svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

นักไวรัสวิยาชี้ ติด‘เดลตา-โอมิครอน’ ยังเสี่ยงติดซ้ำได้ ภูมิธรรมชาติช่วยได้แต่ไม่เต็มที่

16 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา” นักไวรัสวิทยา เผยรายงาน อาจเคยโควิด-19 สายพันธุ์ “เดลตา-โอมิครอนรุ่นแรก” ยังเสี่ยงติดซ้ำได้อีก ย้ำว่า “ภูมิธรรมชาติ” ช่วยได้แต่ไม่เต็มที่ การป้องกันตัวเองคือเรื่องที่สำคัญที่สุด เพื่อความปลอดภัยจากโควิด

อีกความคืบหน้าทางวิชาการที่น่าจับตา ทางด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana โดยระบุว่า

 

“ช่วงนี้เห็นคนใกล้ตัว และ เพื่อนๆ ในเฟซโพสต์เรื่องติดโควิดมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หลายๆ คนบอกว่าเคยติด Delta มาแล้วตอนปลายปี บางคนติด BA.2 มาแล้วตอนกลางปี ภูมิจากการติดโควิดไปครั้งที่แล้วสามารถป้องกันการติดซ้ำได้ต่างกันแค่ไหน พอดีวันนี้มีข้อมูลที่ออกมาจากทีมวิจัยจาก Cleveland Clinic ในสหรัฐอเมริกา รายงานเกี่ยวกับตัวเลขความสามารถการป้องกันการติดเชื้อ BA.5 จากกลุ่มตัวอย่างที่เคยติดโควิดเดลตา และ โอมิครอน BA.1/BA.2 มาก่อน โดยข้อมูลมาจากตัวอย่างจำนวนมากกว่า 20,000 คน

นักไวรัสวิยาชี้ ติด‘เดลตา-โอมิครอน’ ยังเสี่ยงติดซ้ำได้  ภูมิธรรมชาติช่วยได้แต่ไม่เต็มที่

ตัวเลขจากรายงานฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่า 

นักไวรัสวิยาชี้ ติด‘เดลตา-โอมิครอน’ ยังเสี่ยงติดซ้ำได้  ภูมิธรรมชาติช่วยได้แต่ไม่เต็มที่
ผู้ที่เคยติดโควิดจากสายพันธุ์เดลตามาเมื่อปีที่แล้ว แทบจะไม่มีภูมิเพียงพอต่อ การปัองกันการติดเชื้อ BA.5 เลย โดยตัวเลขอยู่เพียงแค่ 11.9% ส่วนผู้ที่เคยติดโอมิครอน BA.1/BA.2 มาก่อนในช่วงต้น-กลางปีที่ผ่านมา ภูมิจากการติดเชื้อสามารถป้องกัน BA.5 ได้ 45.9% นั่นหมายความว่า ประมาณมากกว่าครึ่งนึงของคนที่เคยติดโอมิครอนรุ่นแรกมา จะสามารถติด BA.5 และ โอมิครอนรุ่นหลังๆ รวมถึง BA.2.75 หรือ BQ.1.1 หรือ XBB ได้อีก


ภูมิจากธรรมชาติช่วยได้ครับแต่อย่าคาดหวังว่าจะช่วยได้แบบเต็มที่ในบริบทที่ไวรัสเปลี่ยนไว และภูมิเริ่มตกลงหลังจากติดเชื้อไปสักพัก การป้องกันตัวเองในช่วงนี้สำคัญมากหากไม่อยากเป็นโควิดอีกรอบครับ”

นักไวรัสวิยาชี้ ติด‘เดลตา-โอมิครอน’ ยังเสี่ยงติดซ้ำได้  ภูมิธรรมชาติช่วยได้แต่ไม่เต็มที่

นักไวรัสวิยาชี้ ติด‘เดลตา-โอมิครอน’ ยังเสี่ยงติดซ้ำได้  ภูมิธรรมชาติช่วยได้แต่ไม่เต็มที่

