svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ประกาศเตือน 5 จังหวัดริมเจ้าพระยา ระวังน้ำล้นท่วม ระหว่างวันที่ 16-17 ก.ย.

13 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กอนช. ประกาศเตือน 5 จังหวัดริมเจ้าพระยา ระวังน้ำล้นท่วม ระหว่างวันที่ 16-17 ก.ย. เนื่องจากเขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำเพิ่ม ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนจะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.40 – 0.60 เมตร

13 กันยายน 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประกาศฉบับที่ 38/2565 เรื่อง  เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ระบุว่า

 

ด้วยกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์จะมีฝนตกหนัก ในช่วงวันที่ 12 – 17 กันยายน 2565 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 1,900 - 2,000  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

 

ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ 1,800 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่วันที่15 กันยายน 2565 โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.40 – 0.60 เมตร ในช่วงวันที่ 16 - 17 กันยายน 2565 บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร

 

ประกาศเตือน 5 จังหวัดริมเจ้าพระยา ระวังน้ำล้นท่วม ระหว่างวันที่ 16-17 ก.ย.

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำ แนวเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำทราบล่วงหน้า

 

2. เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบ ต่อประชาชนได้ทันที

 

3.  ติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงเวลาดังกล่าว พร้อมปรับแผนบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ และประตูระบายน้ำ เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์

 

สำหรับสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 13 กันยายน 2565 ดังนี้

1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

1.1 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 38/2565 ลงวันที่ 12 กันยายน 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 1,900 - 2,000  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ 1,800 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่วันที่15 กันยายน 2565

 

ประกาศเตือน 5 จังหวัดริมเจ้าพระยา ระวังน้ำล้นท่วม ระหว่างวันที่ 16-17 ก.ย.

โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.40 – 0.60 เมตร ในช่วงวันที่ 16 - 17 กันยายน 2565 บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร

 

1.2 ประกาศศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2565 ลงวันที่ 10 กันยายน 2565 แจ้งเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำมูล เนื่องจากสถานการณ์น้ำบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบน พบว่ามีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนราษีไศลเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการคาดการณ์ในช่วงวันที่ 9 – 12 กันยายน 2565 จะมีฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ ประสานให้กรมชลประทานพิจารณาปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันไดเพื่อลดผลกระทบด้านท้ายน้ำ คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนราษีไศล อยู่ในเกณฑ์ 1,100 – 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมวลน้ำจะไหลไปรวมกับแม่น้ำชีและลำน้ำสาขา ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในเกณฑ์ 2,500 – 2,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยในช่วงวันที่ 13 - 18 กันยายน 2565 ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.30 – 0.50 เมตร บริเวณอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยไม่ส่งผลกระทบกับพนังกั้นน้ำที่ได้เตรียมป้องกันไว้แล้ว

 

2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565

วานนี้ (12ก.ย.) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมคณะ เดินทางไปตรวจราชการในพื้นที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยได้มอบนโยบายในการตรวจราชการ โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และเป็นนโยบายหลักที่ต้องการให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สมบูรณ์ เพื่อรองรับการขยายตัวทางสังคมและเศรษฐกิจในอนาคตให้ประเทศมีความมั่นคง ประชาชนมีความผาสุกอย่างยั่งยืน

 

3. สถานการณ์น้ำท่วม

ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง ในวันที่ 4 –12 ก.ย. 65 ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม รวม 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน น่าน พะเยา ลำปาง เพชรบูรณ์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สมุทรปราการ อุบลราชธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร หนองบัวลำภู เลย กาฬสินธุ์ สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา

 

สรุปสถานการณ์น้ำ 13 กันยายน 2565

logoline