"รายการคมชัดลึก" โดย "วราวิทย์ ฉิมมณี" ได้สัมภาษณ์ "นพ.พฤหัส ต่ออุดม" ผอ.รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ "องอาจ คล้ามไพบูลย์" ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคปชป. และ "อังคณา นีละไพจิตร" นักสิทธิมนุษยชน ต่อกรณี แกนนำมวลชน อดอาหารเรียกร้องให้มีการแก้กฎหมาย มาตรา 112
อดอาหาร = ทางออก? สิทธิประกันตัว-แก้ 112
วันนี้ได้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ" นพ.พฤหัส ต่ออุดม" ผอ.รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้มีการถามถึงอาการล่าสุดของ"ตะวัน"และ"แบม" ที่มีการรักษาตัวอยู่
"นพ.พฤหัส" แจ้งว่าอาการของน้องตะวันรู้สึกตัวดีแต่เริ่มมีการอาการอ่อนเพลียและพักผ่อนได้น้อย มีอาการสำคัญก็คือมีเลือดออกตามไรฟันทางปาก ตอนนี้น้องยังไม่ได้รับประทานอาหารแต่ว่าจิบน้ำเป็นระยะๆ สัญญาณชีพก็อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนน้องแบมอาการทั่วไปก็รู้สึกตัวดีมีอ่อนเพลียจากการอดอาหาร แล้วน้องก็จิบน้ำได้พอสมควร สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
"วราวิทย์" ถาม ในทางการแพทย์ประเมินจะถือว่าน่าเป็นห่วงมากน้อยขนาดไหนครับ
"นพ.พฤหัส" ในภาพรวม เริ่มมีสัญญาณของความผิดปกติในเรื่องของผลเลือดในบางส่วน เช่นในส่วนของน้ำตาลในเลือดต่ำลง อาจจะมีคีโตในเลือดในลักษณะนี้ บ่งบอกถึงการอดอาหารนะครับ
"วราวิทย์" ถามแต่ว่าอย่างน้อยๆทั้งสองคนยอมที่จะจิบน้ำแต่ปฏิเสธอาหาร ถ้าเทียบกับช่วงแรกๆทั้งสองคนปฏิเสธทั้งน้ำและอาหารเลย
"นพ.พฤหัส" ใช่ครับ
"วราวิทย์" ถามถ้าแพทย์จะทำการรักษาอะไรเบื้องต้นทั้งสองคนก็ไม่ได้ปฏิเสธการรักษาถูกต้องมั้ยครับ
"นพ.พฤหัส" ในเรื่องของอาการเบื้องต้นส่วนใหญ่จะปฏิเสธเรื่องของการรักษา เพราะว่าบางครั้งอาจจะจำเป็นต้องได้รับเกลือแร่บ้าง ได้รับกลูโคสบ้าง ซึ่งทางคณะแพทย์ได้มีการพูดคุยกับน้องทั้งสองคน แต่ในเบื้องต้นขณะนี้ปฏิเสธเรื่องของการรักษาทุกวันนี้อยู่ครับ
"วราวิทย์" ถามอะไรที่นอกเหนือจากแค่น้ำเปล่าแบบนี้ยังปฏิเสธอยู่
"นพ.พฤหัส" ใช่ครับ
"วราวิทย์" ถามมีญาติหรือผู้ปกครอง ทีมทนายความอนุญาตให้อยู่ด้วยมั้ยครับ
"นพ.พฤหัส" อันนี้จะเป็นขอบเขตอำนาจของกรมราชทัณฑ์นะครับ แต่เท่าที่ทราบก็มีผู้มาเยี่ยมเป็นระยะแต่ต้องขอกับทางราชทัณฑ์ทุกครั้งครับ ไม่ว่าจะเป็นทนายหรือคุณพ่อคุณแม่
"วราวิทย์" ถาม"คุณองอาจ" เมื่อสภาเอาเรื่องนี้ไปพูดคุยกันเพื่อจะหาทางออกเป็นญัตติด่วนของทางฝ่ายค้าน แล้ว"คุณองอาจ"เป็นฝ่ายรัฐบาลที่ลุกขึ้นมาพูดมองเห็นปัญหาเรื่องนี้ยังไง
"คุณองอาจ" มองว่า เป็นเรื่องดีที่สภาหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเพราะว่าเราจะได้ระดมความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายว่ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร หัวใจของเรื่องนี้ที่หยิบยกขึ้นมาเป็นเรื่องของการอดอาหารประท้วง
สำหรับข้อเรียกร้องกลุ่มคนที่มีแนวคิดลักษณะนี้ เรียกร้อง 2-3 ข้อนี้มาโดยตลอด แต่คราวนี้ที่สังคมให้ความสนใจมากขึ้นเพราะว่าน้องทั้งสองคนประกาศอดอาหารประท้วง แล้วสถานการณ์ทรุดลงเรื่อยๆสภาเองก็มีความกังวลเป็นห่วง
