svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

“วราวุธ”ร่วมงาน GCNT Forum 2022 เร่งเพิ่มมาตรการรับมือภาวะโลกร้อน

02 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“วราวุธ ศิลปอาชา” ร่วมงานประชุมผู้นำความยั่งยืนประจำปี 2565 เร่งเพิ่มมาตรการรับมือกับวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมนำเสนอผลงานไทยสู่นานาประเทศที่ COP27 ประเทศอียิปต์

2 พฤศจิกายน 2565 นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมงานประชุมผู้นำความยั่งยืนประจำปี GCNT Forum 2022 ภายใต้แนวคิด Accelerating Business Solutions to Tackle  Climate & Biodiversity Challenges รวมพลังสมาชิก ภาคธุรกิจ เร่งเพิ่มมาตรการรับมือกับวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เกียรติเป็นประธาน 

 

โดยนายวราวุธ กล่าวว่า หลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยเจอปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง และปี 65 เกิดน้ำท่วมอีกครั้ง ทำให้เห็นว่าบรรยากาศกำลังมีปัญหามากขึ้น เมื่อเกิดภัยพิบัติไทยโดนผลกระทบเป็นลำดับที่ 9 แต่การผลิตเราอยู่ที่อันดับที่ 20 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันดับที่ 19 หรือ 0.88% โดนท่านนายกฯได้เคยไปพูดไว้ที่ COP26 จะเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero greenhouse gas emission) ภายใน หรือก่อนกว่าปี 2065

 

“วราวุธ”ร่วมงาน GCNT Forum 2022 เร่งเพิ่มมาตรการรับมือภาวะโลกร้อน

แนวทางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทยในปี 2065 จะยุติการใช้ถ่านหินการใช้เทคโนโลยี BECCS และการใช้เทคโนโลยี DAC การทำให้ภาคการเกษตรปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลง คือการทำนาเปียกสลับแห้ง และการทำ BCG model 

 

ขณะที่การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ 2022 หรือ COP27 ประเทศไทยจะมีการนำเสนอแผนระยะยาว ปัจจุบันไปจนถึงปี 2065 ประเทศไทยวางแผนเอาไว้อย่างไร ในการที่จะลดจาก 388 ล้านตัน ลงเหลือ 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และแผนระยะสั้นภายในปี 2030 เป้าหมายที่วางไว้ว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40% 

“วราวุธ”ร่วมงาน GCNT Forum 2022 เร่งเพิ่มมาตรการรับมือภาวะโลกร้อน

ประเด็นต่อมาเราจะไปพูดถึงความสำเร็จของประเทศไทยที่สามารถดำเนินการภายใต้มาตรการข้อ 6.2 ของข้อตกลงปารีสเป็นคู่แรกในโลกกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ยังไม่มีประเทศใดในโลกที่ทำได้ และประเด็นสุดท้ายเราจะนำเสนอการทำงานของประเทศไทย โดยเฉพาะการประชุม TCAC ที่จำนองนำเอา COP มาทำในประเทศไทย

logoline