svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กทม. เดินหน้าก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมฯ เผย นโยบายจัดการน้ำ ไม่ท่วม-ลดเร็ว

27 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กทม. พร้อมเดินหน้าก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมฯ เริ่มตอกเข็มเขื่อนชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ 15 ก.ค.นี้ เผย นโยบายจัดการน้ำ ไม่ท่วม-ลดเร็ว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

27 มิถุยน 2565 นายณรงค์ เรืองศรี รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า สำนักการระบายน้ำ ร่วมกับสำนักงานเขตดอนเมือง  สถาบันพัฒนาชุมชน (พอช) และกองทัพภาคที่ 1 ลงพื้นที่ชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ เขตดอนเมือง วานนี้( 26 มิ.ย.) เพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจและกำหนดแผนงานก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมประชากร และแผนการก่อสร้างบ้านมั่นคง โดยกำหนดเริ่มตอกเข็มเขื่อนที่ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ (ฝั่งตรงข้าม) ภายในวันที่ 15 ก.ค. 65 และจะเริ่มตอกเข็ม ณ ชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ ภายในวันที่ 1 ส.ค. 65 ส่วนการก่อสร้างบ้านมั่นคงจะเริ่มก่อสร้างประมาณช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

กทม. เดินหน้าก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมฯ เผย นโยบายจัดการน้ำ ไม่ท่วม-ลดเร็ว

กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการระบายน้ำ ดำเนินโครงการพัฒนาคลองเปรมประชากรตามแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานระบบคลองและการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ พัฒนาด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและบำบัดน้ำเสีย โดยมีการออกแบบวางผังพื้นที่ริมคลองให้มีความสอดคล้องกัน 6 องค์ประกอบสำคัญในการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาที่อยู่อาศัย การพัฒนาด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ การจัดระบบสาธารณูปโภคและผังเมือง การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชุมชน พัฒนาจุดเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะและแผนพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน

โครงการพัฒนาคลองเปรมประชากร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 จากคลองบ้านใหม่ถึงหมู่บ้านแกรนด์คาแนล ความยาวประมาณ 580 เมตร (ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2562) ช่วงที่ 2 จากหมู่บ้านแกรนด์คาแนลถึงถนนสรงประภา ความยาวประมาณ 5,000 เมตร (ระยะเวลาก่อสร้าง 18 เดือน ดำเนินการปี 2564-2565) ช่วงที่ 3 จากถนนสรงประภาถึงถนนแจ้งวัฒนะ ความยาวประมาณ 10,000 เมตร (ระยะเวลาก่อสร้าง 24 เดือน ดำเนินการปี 2564-2566) และช่วงที่ 4 จากถนนแจ้งวัฒนะถึงถนนเทศบาลสงเคราะห์ ความยาวประมาณ 10,700 เมตร (ระยะเวลาก่อสร้าง 26 เดือน ดำเนินการปี 2563-2565)

กทม. เดินหน้าก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมฯ เผย นโยบายจัดการน้ำ ไม่ท่วม-ลดเร็ว

หากการก่อสร้างแล้วเสร็จตลอดแนวคลองเปรมประชากร จะช่วยเพิ่มความลึกและความจุปริมาณน้ำในคลองมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการการสัญจรทางน้ำและการระบายน้ำในคลอง ช่วยให้สามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ได้ทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ สำนักการระบายน้ำพร้อมติดตามการทำงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสำนักงานเขตในพื้นที่จะเร่งสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในชุมชนให้เห็นความสำคัญของส่วนรวมและประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการต่อไป

กทม. เดินหน้าก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมฯ เผย นโยบายจัดการน้ำ ไม่ท่วม-ลดเร็ว

กทม. เดินหน้าก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมฯ เผย นโยบายจัดการน้ำ ไม่ท่วม-ลดเร็ว

อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานคร ได้ออกนโยบายนโยบายกรุงเทพมหานคร ที่จะช่วยให้น้ำลดเร็ว ไม่ท่วม เพื่อคุณภาพชีวิตดี

1.จัดการน้ำจากต้นทาง

  • นโยบายลดจุดเสี่ยง จุดเฝ้าระวังน้ำท่วมทันที : เตรียมแผนรับมือ และจัดสรรงบประมาณเร่งรัดแก้ไขจุดเสี่ยงน้ำท่วม 9 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมในถนนสายหลักกว่า 48 จุด
  •  นโยบายแก้ไขปัญหาพื้นที่ต่ำ 50 เขต : แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซากย่านที่อยู่อาศัยและย่านพาณิชยกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ
  • นโยบายมุ่งเป้าติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียต้นทาง : เข้มงวดการปล่อยน้ำเสียตั้งแต่ต้นทางในพื้นที่แหล่งการค้าประเภทตลาด นำร่องตลาดในสังกัด กทม.

กทม. เดินหน้าก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมฯ เผย นโยบายจัดการน้ำ ไม่ท่วม-ลดเร็ว

 

2.จัดการทางเดินน้ำให้สะดวก

  • นโยบายเพิ่มแก้มลิงธรรมชาติ พื้นที่รับน้ำให้กรุงเทพฯ : กทม. จัดการน้ำและระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและจัดการจุดน้ำรอระบาย หรือน้ำท่วมขังในเส้นทางสัญจรและพื้นที่อยู่อาศัยลดน้อยลง
  • นโยบายเพิ่มการขุดลอกคูคลองรองรับฝนทันฤดู : คูคลองสายหลักและคลองเส้นเลือดฝอยให้มีประสิทธิภาพ พร้อมรองรับฤดูฝน
  • นโยบายขุดลอกและทำความสะอาดท่อระบายน้ำ 3,000 กม. : ขุดลอกคูคลอง เชื่อมโยงและยกระดับประสิทธิภาพโครงข่ายการบริหารจัดการน้ำท่วมให้ทำงานได้ครบวงจร

กทม. เดินหน้าก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมฯ เผย นโยบายจัดการน้ำ ไม่ท่วม-ลดเร็ว

 

3.จัดการระบบ พัฒนาและดูแลพื้นที่น้ำ

  • นโยบายปรับปรุงซ่อมแซมแก้จุดฟันหลอกับคันกั้นน้ำริมแม่น้ำและคลองสายหลัก : ลดปัญหาจุดน้ำท่วมขัง จากสาเหตุระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาหนุนสูงและเอ่อล้นคันกั้นน้ำในจุดเขื่อนฟันหลอทั่วกรุงเทพฯ
  • นโยบายแจ้งเตือนฝนตกล่วงหน้าแม่นยำ : ลดผลกระทบจากเหตุการณ์ฝนตกหนัก น้ำท่วมขังเป็นอุปสรรคการเดินทาง ส่งผลกระทบต่อการเดินทางและกิจวัตรของประชาชน ให้ประชาชนสามารถวางแผนเตรียมการและหลีกเลี่ยงได้
  • นโยบายทบทวนแผนการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ ความคุ้มค่าการลงทุน และประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพัฒนา ดูแลพื้นที่น้ำ : จัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มุ่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังและน้ำรอการระบายอย่างยั่งยืนและเป็นระบบ

 

logoline