ที่มาของข่าวนี้ >>

เสี่ยง "ติดโควิด" ตรวจ ATK ขึ้นขีดเดียว ไม่ได้แปลว่ารอด ดร.อนันต์ ยก ผลวิจัย 7 ใน 10 ติดเชื้อ แต่รอด เพราะอะไร แนะ ตรวจซ้ำ มากกว่า 1 ครั้ง

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ได้ยกผลวิจัยจากเนเธอร์แลนด์ หลังจากข้อมูลในช่วงนี้ ดูเหมือนมีเคสโควิดสูงขึ้น การใช้ชุดตรวจ ATK ในการเฝ้าระวังจะมีบทบาทมาก เชื่อว่า หลายครั้งที่เรารู้ตัวว่าไปสัมผัสผู้ติดเชื้อมา แล้วมาตรวจ ATK เพื่อยืนยัน ว่าตกลงเราติดเชื้อจากการสัมผัสนั้นหรือไม่

  นักไวรัสวิยาชี้ ติด‘เดลตา-โอมิครอน’ ยังเสี่ยงติดซ้ำได้  ภูมิธรรมชาติช่วยได้แต่ไม่เต็มที่

แต่ส่วนใหญ่ ถ้าตอนตรวจ ATK ไม่มีอาการใด ๆ และผลตรวจออกมาเป็นลบในตอนนั้น มักเชื่อกันว่า โชคดีรอดตัวไม่ติดเชื้อแล้ว หลังจากนั้น ถึงแม้จะมีอาการอะไรขึ้นมาบ้าง บางคนก็อาจจะคิดว่าไม่ใช่โควิด เพราะตรวจแล้ว ATK เป็นลบ

 

ดร.อนันต์ ระบุว่า

จากการเก็บข้อมูลผู้ใช้ ATK จากผลวิจัยชิ้นหนึ่ง ตรวจหาเชื้อในช่วงที่ตัวเองยังไม่มีอาการชัดเจน ข้อมูลระบุว่า ATK 3 ยี่ห้อ ที่ใช้ในเนเธอร์แลนด์ ได้ผลออกมาสอดคล้องกันว่า ความไวในการตรวจพบเชื้อในกลุ่มคนเหล่านี้ มีเพียงแค่ 20-27% เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน้อย คือ ประมาณ 7 ใน 10 คน ที่ติดเชื้อ จะหลุดการตรวจ ATK และ ถ้าไม่ตรวจซ้ำ หลายคนก็จะไม่รู้ตัวว่าตัวเองสามารถแพร่เชื้อได้อยู่

 

การศึกษานี้บอกว่า ในกลุ่มเดียวกันก่อนช่วงโอไมครอน ตัวเลขจะสูงอยู่ในช่วง 50-60% แสดงว่า โอไมครอนอาจมีส่วนทำให้ประสิทธิภาพของชุดตรวจน้อยลงได้ ด้วยปัจจัยจากไวรัสที่เปลี่ยนไป จนแอนติบอดีในชุดตรวจจับได้น้อยลง หรือ อาการที่น้อยลง ตัวอย่างในจมูกจึงเก็บยากขึ้น เป็นต้น

 

คำแนะนำคือ ถ้ามีความเสี่ยงไปสัมผัสเชื้อมาการตรวจ ATK อาจจำเป็นต้องทำมากกว่า 1 ครั้ง โดยเฉพาะช่วงที่เริ่มรู้สึกว่ามีอาการ ควรตรวจซ้ำอีกครั้ง อย่าเชื่อมั่นผลลบครั้งแรกมากเกินไป

 

ก่อนหน้านี้ ดร.อนันต์ ระบุว่า

บริบทของการ "ตรวจ  ATK" ณ ปัจจุบัน แตกต่างจากเมื่อก่อน ที่ยังไม่ฉีดวัคซีนกันมาก ๆ ช่วงที่ร่างกายยังไม่มีภูมิจากวัคซีน อาการของโรคจะเกิดจากร่างกายตอบสนองต่อไวรัสที่เพิ่มจำนวนมาในระดับหนึ่งแล้ว ที่สูงมากพอที่จะตรวจเจอด้วย ATK

