svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สปสช. ยันไม่ได้ลอยแพ"ผู้ป่วยโควิด" พร้อมแจงยิบสิทธิรักษาหลัง 1 ก.ค.นี้

01 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไม่ทิ้งผู้ป่วยโควิด "สปสช."ยืนยันรักษาแบบ "เจอแจกจบ" สามารถรับบริการยังหน่วยบริการใกล้บ้านได้เช่นเดิม รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้ใบส่งตัว

1 กรกฎาคม 2565 ไม่ทิ้งผู้ป่วยโควิด สปสช. แถลงยืนยันไม่ได้ลอยแพผู้ป่วยโควิด หลัง 1 ก.ค. 65 ยังรักษาฟรีเหมือนเดิม พร้อมแจงแนวปฏิบัติรองรับนโยบายรัฐบาลเข้าสู่โรคประจําถิ่น ส่วนกรณียกเลิกระบบ Home Isolation และ Hospitel  มารักษาแบบ “เจอ แจก จบ” สามารถเข้ารับบริการยังหน่วยบริการใกล้บ้านได้เช่นเดิม พร้อมย้ำไม่จำเป็นต้องใช้ใบส่งตัว

 

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทยว่า มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยหนักอย่างลดลงต่อเนื่อง ไม่พบการระบาดเป็นวงกว้างต่อเนื่อง จํานวนเตียง ยา และเวชภัณฑ์ มีเพียงพอต่อการให้บริการได้ตามมาตรฐาน รัฐบาลจึงมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับการเดินหน้าไปสู่ โรคประจําถิ่น อย่างปลอดภัย 

 

สปสช. ยันไม่ได้ลอยแพ"ผู้ป่วยโควิด" พร้อมแจงยิบสิทธิรักษาหลัง 1 ก.ค.นี้

 

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 21 มิ.ย. 2555 ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมในการดําเนินการรองรับการเดินหน้าไปสู่โรคประจําถิ่น โดยประชาชนยังคงได้รับการ ดูแลรักษาพยาบาลตามสิทธิสุขภาพที่ตนมีอยู่

 

ทั้งนี้แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเข้าสู่โรคประจําถิ่น แต่ถือว่ายังเป็นโรค หนึ่งโรค กระทรวงสาธารณสุขเอง มีแนวคิด “Health for Wealth” ที่มุ่งคืนระบบบริการการแพทย์แก่ประชาชน ทุกคนทุกโรค และประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับ โควิด-19 ได้

 

ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมตามนโยบายรัฐบาล เพื่อรองรับการเดินหน้าสู่ โรคประจําถิ่น เช่นกัน โดยจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ในวันที่ 4 ก.ค. 2565 นี้ 

 

สปสช. ยันไม่ได้ลอยแพ"ผู้ป่วยโควิด" พร้อมแจงยิบสิทธิรักษาหลัง 1 ก.ค.นี้

 

นพ.จะเด็จ กล่าวอีกว่า มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ตั้งแต่ 1 ก.ค. 2565 สปสช.จะลอยแพผู้ป่วยโควิด-19 สปสช.ขอชี้แจงและยืนยันว่าไม่มีการลอยแพผู้ป่วยโควิด-19 แต่อย่างใด ผู้ป่วย ยังคงได้รับการรักษาฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายเหมือนเดิม 

 

หลังจากนี้หากประชาชนมีอาการเข้าข่ายว่าจะติดโควิด สามารถขอรับชุดตรวจ ATK ที่ร้านขายยาใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการผ่าน "แอปฯเป๋าตัง" หรือใช้บัตรประชาชนไปรับ เพื่อตรวจยืนยันได้ทันที

 

หากขึ้น 2 ขีด คือ ผลเป็นบวกว่าติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มที่มีอาการไม่มาก หรือกลุ่มสีเขียวเข้า รักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกที่หน่วยบริการประจําตามสิทธิหรือหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ตามนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ ซึ่งจะได้รับการดูแลรักษาตามแนวทาง "เจอ แจก จบ" ของกระทรวงสาธารณสุข หรือ โทรติดต่อประสานกับร้านขายยาตามรายชื่อที่อยู่ในเว็บไซต์ สปสช. เพื่อรับยาตามโครงการ "เจอ แจก จบ" ที่ร้านขายยาได้เช่นกัน

 

สปสช. ยันไม่ได้ลอยแพ"ผู้ป่วยโควิด" พร้อมแจงยิบสิทธิรักษาหลัง 1 ก.ค.นี้

 

