svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

“เซอร์วิส ชาร์จ” ไม่จ่ายได้ไหม? สบค.มีคำตอบชัดๆ เคลียร์กันตรงนี้

03 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไขข้อสงสัย Service charge ที่ร้านอาหารเรียกเก็บจากลูกค้าเพิ่มนอกจากค่าอาหาร ลูกค้าจำเป็นต้องจ่ายหรือไม่ อีกมุมมองที่น่าสนใจ หากทางร้านบริการไม่ดี ลูกค้าสามารถปฏิเสธไม่จ่ายได้หรือไม่ เนชั่นออนไลน์ มีคำตอบชัดๆ เคลียร์กันตรงนี้เพื่อความเข้าใจ

ยังเป็นประเด็นที่กังขาในสังคมมากๆ ณ ตอนนี้ เกี่ยวกับ Service charge มีความจำเป็นขนาดไหน ละในฐานะผู้บริโภคต้องทำอย่างไร วันนี้รวบรวมมุมมองจาก สบค.และทนายความมาเสริมความเข้าใจ ไขข้อสงสัย  Service charge กันตรงนี้  

 

ทำความเข้าใจ Service charge คืออะไร ?
เป็นค่าบริการที่ผู้ประกอบการขายสินค้านั้นๆ คิดเพิ่มจากผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการ โดยเป็นส่วนที่จะแบ่งให้กับทางพนักงานของร้าน

สรุปให้ก่อน Service Charge รอบนี้ เป็นประเด็นร้อนๆ ขึ้นมาจากอะไร ?
มีโพสต์หนึ่ง ใน Facebook จุดประเด็นมาว่า ร้านอาหารเกาหลีชื่อดัง ไม่ควรเก็บ service charge กลายเป็นไวรัล เพราะมีคนมา ไลค์เป็นหมื่น คอมเมนต์เป็นพัน และแชร์ออกไปกว้างขวาง ในเมนต์วิจารณ์กันถึงบริการของร้านดังกล่าวสุดฤทธิ์ บ้างก็เอาไปเปรียบเทียบกับร้านอื่น

“เซอร์วิส ชาร์จ” ไม่จ่ายได้ไหม? สบค.มีคำตอบชัดๆ เคลียร์กันตรงนี้

และต่อมา มีผู้ใช้ Facebook อีกท่าน ออกมาพูดทำนองว่า เรื่อง Service charge ในไทย เขาเคยลงกระทู้ไปนานแล้วว่า เขาลองปฏิเสธไม่จ่ายมา สองเดือน ก็สามารถทำได้ เขาปรึกษานักกฏหมายและทนายจบนอกมาแล้ว ว่าลูกค้าสามารถปฏิเสธได้จริง เพราะเป็นภาระที่นายจ้างต้องให้กับลูกจ้างเอง ไม่ใช่ตกเป็นภาระของผู้บริโภค

 

 

ถ้าหากอยากให้จ่ายก็ต้องไปฟ้องร้องเอง และกฏหมายไม่ได้กำหนดให้ผู้บริโภคต้องจ่าย แต่กระทู้ในพันทิปนั้นโดนกดรีพอร์ทให้ลบไป โดยมิอาจทราบสาเหตุ แต่คนไทยไม่ควรยอมโดนเอาเปรียบแบบนี้ เพราะมันไม่ใช่เรื่องปกติ หากร้านบริการดี ลูกค้าอยากให้ทิป นั่นคือสิ่งที่ให้เองตามความสมัครใจ ไม่ใช่มาขูดรีดบังคับจ่ายแบบนี้ จนคาดในอนาคต Service charge อาจมีราคาแพงกว่าค่าอาหารเลยทีเดียว

Service charge เซอร์วิส ชาร์จ คืออะไร มองในแง่มุมตามกฏหมาย ถ้าไปใช้บริการร้านอาหารแล้ว ไม่จ่ายได้ไหม ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีคำตอบทุกข้อสงสัย

 

เว็บไซต์ ‘สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค’ เผยแพร่บทความเรื่อง “Service charge ไม่จ่ายได้ไหม” ระบุว่า 

การรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นกิจกรรมที่ทุกคนคงเคยทำ บางครั้งที่ไปทานอาหารในโรงแรม ในห้าง หรือตามร้านอาหารใหญ่ๆ อาจเจอของแถมเป็นค่า service charge

แต่เดี๋ยวนี้กับร้านอาหารธรรมดาบางร้านก็คิด ซึ่งบางท่านอาจรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องจ่าย เพราะไม่ได้รับบริการอะไรเป็นพิเศษจากทางร้านอาหาร
 
แถมบางร้านเป็นแบบให้ลูกค้าบริการตัวเองอีกต่างหาก ซึ่งช่วงที่ผ่านมาก็มีประเด็นร้อนในโลกสังคมออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ผู้บริโภคจำเป็นต้องจ่ายหรือไม่ วันนี้เรามาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ service charge กัน
 
service charge คือ ค่าบริการที่ผู้ประกอบการขายสินค้านั้นๆ คิดเพิ่มจากผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการ เป็นรายได้ที่นำมาแบ่งให้แก่พนักงานบริการในแต่ละเดือน ถือเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของพนักงาน


ทีนี้ อาจมีคำถามต่อไปว่า หากพนักงานให้บริการไม่เป็นที่พอใจ ลูกค้าสามารถขอค่า service charge คืนได้ไหม จริงๆ แล้วสถานที่ที่คิด service charge แพงเกินจริง หาเหตุผลไม่ได้ ภาครัฐมี พ.ร.บ.ว่าด้วยสินค้าและบริการ มาตรา 29 ควบคุม 
 
โดยระบุว่า ถ้าผู้ประกอบการขายจำหน่ายสินค้าในลักษณะทำให้เกิดความปั่นป่วน สร้างกลไกการตลาดบิดเบี้ยว ราคาเกินจริง โดยชี้แจงสาเหตุที่เรียกเก็บราคาสูงเกินจริงไม่ได้นั้น มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
ส่วนอัตราการเรียกเก็บ service charge ที่เหมาะสม ตามกฎหมายที่กรมการค้าภายในกำกับอยู่คือ ต้องไม่เกิน 10% เนื่องจากเป็นอัตราราคาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่รับทราบตามสากลและยอมรับได้ ซึ่งแม้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคจะไม่ได้พูดถึงเรื่อง service charge โดยตรง 
 
แต่ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมการค้าภายในคือประกาศ เรื่อง การต้องแสดงราคาสินค้าหรือบริการ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ที่ระบุว่า 
 
ราคาสินค้าและบริการ ต้องแสดงราคาต่อหน่วย มีตัวเลขเป็นภาษาใดก็ได้ แต่ขอให้มีอารบิกอยู่ด้วย ทั้งนี้ ข้อความต้องเป็นภาษาไทย ในลักษณะที่เห็นชัดเจน เปิดเผย สามารถอ่านได้โดยง่าย เพื่อจะแสดงให้ผู้บริโภคทราบก่อนการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการ สิ่งนี้คือหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจในการขายสินค้า ถ้าไม่มีแสดง หรือมีแต่อ่านไม่ชัด ไม่ครบถ้วนก็มีความผิด คือโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท
 
ประเด็นสำคัญคือ ร้านอาหารมีหน้าที่ต้องติดป้ายแสดงทุกอย่างให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้า ไม่ใช่แค่ราคา แต่หมายถึง service charge ด้วย อาจจะระบุไว้ในเมนูอาหาร หรือติดประกาศบริเวณหน้าร้านก็ได้ซึ่งยังไม่มีข้อบังคับที่ชัดเจนว่าต้องระบุไว้ในตำแหน่งใด แต่ตำแหน่งนั้นผู้บริโภคต้องสามารถมองเห็นชัดเจน หากไม่ชัดเจน ไม่ครบถ้วน นับว่ามีความผิด และผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องจ่ายเพราะร้านไม่ได้แสดงไว้

“เซอร์วิส ชาร์จ” ไม่จ่ายได้ไหม? สบค.มีคำตอบชัดๆ เคลียร์กันตรงนี้

มองอีกมุมสำหรับประเด็นร้อนๆ นี้ ถ้าหากร้านอาหารบริการไม่ดี ไม่จ่ายได้ไหมล่ะ?
อีกหนึ่งความคิดเห็นจาก ทนายรณรงค์ แก้วเพชร ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม ให้ความเห็นว่า

"Service Charge หากร้านแสดงป้ายให้เห็นก่อน และ ไม่เกิน 10% ตามกฏหมายลูกค้าเข้าร้านไปทานก็ถือว่ายอมรับเงื่อนไขแล้ว ยังไงก็ต้องจ่าย หากร้านบริการแย่ อันนั้นต้องไปฟ้องร้องกัน ในเรื่องของคุณภาพสินค้าและบริการแทน ซึ่งมันมีกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคอยู่แล้ว เช่น เราเจอผมในอาหาร หรือ พิสูจน์ ให้ได้ว่าร้านนี้ บริการห่วยจริง ก็ไปฟ้องร้องได้ในข้อนั้น แต่จะถือว่าเอามาเป็นเหตุ ไม่จ่าย Service Charge ไม่ได้" 

อีกคำถามตรงๆ หากไม่อยากจ่าย Service Charge ต้องทำยังไง?
"ต้องเข้าชื่อกันให้ สคบ. เปลี่ยน ข้อกฏหมาย ในเรื่อง Service Charge เพราะปัจจุบัน Service Charge เหมือนเป็น ข้อตกลงหลักสัญญา ซื้อขายทางแพ่ง ระหว่าง เจ้าของร้าน กับ ผู้บริโภค ที่ทำกันไว้ ก่อนเข้าร้าน หากเขามีป้ายบอก และ คิดไม่เกินกำหนด" 

 
โดยสรุป หากผู้ประกอบการแสดงความชัดเจนเรื่อง service charge กับเราแล้ว เราก็ต้องชัดเจนในการตัดสินใจของตัวเองตั้งแต่เลือกเข้าร้านว่ายินดีจ่ายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบเห็นร้านเก็บ service charge เกิน 10% หรือไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่มีการชี้แจงที่สมเหตุสมผล รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม 

สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนราคาสินค้า สายด่วน กรมการค้าภายใน 1569 หรือ สายด่วน สคบ. 1166 ซึ่งนอกจากการแจ้งภาครัฐแล้ว มาตรการทางสังคม การเผยแพร่เรื่องราวหรือคำเตือนให้กับสังคมก็ถือเป็นสิ่งที่มีพลัง สร้างให้เกิดแรงกระเพื่อมไปถึงผู้ประกอบการให้ปรับตัวได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน


 

logoline