 

ดังนั้น เราจะเข้าใจว่า ใช้อาการเป็นเกณฑ์ในการวัดจะเจอเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งตรงไปตรงมา แต่พอร่างกายเรามีภูมิจากวัคซีนแล้ว บริบทจะเปลี่ยนไป การตอบสนองต่อไวรัสจะไวกว่าเดิมมาก เมื่อร่างกายรับไวรัสในปริมาณเพียงน้อยนิด ภูมิจากร่างกายก็จะตอบสนองแทบจะทันที ในลักษณะของอาการที่เรารู้สึกได้ ไม่ว่าจะ คันคอ มึนศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว ทำให้เราซึ่งเคยชินกับบริบทเดิม ๆ ไปตรวจเพราะมีอาการ แต่ปริมาณไวรัสยังมีไม่มากพอ จึงให้ผลเป็นลบ ทำให้เข้าใจผิดว่า ตัวเองไม่ได้ติดโควิด นอกจากตรวจซ้ำอีก 2-3 วันต่อมา จะพบว่าหลายคนได้ 2 ขีดแล้ว

 

กักตัวกี่วันหลังติดโควิด

 

สำหรับการกักตัวหลัง "ติดโควิด" ความรู้ทางการแพทย์ชัดเจนว่า จะปลอดภัยหากแยกตัวไป 2 สัปดาห์ (14 วัน) การแยกตัว 5 วันไม่เพียงพอ เพราะผู้ป่วยกว่า 50% จะยังสามารถตรวจพบเชื้อ และอาจแพร่ให้แก่คนใกล้ชิดและคนอื่นในสังคมได้

การแยกตัว 7 วัน โอกาสหลุดยังสูงถึง 25% 
การแยกตัว 10 วัน โอกาสหลุด 10%

 

ดังนั้น หากแยกตัวน้อยวัน ก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะแพร่ให้คนใกล้ชิด และคนอื่น ๆ หากจำเป็นต้องทำมาหากิน หรือศึกษาเล่าเรียน อาจกลับมาใช้ชีวิตได้หลังแยกตัว 7-10 วัน โดยต้องแน่ใจว่า ไม่มีอาการแล้ว และตรวจ ATK อีกครั้งแล้วได้ผลลบ

 

เปิดคำถามยอดนิยมที่ผู้อ่านสงสัยมากที่สุด

ตรวจ ATK แต่ทำไมไม่พบเชื้อ

การตรวจ ATK ทันทีที่ทราบว่าใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ สำหรับบางคนอาจจะยังไม่พบเชื้อ เนื่องจากโควิดสายพันธุ์โอมิครอนมีระยะฟักตัวตั้งแต่ติดเชื้อจนถึงมีอาการประมาณ 5-14 วัน จึงต้องรอระยะเวลาที่จะตรวจพบได้

นอกจากนี้ยังมีกรณีผลลบปลอม (False Negative) ซึ่งอาจเกิดจากเราเพิ่งติดเชื้อระยะแรก ๆ ร่างกายจึงมีปริมาณเชื้อต่ำ ทำให้ตรวจไม่เจอ หรือบางคนตรวจ ATK ผิดวิธี แหย่จมูกไม่ถูกต้อง รวมทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น ไม่อ่านผลในช่วงเวลาที่กำหนด ปริมาณตัวอย่างที่หยดไม่เป็นไปตามที่กำหนด

 

ตรวจ ATK วันไหน เมื่อไร ถึงได้ผลแม่นยำ

สำหรับคนที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิดมา และจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ควรตรวจโควิดตามคำแนะนำดังนี้ 
กรณีมีอาการป่วย
ให้ตรวจทันทีที่มีอาการป่วย แม้จะป่วยเล็กน้อยก็ตาม เพราะตั้งแต่วันแรกที่มีอาการป่วย จนถึงวันที่ 7 จะมีโอกาสตรวจพบเชื้อได้มากที่สุด 
ถ้าตรวจครั้งแรกแล้วผลเป็นลบ ให้กักตัว และตรวจ ATK ซ้ำอีกครั้งในอีก 3-5 วัน 
ถ้าตรวจทั้ง 2 ครั้งแล้วยังได้ผลเป็นลบ ทั้งที่มีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ ควรไปตรวจด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งมีความแม่นยำกว่า