เมื่อถามถึงประเด็นไม่มี HI กับ Hospitel แล้วมีแต่ “เจอ แจก จบ” หากมีอาการเริ่มรุนแรงจาก ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ไปเป็น ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง จะสามารถรักษาได้ที่ไหน เพราะบางแห่งมีคนร้องว่า ยังมีเรียกร้องให้เอาใบส่งตัว นพ.จเด็จ กล่าวว่า หากมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นสามารถเข้ารับบริการยังหน่วยบริการใกล้บ้านได้เช่นเดิม ถ้าหากเราอยู่บริการสีเขียว หรืออยู่“เจอ แจก จบ” หรือหน่วยบริการใดบริการหนึ่ง หน่วยบริการดังกล่าว จะประสานในการส่งตัวให้รักษาให้ด้วย 

 

" หากเป็นโรงพยาบาล หรือคลินิกท่านอาจจะประสานทางโรงพยาบาลเพื่อทำการส่งต่อ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ใบส่งตัว เพื่อยืนยันว่า สปสช. จะจ่ายเงินให้ แต่การรับใบส่งตัวต้องเป็นใบ เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย "

 

สปสช. ยันไม่ได้ลอยแพ"ผู้ป่วยโควิด" พร้อมแจงยิบสิทธิรักษาหลัง 1 ก.ค.นี้

นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 กรณีที่ผู้ป่วยไปรับบริการยังระบบบริการปฐมภูมิทั่วประเทศไม่จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยกลับไปรับใบส่งตัว เพื่อประโยชน์ว่าจะมีผู้มาตามจ่าย เพราะ สปสช. จะเป็นคนจ่ายให้ท่านเอง เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวโรงพยาบาลที่ท่านใช้บริการ แม้ผู้ป่วยจะไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่สามารถให้บริการได้เลย แล้วค่อยมาเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจาก สปสช. โดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยกลับไปรับใบส่งตัวยังหน่วยบริการต้นสังกัด  

 

นพ.จเด็จ กล่าวยกตัวอย่างว่า ผู้ป่วยที่อยู่จังหวัดขอนแก่น หากมาทำงานที่นนทบุรี โรงพยาบาลจังหวัดนนทบุรี ให้บริการรักษาผู้ป่วยในไม่จำเป็นต้องเรียกตัวกลับไปที่จังหวัดขอนแก่นเพื่อรับใบส่งตัวเพื่อยืนยันจะมีผู้มาจ่ายค่ารักษาให้กับท่าน  แต่สามารถเบิกตรงมายัง สปสช. ได้เลย เป็นต้น

 

สปสช. ยันไม่ได้ลอยแพ"ผู้ป่วยโควิด" พร้อมแจงยิบสิทธิรักษาหลัง 1 ก.ค.นี้

 

ด้าน พญ.กฤติยา ศรีประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สายงานบริหารกองทุน สปสช. กล่าวว่า ในวันที่ 4 ก.ค. นี้ทางคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) จะมีการประชุมหารือ เพิ่มงบประมาณที่ได้จาก พ.ร.ก.กู้เงิน จะนํามาอยู่ในงบบัตรทอง ซึ่งตามหลักการจะเปลี่ยนจากการ ใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.กู้เงิน มาเป็นระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละระบบ 

 

สําหรับ สิทธิการรักษาพยาบาล เป็นสิ่งที่รัฐธรรมนูญกําหนด ประชาชนต้องได้รับการดูแลโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย ฉะนั้นไม่ว่าโควิด-19 จะเป็น โรคประจําถิ่น หรือไม่นั้น ประชาชนเคยได้รับสิทธิอย่างไรก็จะยังได้รับสิทธิ เหมือนเดิม หากประชาชนที่มีภูมิลําเนาอยู่จังหวัดเชียงใหม่แต่เข้ามาทํางานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) และใช้ สิทธิบัตรทอง ก็จะมีหน่วยบริการที่อยู่ในระบบให้การดูแล

 

ทั้งนี้ หากผู้ป่วยยังมีอาการที่หลงเหลือจากการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งอาจจะเป็นอาการทางระบบทางเดิน ภายใด ไอ บางรายนอนไม่หลับ รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ เรื่องของการรักษานั้น กรมการแพทย์ก็ได้ แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะลองโควิด ซึ่งเมื่อเป็นการรักษาระบบกองทุนก็ยังจ่ายเหมือน รักษาต่อเนื่อง

 

สปสช. ยันไม่ได้ลอยแพ"ผู้ป่วยโควิด" พร้อมแจงยิบสิทธิรักษาหลัง 1 ก.ค.นี้ สปสช. ยันไม่ได้ลอยแพ"ผู้ป่วยโควิด" พร้อมแจงยิบสิทธิรักษาหลัง 1 ก.ค.นี้

logoline