svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"วราวุธ"ถกคกก.อนุรักษ์หวังทำท่องเที่ยวชีวภาพสู่การปฏิบัติยั่งยืน

10 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"วราวุธ" ถกคกก.อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ เน้นสื่อสารข้อมูลลงสู่ท้องถิ่น เข้าใจง่าย นำไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่

10 ตุลาคม 2565 "นายวราวุธ ศิลปอาชา" รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (กอช.) ครั้งที่ 1/2565 โดยมี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพย์ฯ ในฐานะรองประธานคนที่ 1 รวมถึงกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 202 ชั้น 2 อาคารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

\"วราวุธ\"ถกคกก.อนุรักษ์หวังทำท่องเที่ยวชีวภาพสู่การปฏิบัติยั่งยืน

 

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการต่อ (ร่าง) กรอบท่าทีเจรจาของประเทศไทยสำหรับการประชุม และ (ร่าง) องค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 (CBD COP 15 Part 2) ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ซึ่งเห็นชอบการเข้าร่วมกลุ่ม High Ambition Coalition (HAC) for Nature and People

 

อย่างไรก็ตาม เพื่อแสดงศักยภาพของประเทศไทยในการอนุรักษ์และบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับประชาคมโลก โดยเฉพาะความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมาย 30x30 ที่จะเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์ทั้งทางบกและทางทะเลให้ได้อย่างน้อย ร้อยละ 30 ภายในปี ค.ศ. 2030 เห็นชอบให้กำหนดกฎหมายว่าด้วยการประมง และกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นกฎหมายอื่น ตามที่คณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติกำหนด 

นอกจากนี้ รวมถึงเห็นชอบทะเบียนรายการสถานภาพสัตว์มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ กลุ่มมอลลัสกา กลุ่มครัสเตเชียน และกลุ่มปะการัง ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2563 และคู่มือชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานของประเทศไทย

 

\"วราวุธ\"ถกคกก.อนุรักษ์หวังทำท่องเที่ยวชีวภาพสู่การปฏิบัติยั่งยืน

 

ขณะเดียวกัน ในการเผยแพร่เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณานำทะเบียนและคู่มือดังกล่าวไปใช้ประกอบการดำเนินงานในการอนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูชนิดพันธ์ุที่ถูกคุกคาม และเป็นแนวทางในการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในพื้นที่ภายใต้ความรับผิดชอบ ประธานฯ ขอให้ฝ่ายเลขานุการ พิจารณาจัดทำข้อมูลเผยแพร่ให้เข้าใจง่าย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและนำไปสู่การดำเนินงานในพื้นที่ต่อไป

นายวราวุธ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้เห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะอนุกรรมการกฎหมาย ความหลากหลายทางชีวภาพ และเห็นชอบการดำเนินโครงการบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก รอบที่ 7 (GEF7) และรับทราบรายงานการอนุญาตให้เข้าถึงทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564

 

รวมถึงผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 1 (CBD COP15 Part 1) ณ นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อระหว่างวันที่ 11 – 15 ต.ค. 2564 และความก้าวหน้าการดำเนินโครงการเศรษฐศาสตร์เชิงนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการเกษตรและอาหารของประเทศไทย (TEEBAgriFood Thailand)

logoline