svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ทำความรู้จัก “ยาลิ้นฟ้า” คืออะไร อันตรายแค่ไหน

16 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทำความรู้จัก “ยาลิ้นฟ้า” คืออะไร อันตรายแค่ไหน หลังวัยรุ่นแห่ซื้อผ่านออนไลน์ จนติดเทรนด์ #วัยรุ่นลิ้นฟ้า โชว์เกลื่อนโซเชียล

“ยาลิ้นฟ้า” หรือ Rohypnol 542 เป็นชื่อที่คนทั่วไปเรียกยา flunitrazepam หรือชื่อทางการค้าว่า โรฮิบนอล (Rohypnol) เป็นยาที่มีฤทธิ์กดประสาท ออกฤทธิ์ภายใน 20-30 นาที และฤทธิ์ยังคงมีอยู่ในตัวมากกว่าครึ่งวัน

ทำความรู้จัก “ยาลิ้นฟ้า” คืออะไร อันตรายแค่ไหน

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา : มีฤทธิ์บรรเทาอาการวิตกกังวล สงบประสาท ทำให้นอนหลับ สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ คลายกล้ามเนื้อ ต้านการชัก และกดระบบการหายใจ

 

ประโยชน์ทางการแพทย์ : โรฮิบนอลเป็นยานอนหลับ มีฤทธิ์ทำให้นอนหลับและสูญเสียความทรงจำชั่วขณะ จึงนิยมใช้เป็นยานอนหลับ ยานำสลบ และสงบประสาทก่อนทำการผ่าตัด

 

การออกฤทธิ์ : โรฮิบนอลออกฤทธิ์เร็วหลังรับประทานหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทำให้นอนหลับ ภายในเวลา 20-30 นาทีหลังการรับประทานยา และฤทธิ์จะอยู่นานประมาณ 8-12 ชั่วโมง

 

ลักษณะทางกายภาพ : เนื่องจากมีการนำยานี้ไปใช้ในทางที่ผิดอยู่บ่อยๆเช่นใช้นำไปมอมผู้หญิงเพื่อให้เหยื่อ หมดแรงต่อสู้และจำอะไรที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ หรือมอมสุภาพบุรุษเพื่อปลดทรัพย์หรือก่ออาชญากรรม อื่นๆ

ทำความรู้จัก “ยาลิ้นฟ้า” คืออะไร อันตรายแค่ไหน

โดยส่วนใหญ่ใช้ผสมในเครื่องดื่มโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม เพื่อทำให้ โรฮิบนอลออกฤทธิ์กดประสาทแรงขึ้น บริษัทยาที่ผลิตจึงเปลี่ยนรูปแบบจากเม็ดกลมขนาดเล็กสีขาวเป็นเม็ดรูปรีขนาดใหญ่สีเขียวซึ่งเมื่อนำมาผสมเครื่องดื่มจะเห็นตะกอน ของตัวยาไม่สำคัญตกอยู่ก้นแก้วและเครื่องดื่มก็จะมีสีเขียวเพื่อให้ผู้ดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้เห็นชัดเจนขึ้น

 

อาการไม่พึงประสงค์และอันตรายจากการใช้ยา : ที่พบบ่อยๆได้แก่ง่วงซึม มึนงง เดินเซ ปวดศรีษะ และความจำในระหว่างที่ได้รับยาลดลง การตัดสินใจไม่ดี ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการสั่นและฝันร้าย ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ ทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักรกล หรือทำงานอื่นที่ต้องการความตื่นตัว อาจมีอาการนอนไม่หลับ ประสาทหลอน พฤติกรรมผิดปกติ

 

ภาวะพึ่งยา : การใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้เกิดภาวะพึ่งยาได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อหยุดยา จะทำให้เกิดอาการถอนยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เปลือกตากระตุก สั่น เป็นต้น ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนาน เกิน 1 เดือน

 

การควบคุมตามกฎหมาย : โรฮิบนอล ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ผู้มีสิทธิสั่งจ่ายได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ และสัตว์แพทย์ เท่านั้น ห้ามมิให้จำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป และผู้ที่จะใช้ยานี้ได้ก็ต้องใช้ตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น  

 

บทกำหนดโทษ : สำหรับปัจจุบัน โรฮิบนอล (Rohypnol) ควบคุมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559

ทำความรู้จัก “ยาลิ้นฟ้า” คืออะไร อันตรายแค่ไหน

logoline