นักไวรัสวิยาชี้ ติด‘เดลตา-โอมิครอน’ ยังเสี่ยงติดซ้ำได้  ภูมิธรรมชาติช่วยได้แต่ไม่เต็มที่

กรณียังไม่มีอาการป่วย
อย่างที่ทราบว่า โอมิครอน มีระยะเวลาฟักตัวประมาณ 5-14 วัน ดังนั้นเมื่อาไปสัมผัสเชื้อมาในวันที่ 1-4 แล้วมาตรวจ บางคนอาจได้ผลเป็นลบ ไม่พบเชื้อ จึงมีคำแนะนำให้ตรวจ ATK ดังนี้

ตรวจ ATK ครั้งที่ 1 ในวันที่ 5 นับจากวันที่ใกล้ชิดผู้ป่วยวันสุดท้าย เช่น เจอผู้ป่วยวันที่ 1 พฤศจิกายน ควรตรวจ ATK ในวันที่ 5 พฤศจิกายน หากยังไม่พบเชื้อให้รอตรวจครั้งที่ 2 โดยในระหว่างนี้ให้สังเกตอาการตัวเอง 10 วัน และไม่ควรไปที่สาธารณะ ใช้ขนส่งสาธารณะ หรือทำกิจกรรมกับคนหมู่มาก รวมทั้งไม่ใกล้ชิดผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือเด็กเล็กที่มีอาการป่วย
 
ตรวจ ATK ครั้งที่ 2 ในวันที่ 10 นับจากวันที่ใกล้ชิดผู้ป่วยวันสุดท้าย เช่น เจอผู้ป่วยวันที่ 1 พฤศจิกายน ถ้าตรวจครั้งแรกในวันที่ 5 พฤศจิกายน แล้วยังไม่พบเชื้อ ควรตรวจครั้งที่ 2 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 
 

ตรวจ ATK เป็นบวกต้องทำอย่างไร

ถ้าตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีดจริง ๆ คือติดเชื้อ
กรณีมีอาการไม่หนัก (ผู้ป่วยสีเขียว) สามารถรักษาได้ฟรีแบบเจอ แจก จบ คือไปหาหมอ รับยาที่โรงพยาบาลตามสิทธิของตัวเอง ทั้งบัตรทอง ประกันสังคม สิทธิข้าราชการ หรือกรณีเป็นผู้ป่วยสิทธิบัตรทองก็ยังสามารถไปรับยาจากร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการเจอ แจก จบ (คลิกดูรายชื่อร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ)

แต่ถ้ามีอาการหนัก หรือเป็นผู้ป่วยในกลุ่ม 608 จะถูกจัดเป็นผู้ป่วยสีเหลือง และสีแดง สามารถใช้สิทธิ UCEP Plus เข้ารักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ทุกแห่ง โดยกลุ่ม 608 ประกอบด้วย

  • มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 
  • ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
  • ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
  • ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  • มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม 
  • ป่วยโรคมะเร็ง
  • ป่วยโรคเบาหวาน
  • หญิงตั้งครรภ์ 

นักไวรัสวิยาชี้ ติด‘เดลตา-โอมิครอน’ ยังเสี่ยงติดซ้ำได้  ภูมิธรรมชาติช่วยได้แต่ไม่เต็มที่
นพ.ยง หรือ หมอยง แนะวิธีการทิ้ง ATK หลังตรวจหาเชื้อโควิด-19 ควรแยกทิ้งในขยะติดเชื้อหรือถุงแดง หากไม่มีให้ฆ่าเชื้อด้วยสารคลอรีนที่อยู่ในน้ำยาล้างห้องน้ำ

