svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ.แจง ปรับมาตการรับมือหลังป่วยโควิด-19 หลังยอดติดเชื้อพุ่งสูง

18 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สธ.ชี้แจง เตรียมปรับมาตรการรับมือผู้ติดเชื้อโควิดหลังยอดพุ่ง พร้อมเช็กอัตราเตียงว่างเพียงพอรองรับผู้ป่วยหนักหรือไม่ หากติดเชื้อพุ่งไม่หยุด พร้อมเตรียมปรับ UCEP+ ป่วยสีเหลืองรักษาทุกโรงพยาบาล เพื่อเตรียมรับสถานการณ์

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวระหว่างการแถลง การบริหารจัดการเตียงผู้ป่วยโควิด ว่า สำหรับแนวโน้มการติดเชื้อ "โควิด-19" เปรียบเทียบระหว่างเดือนม.ค. และเดือนก.พ. พบว่าในเดือนก.พ. มีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อรายบใหม่เกือบเท่าตัว แต่จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบเพิ่มนอัตราน้อยมาก ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่ม 50 รายหรือประมาณ  0.1 % จำนวนเสียชีวิต ม.ค. เฉลี่ย 18 คน ก.พ. เฉลี่ย 23 ราย ส่วนอัตราผู้ป่วยเด็กในเดือน ก.พ. มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา  ทั้งนี้จาก จำนวนผู้ป่วยโควิดเพิ่มมากยิ่งขึ้นทำให้หลายคนกังวลว่าจำนวนเตียงมีความเพียงพอหรือไม่ 


ล่าสุด อัตราเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ในทั่วประเทศ

มีอัตราเตียงว่างที่สามารถรองรับผู้ป่วยในระดับต่างๆ อัตราการครองเตียง (ข้อมูล ณ วันที่ 16 ก.พ. 2565)  ได้ดังนี้ 

  • อัตราเตียงรองรับผู้ป่วยโควิที่มีในระบบทั้งหมด 174,0239 เตียง 
  • อัตราการครองเตียง   80,756 เตียง 
  • อัตราเตียงว่าง           93,273 เตียง 

สธ.แจง ปรับมาตการรับมือหลังป่วยโควิด-19 หลังยอดติดเชื้อพุ่งสูง

สธ.แจง ปรับมาตการรับมือหลังป่วยโควิด-19 หลังยอดติดเชื้อพุ่งสูง

สธ.แจง ปรับมาตการรับมือหลังป่วยโควิด-19 หลังยอดติดเชื้อพุ่งสูง

 

ด้านความสามารถของเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งในส่วนของ กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต กระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลตำรวจ โรงเรียนแพทย์ เอกชน   มีดังนี้ 

  • อัตราเตียงทั้งหมด    55,369 เตียง 
  • อัตราการครองเตียง  25,359 เตียง 
  • อัตราเตียงว่าง         30,010 เตียง

 

สธ.แจง ปรับมาตการรับมือหลังป่วยโควิด-19 หลังยอดติดเชื้อพุ่งสูง

ศักยภาพในการรองรับผู้ป่วย "โควิด" ในระดับต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีดังนี้ 

  • รองรับผู้ป่วยระดับ 1 (กลุ่มที่ไม่ใช้อ็อกซิเจน) 40,943 เตียง 
  • ผู้ป่วยระดับ 2.1 (Oxygen low flow) 2,427 เตียง
  • ผู้ป่วยระดับ 2.2 (Oxygen high flow)740 เตียง  
  • ผู้ป่วยระดับ 3(ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจได้)  235  เตียง

สธ.แจง ปรับมาตการรับมือหลังป่วยโควิด-19 หลังยอดติดเชื้อพุ่งสูง

อัตราผู้ป่วยในกทม.ที่ระบบสามารถรองรับได้ 
ความสามารองรับผู้ป่วย โควิด รูปแบบ Home Isolation มีทั้งหมด 229 แห่ง 
สามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยใหม่ได้ประมาณ 5,540 รายต่อวันต่อแห่ง รวมทั้งสิ้นสามารถอรองรับผู้ป่วยได้ประมาณ 43,075 ต่อวัน   ส่วนต่างจังหวัดมีการเตรียมความพร้อมทั้ง Home Isolationและ Community Isolation รองรับผู้ป่วยใหม่มีความพร้อมเช่นกัน   อย่างไรก็ตาม หากมีการยกเลิก UCEP เตียงในโฮสพิเทลอาจจะหายไปจำนวนหนึ่ง เน้นย้ำว่าหากติดเชื้อในกลุ่มสีเขียวแนะนำให้ทำการ HI 


นพ.สมศักดิ์ สำหรับการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ติด "โควิด" จะมีการหมุนเตียงตลอดเวลา หากดูแล้วเด็กอาการดีขึ้นจะมีการแนะนำให้กลับไปรักษาตัวที่บ้าน รวมทั้งจะมีการเอาเตียงของผู้ป่วยทั่ว (NON COVID)และปรับมาเป็นเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด  อย่างไรก็ตามสำหรับมาตรการการดูแลรับมือผู้ป่วยโควิด ที่คาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทางกระทรวง

 

สาธารณสุขจะดำเนินการตามมาตรการ ๆ ดังนี้ 
1.จัดการดูแลแบบ Hotel ISolation และ Home Isolation เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิดอาการมากยิ่งขึ้น 
2.ออกแนวเกณฑ์ UCEP+ รองรับผู้ป่วยโควิดสีเหลืองให้สามารถเข้าโรงพยาบาลได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ซึ่งเป้ฯแนวทางการรังรอบจำนวนผู้ติดเชื้อผู้ที่ต้องนอนโรงพยาบาล
3.การขยายเตียงเพื่อรองรับจำนวนผู้ติดเชื้อเปลี่ยนจากเตียงผู้ป่วยทั่วไปมารองรับเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด 

 

สำหรับการดูแลผู้ป่วยโควิดนั้น ยังคงเน้นการให้ทำ HI หรือ CI สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก หรือมีอาการเล็กน้อย และยังเป็นการสำรองเตียงสำหรับผู้ป่วยในระดับ 2.1 และ2.2  ผู้ป่วยระดับ 3 ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ  หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่เสี่ยง แออัด  ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด 
 

สธ.แจง ปรับมาตการรับมือหลังป่วยโควิด-19 หลังยอดติดเชื้อพุ่งสูง

สธ.แจง ปรับมาตการรับมือหลังป่วยโควิด-19 หลังยอดติดเชื้อพุ่งสูง

logoline