svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

"พายุส้ม" เขย่า "พรรคคู่แข่ง"ต้องปรับกลยุทธ์ ผุดโมเดลการเมืองใหม่

16 สิงหาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การดำเนินงานทางการเมืองของ"พรรคก้าวไกล" ถูกคู่แข่งทางการเมืองจับตาตลอดเวลา โดยเฉพาะการกำหนดยุทธศาสตร์ ชิงกระแสสื่อเข้าถึงคนรุ่นใหม่ คำถามว่า "พรรคคู่แข่ง"ได้ทบทวน อุดจุดอ่อนตรงนี้แล้วหรือยัง

ในขณะที่ "พรรคเพื่อไทย" เตรียมแต่งตัวเป็น " รัฐบาล " โดยที่ " พรรคก้าวไกล " ต้องกระเด็นออกจากห้องหอไปนั่งเก้าอี้"ฝ่ายค้าน"ในไม่ช้า แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงท้าทายตามมาตลอดว่า แม้ปล่อยให้"ก้าวไกล" เป็นฝ่ายค้าน จะยิ่งทำให้ ก้าวไกลเติบโตทางการเมืองเพิ่มขึ้นอีกในวันข้างหน้า 

...ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ...

คำตอบ เพราะการสร้างพรรคในแบบฉบับ"ก้าวไกล"นั้น เป็นการมุ่งเน้นปรับเปลี่ยนทัศนคติผู้คนในทางการเมืองรูปแบบใหม่ ด้วยการวางรากฐานตั้งแต่นักเรียน เยาวชน หนุ่มสาว ให้มาสนใจการเมือง ผ่านเครื่องมือเทคโนโลยีสื่อสารที่เข้าถึงง่าย รวดเร็ว 

นี่จึงเป็นคำตอบข้างต้น แม้ก้าวไกลจะเป็นฝ่ายค้านในวันนี้ แต่วันข้างหน้าก้าวไกลก็จะกลับมาใหญ่ในวันหน้า 

\"พายุส้ม\" เขย่า \"พรรคคู่แข่ง\"ต้องปรับกลยุทธ์ ผุดโมเดลการเมืองใหม่

"มีคำถามต่อไปว่า พรรคการเมืองคู่แข่ง อย่างพรรคเพื่อไทยมองเห็นประเด็นนี้หรือไม่ หรือเห็นแล้ว แต่ได้ปรับกลยุทธ์แล้วหรือยัง" 

ในมุมมอง "อาจารย์ กฤษฎา บุญเรือง" นักวิชาการอิสระ จากรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา วิเคราะห์สิ่งที่ “เพื่อไทยคิด เพื่อไทยทำ" เอาไว้อย่างน่าสนใจ

-ผู้นำเพื่อไทย น่าจะรู้แล้วว่าฐานเสียงของตน โดยเฉพาะจังหวัดที่มีมหาวิทยาลัยนั้น เปลี่ยนไปเป็น “สีส้ม” หมดแล้ว หากมีการเลือกตั้งใหม่วันนี้"ก้าวไกล"อาจได้เพิ่มถึง 50% ส่วนเพื่อไทยแตกเป็นสองส่วน ลดไป 50% 

\"พายุส้ม\" เขย่า \"พรรคคู่แข่ง\"ต้องปรับกลยุทธ์ ผุดโมเดลการเมืองใหม่

หากเป็นเช่นนั้นจริงจะทำอย่างไรก่อนที่จะถูกเปิดเผยโดยผลการเลือกตั้งครั้งหน้า 

เหตุนี้เอง "คนแดนไกล" จึงต้องรีบใช้สถานะปัจจุบันที่มี สส. 141 เสียง เป็นตัวต่อรอง เพราะถ้ารอไปอีกและมีการเลือกตั้งครั้งหน้าจริง หากไม่มีโชคก็จะเหลือแค่ 70 ที่นั่ง ถึงตอนนั้นการต่อรองก็ไม่มีผล ครั้งนี้จึงเหมือนศึกครั้งสุดท้าย

ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

เช่นเดียวกับ พวกธุรกิจผูกขาด และพวกใช้เครื่องแบบหากินกับการมีอำนาจ เอื้ออำนวยผลประโยชน์ของประเทศร่วมกับทุนผูกขาด กลุ่มเหล่านี้ก็มีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยกัน ครั้งนี้ก็เป็นศึกครั้งสุดท้ายสำหรับพวกเขาเช่นกัน 

และนี่คือนิยามของการจัดตั้งรัฐบาลแบบที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ ตามมุมมองและบทสรุปของ อ.กฤษฎา 

โมเดลการเมืองในอนาคตระยะใกล้ โดยเฉพาะในการเลือกตั้งครั้งหน้า จะมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อต่อสู้ให้ตนเองมีที่ยืน 

1.โมเดลเสรีนิยมสุดขั้ว - นำโด่งโดย"พรรคก้าวไกล" และยังมองไม่เห็นคู่แข่ง 

2.โมเดลอนุรักษ์นิยม/ประชานิยม - นำโดยพรรคเพื่อไทย 

"โมเดลนี้มีความน่าสนใจ และมีงานวิจัยในต่างประเทศรองรับ 

**โมเดลนี้ จริงๆ แล้วก็เป็นแหล่งรวมของคนแนวคิดเก่า แต่สวมเสื้อคลุมใหม่ให้ดูทันสมัยขึ้น 

\"พายุส้ม\" เขย่า \"พรรคคู่แข่ง\"ต้องปรับกลยุทธ์ ผุดโมเดลการเมืองใหม่

3.นีโอ-คอนเซอร์เวทีฟ หรือ "อนุรักษ์นิยมแนวคิดใหม่" คือใช้แนวทางเสรีนิยมบางเรื่อง แต่ไม่สุดโต่ง และยังคงรักษาอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมเอาไว้ เช่น มาตรา 112 / เด็กเคารพผู้ใหญ่ 

