไวรัสโควิด-19 ที่มีศักยภาพในการโจมตีปอดอย่างเดลตา และอาจแพร่ระบาดได้รวดเร็วเหมือนโอมิครอน

เมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา มีรายงานการตรวจพบเดลตาครอนในประเทศฟิลิปปินส์ ระยะหนึ่งจากนั้นได้สูญหายไป ไม่เกิดการระบาดรุนแรงขยายวงกว้าง แต่มาในช่วงปลายปี 2565 กลับพบเดลตาครอน ในประเทศฟิลิปปินส์อีกครั้งในรูปแบบของโควิดสายพันธุ์ XBC, XBA, XAY และ XAW ระบาดขึ้นมาใหม่

สำหรับเมื่อต้นปี 65 ที่ผ่านมา มีรายงานการตรวจพบเดลตาครอน ในประเทศฟิลิปปินส์ระยะหนึ่ง จากนั้นก็ได้สูญหายไป ไม่เกิดการระบาดรุนแรงขยายวงกว้าง ในรูปแบบของโควิดสายพันธุ์ XBC, XBA, XAY และ XAW ระบาดขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เลวร้าย (worst-case scenario) ลูกผสมเดลตา-โอมิครอน อาจมีอันตรายพอๆ กับสายพันธุ์เดลตา ซึ่งคร่าชีวิตผู้ที่ติดเชื้อไปประมาณ 3.4% สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตของโอมิครอนเกือบสองเท่า ตามผลการศึกษาในปี 65 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Reviews Immunology นอกจากนี้ เดลตาครอน อาจมีความสามารถในการแพร่ติดต่อได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับโอมิครอน

logoline