นักไวรัสวิยาชี้ ติด‘เดลตา-โอมิครอน’ ยังเสี่ยงติดซ้ำได้  ภูมิธรรมชาติช่วยได้แต่ไม่เต็มที่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด-19 การทำลายเชื้อโรคใน ATK ที่ใช้แล้ว

การตรวจ ATK ขณะนี้มีการใช้อย่างแพร่หลาย มีการตรวจวันละหลายแสนชิ้น ATK ที่ใช้แล้วไม่ว่าจะตรวจพบเชื้อหรือตรวจไม่พบเชื้อ ถือเป็นขยะติดเชื้อ มาตรการในการทิ้งขยะติดเชื้อจะต้องใส่ถุงแดง และมีการทำลายอย่างถูกต้อง

นักไวรัสวิยาชี้ ติด‘เดลตา-โอมิครอน’ ยังเสี่ยงติดซ้ำได้  ภูมิธรรมชาติช่วยได้แต่ไม่เต็มที่

ตามบ้านทั่วไปจะไม่มีถุงแดง และมาตรการการเก็บขยะ ไม่มีการแยกขยะติดเชื้อ จึงเป็นปัญหาในการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ ถ้าทิ้งในขยะปกติที่ไม่ได้มีการแยกขยะ

 

ดังนั้นการตรวจน้ำเสีย ที่ทิ้งไปยังโรงบำบัดน้ำเสีย หรือตามแม่น้ำลำคลอง จึงสามารถตรวจพบ RNA ของไวรัสโควิดได้ สิ่งจำเป็นที่ทุกคนจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ หลังการตรวจ คือการทำลายเชื้อในสิ่งที่ตรวจเสียก่อนที่จะนำไปทิ้ง สารเคมีที่สามารถทำลายเชื้อโควิด-19 ได้ที่เรารู้จักกันคือแอลกอฮอล์ จะทำลายเชื้อเฉพาะไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม ไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้มไม่สามารถทำลายได้ เช่น ไวรัสในกลุ่มมือเท้าปาก ก็พบได้ในบริเวณลำคอเช่นเดียวกัน

สารเคมีที่สามารถทำลายไวรัสได้เป็นอย่างดีในทุกกลุ่ม ได้แก่สารในกลุ่มของฟอร์มาลีน ฟอร์มาลดีไฮด์ ในทางปฏิบัติเราก็ไม่ได้ใช้กันตามบ้าน สารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่ทำลายได้ดี ได้แก่สารที่มีส่วนประกอบของคลอรีน เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรด์ หรือสารคลอรีนที่อยู่ในน้ำยาล้างห้องน้ำ

ดังนั้น ATK ที่ใช้แล้ว ควรแยกทิ้งในขยะติดเชื้อหรือถุงแดง แต่ถ้าไม่มี ควรทำลายเชื้อเสียก่อนด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำ ที่มีส่วนประกอบของคลอรีน โดยหยดลงไป 1-2 หยดแล้วห่อให้มิดชิดก่อนทิ้ง เพื่อเป็นการทำลายเชื้อเสียก่อน และจะต้องคำนึงว่าสารดังกล่าวเป็นสารกัดกร่อน และคลอรีนเป็นสารระเหย ถ้าสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ


โควิด 19 คงไม่หายไปจากโลกนี้ง่าย ๆ ดังนั้นเรายังจำเป็นต้องป้องกันตัวอย่างเต็มที่ ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่ดครัด เพราะถ้าประมาทขึ้นมาวันใด อาจติดโควิดและแพร่เชื้อสู่คนที่เรารักได้โดยไม่รู้ตัว

 

ขอขอบคุณที่มา >> ต้นฉบับ

โพสต์ล่าสุดที่น่าสนใจ 


 

 

 

ขอขอบคุณที่มาข้อมูล ภาพและข้อมูลจากเพจ  : Anan Jongkaewwattana 

logoline