***กลุ่มนี้จะแตกต่างจากเพื่อไทย คือใช้นโยบายแนวเสรีนิยม เช่น สวัสดิการถ้วนหน้า ไม่ใช่แค่แจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเท่านั้น**** 

เดิมหลายฝ่ายมองว่า "ประชาธิปัตย์"จะเป็นผู้นำแนวคิดนี้ อย่าลืมว่า ปชป.ก็มีการวางรากฐานทางการเมืองผ่านคนรุ่นใหม่ในนามยุวประชาธิปัตย์ มานานแล้ว แต่ปรากฏว่าปัญหาในพรรคเก่าแก่ลึกล้ำเกินบรรยาย 

\"พายุส้ม\" เขย่า \"พรรคคู่แข่ง\"ต้องปรับกลยุทธ์ ผุดโมเดลการเมืองใหม่

ล่าสุด จึงต้องจับตาไปที่ "สารวัตรต้น" พันตำรวจโท กุลธน ประจวบเหมาะ รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย ที่จับจังหวะ และขายไอเดียนี้ ด้วยการตั้งกลุ่มแนวๆ "นีโอ-คอนเซอร์เวทีฟ" 

แต่ความต่างจากที่เพื่อไทยกำลังทำ คือ เปิดโอกาสให้ “คนรุ่นใหม่” ได้ทำงานจริงๆ แล้วคนรุ่นเก่าที่มีประสบการณ์เป็นแค่ “พี่เลี้ยง” โดยยึดโมเดล "กลุ่มกรุงเทพ 50" ที่เคยสร้างปรากฏการณ์ในการเมืองไทยยุคหลังรัฐประหารปี 49 และหลังยุบพรรคไทยรักไทยเมื่อปี 50 แล้วมา เป็นกลุ่มคนการเมืองรุ่นใหม่ที่เน้นขับเคลื่อนงานการเมืองแบบใหม่ มุ่งนโยบายพัฒนาด้วยความคิดใหม่ๆ และมีพื้นที่ทำงานจริง ไม่ใช่แค่คิด แล้วเสนอคนรุ่นเก่า 

"สารวัตรต้น" ตั้งเป้า จะระดมคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมกันทำงานหลักร้อยคน และเตรียมนำแนวคิดนี้ไปหารือกับ "คุณหญิงหน่อย" สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวเรือใหญ่ของไทยสร้างไทย ซึ่งมีแนวคิดเปิดพื้นที่คนรุ่นใหม่เช่นกัน โดย "สารวัตรต้น" ไม่เคยคิดทิ้งพรรคไปไหน และให้ความเคารพเกรงใจคุณหญิงหน่อยอย่างมาก จึงเชื่อว่าคุณหญิงหน่อยจะสนับสนุนแนวทางนี้ 

4.โมเดลท้องถิ่นนิยม - เช่น พรรคประชาธิปัตย์ ในอนาคตอาจเป็นได้แค่ "พรรคภาคใต้" หรืออย่างกลุ่ม"ผู้กองธรรมนัส" หากจะตั้งพรรคภาคเหนือ มีเมืองหลวงที่พะเยา ก็มีความเป็นไปได้ และโมเดลนี้ยังคล้ายกับพรรคภูมิใจไทยในบางพื้นที่ เช่น บุรีรัมย์ ด้วย 

5.โมเดล ตอกเสาเข็ม - พรรคที่ประสบความสำเร็จ คือ "ภูมิใจไทย" แนวทาง “ตอกเสาเข็ม” จัดหนักจัดเต็ม โดยเฉพาะกระสุน และโครงการพัฒนา ผ่านทั้งงบประมาณจากส่วนกลาง หน่วยงานรัฐส่วนกลาง และองค์กรปกครองท้องถิ่น 

6.โมเดลแบบเพื่อไทรวมพลัง - เน้นเจาะพื้นที่เฉพาะ ทำการเมืองครองใจประชาชนในพื้นที่นั้นๆ แบบครบวงจร และเลือกส่งผู้สมัครเฉพาะพื้นที่ที่ชัวร์เกิน 80% อาจเป็นพรรคขนาดไม่ใหญ่ แต่มีความจำเป็นในการตั้งรัฐบาลผสม 

ความต่างระหว่างโมเดลการเมืองรูปแบบต่างๆ 

แบบแรก - เน้นกระแส นโยบาย และจุดยืน เป็นหลัก 

แบบที่ 2-3 - เน้นกระแส + นโยบาย + จุดยืนบางอย่าง แต่สวนทาง หรือตรงข้ามกับแบบแรก 

แบบที่ 4-6 - ไม่เน้นกระแส ไม่เน้นนโยบายมากนัก แต่เน้นการเข้าถึงประชาชน ดูแลประชาชนและพัฒนาพื้นที่แบบครบวงจร

logoline