svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ.ย้ำ รพ.จัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิด-19 ได้ ไม่ใช่ประชาชนซื้อยาได้เอง

09 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สธ.ย้ำ รพ.จัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิด-19 ได้เอง ไม่ใช่ประชาชนซื้อยาได้เอง “โมลนูพิราเวียร์”-“แพกซ์โลวิด” รักษาโควิด-19 มีผลวิจัยใช้เฉพาะในกลุ่มมีอาการ-มีปัจจัยเสี่ยง ยายังให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินไม่ถึงปี ไม่ทราบผลข้างเคียง จ่ายยาต้องเป็นตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

ทางด้าน นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึง กรณีคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบ ให้โรงพยาบาลทุกสังกัด ทั้งรัฐและเอกชนทั่วประเทศ สามารถจัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิด-19ได้เองตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2565 ว่า การที่มีประกาศให้ รพ.ซื้อยาต้านไวรัสได้เอง เพื่อการบริหารงบประมาณของแต่ละสังกัด ซึ่งที่ผ่านมา สธ.เป็นคนซื้อให้  จากนี้ก็ให้รพ.จัดซื้อจัดจ้างเองตามเหมาะสม

สธ.ย้ำ รพ.จัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิด-19 ได้ ไม่ใช่ประชาชนซื้อยาได้เอง

“ขอย้ำว่า การให้ รพ.ซื้อยาได้เอง ไม่เท่ากับ ประชาชนซื้อยาได้เอง เพราะยาต้านไวรัสต้องจ่ายโดยแพทย์ตามแนวทางเวชปฏิบัติดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19  ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยอาการน้อย ไม่มีความเสี่ยงแล้วจะไปขอซื้อยาในรพ. เพราะการวินิจฉัยโรคต้องเกิดจากดุลยพินิจของแพทย์” นพ.ธงชัย กล่าว 

สธ.ย้ำ รพ.จัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิด-19 ได้ ไม่ใช่ประชาชนซื้อยาได้เอง

สธ.ย้ำ รพ.จัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิด-19 ได้ ไม่ใช่ประชาชนซื้อยาได้เอง นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์  กล่าวว่า หลักการการรักษาโรคจำเป็นต้องเป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ยกตัวอย่าง เป็นโรคเบาหวานก็ต้องให้ยารักษาเบาหวาน ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ตามมาตรฐานทางการแพทย์ เช่นเดียวกับโรคโควิด-19 ก็ต้องรักษาตามแนวทางปฏิบัติตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

 

"ที่สำคัญยาต้านไวรัส ทั้งยาโมลนูพิราเวียร์ และยาแพกซ์โลวิด ตอนที่มีการทำวิจัย ได้ทำในกลุ่มผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการ และมีปัจจัยเสี่ยง ดังนั้น หากไม่มีปัจจัยเสี่ยงแล้วให้ยากลุ่มนี้ ก็มีคำถามว่า ผู้วิจัยไม่ได้ทำการศึกษาวิจัยแบบนั้น จะทำนอกเหนือจากนั้นหรืออย่างไร"

 

 

 

“ขณะนี้ เริ่มมีภาวะรีบาวด์ (Rebound) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หายจากโควิดแล้วกลับมาบวกใหม่ แม้กินยาต้านไวรัส ประกอบกับทั้งยาโมลนูพิราเวียร์ และยาแพกซ์โลวิด มีการประกาศให้เป็นยาที่ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งใช้ไม่ถึงปี ก็ยังไม่ทราบถึงผลข้างเคียง การใช้ยาก็ควรต้องเป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ หากแพทย์จ่ายยาไม่เป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เรียกว่าจ่ายตามใจหมอ หรือตามใจผู้ป่วย หากเกิดเหตุอะไรขึ้นมา ผู้ป่วยอาจฟ้องร้องได้ ทางที่ดีที่สุดควรต้องจ่ายยาตามอาการ ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่มีผู้เชี่ยวชาญมีคณะกรรมการพิจารณาออกมาแล้วดีที่สุด” นพ.สมศักดิ์ กล่าว

สธ.ย้ำ รพ.จัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิด-19 ได้ ไม่ใช่ประชาชนซื้อยาได้เอง

สธ.ย้ำ รพ.จัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิด-19 ได้ ไม่ใช่ประชาชนซื้อยาได้เอง

สธ.ย้ำ รพ.จัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิด-19 ได้ ไม่ใช่ประชาชนซื้อยาได้เอง

logoline