อย่างกรณี"พรรคประชาธิปัตย์" ไม่เห็นด้วยที่ยกเลิกมาตรา 112 ถึงแม้น้องเขาจะเสนอให้ยกเลิกมาตรา 112 แต่เราเห็นว่าชีวิตของคนสองคนก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เราต้องเคารพในการตัดสินใจของเขา เราอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยข้อเรียกร้องเขาหรือวิธีการที่เขาใช้ แต่เมื่อวันนี้เขาอดอาหารและน้ำโอกาสเสี่ยงในการเสียชีวิตมาสูง เราก็คิดว่าสภาต้องช่วยกันทำอย่างไรที่ไม่ให้เขาเสียชีวิต เราไม่ควรให้คนๆนึงหรือสองคนนี้เสียชีวิต
"วราวิทย์" ถามไม่ว่าจะมีข้อถกเถียงข้อเรียกร้องอะไรก็แล้วแต่ ในสภาทุกคนเห็นตรงกันต้องรักษาชีวิตเอาไว้ ที่เหลือจะแก้ยังไงเดี๋ยวค่อยว่ากันอันนี้คือเป้าหมายสูงสุดนะครับ
"คุณองอาจ" ใช่ครับ
"วราวิทย์" ถาม"คุณอังคณา"มองในแง่ของนักเคลื่อนไหว คงจะเห็นเคสในเรื่องการอดอาหารประท้วงอะไรแบบนี้ พอถึงเวลาต้องเคารพเขาด้วยแต่ข้อเรียกร้องต่างๆต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง คราวนี้ สมดุลมันจะอยู่ตรงไหนเรื่องนี้
"คุณอังคณา" คือในทางสิทธิมนุษยชนก็จะเคารพความต้องการของผู้ต้องขัง แล้วต้องยอมรับว่าเรื่องของ Hunger Strike ไม่ได้มีเฉพาะกรณีนี้เป็นกรณีแรก แต่ว่าทั่วโลกก็มี ต้องยอมรับส่วนใหญ่คนที่ทำในเรื่องของ Hunger Strike เป็นคนที่ไม่รู้จะเรียกร้องต่อรองอะไรแล้ว นอกจากใช้ตัวเองทรมานตัวเองเพื่อที่ให้คนได้รับรู้ว่าเขาเรียกร้องอะไรให้ข้อเสนอของเขาเป็นที่รับทราบ แล้วก็ส่งผลกระทบต่อรัฐบาลด้วย ซึ่งอันนี้ก็คือจุดประสงค์
ในกรณีของ"ตะวันกับแบม"เป็นข้อเรียกร้องที่ใหญ่มากแล้วต้องใช้เวลาซึ่งตรงนี้ อยากให้ทั้งครอบครัวและทนายความ รวมถึงคงต้องอธิบายให้เข้าใจว่า ไม่ได้จะแก้ไขได้ภายใน 1-2 วัน จริงอยู่เราอาจจะเพื่อรักษาชีวิตทุกคนยอมหมด แต่ถึงเวลาจะทำจริงไม่ได้ง่าย
อย่างปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ทราบดีว่ารัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ว่าเป็นไปตามที่คณะกรรมการปฏิรูปเสนอมา ซึ่งเรายังไม่รู้เลยว่าที่เขาเสนอมาเขาจะปฏิรูปแค่ไหน แล้วที่มาของกรรมการปฏิรูปที่ผ่านมาไม่ได้ยึดโยงกับภาคประชาสังคม ไม่ได้ยึดโยงกับผู้เสียหายที่จะเข้าไปเป็นกรรมการด้วย
เพราะฉะนั้นหลายเรื่องหลายข้อเสนออาจจะต้องไปถึงเรื่องของการแก้รัฐธรรมนูญรวมถึงการปฏิรูปศาล เพราะฉะนั้นตรงนี้ทุกอย่างต้องใช้เวลานะคะ
"วราวิทย์" ถามแล้วจะสื่อสารไปที่ตัวครอบครัวหรือว่าทั้งสองคนยังไง
"คุณอังคณา" ตรงนี้ต้องบอกว่าอย่างเราจะเข้าไปเยี่ยมก็เข้าไปเยี่ยมไม่ได้ เนื่องจากว่าตอนนี้ถึงแม้จะอยู่ที่โรงพยาบาลแต่ทั้งสองคนคือผู้ต้องขัง เท่าที่รู้สึก เหมือนกับว่า ทำไมถึงไม่ได้ประกันตัว ทำไมคนที่ออกมาใช้เสรีภาพมีการแสดงความคิดเห็นต้องอยู่ในเรือนจำ แล้วต้องอย่าลืมว่าคนรุ่นนี้ถึงแม้เขาจะถูกจำกัดสิทธิโดยการที่ต้องไปอยู่ในเรือนจำ อย่างหนึ่งที่เราต้องคำนึงถึงการไม่ให้ประกันตัวเนี่ย คือหลักการเมื่อถูกคดีอาญาหลักการคือต้องให้ประกันตัวการไม่ให้ประกันตัวคือข้อยกเว้นกรณีที่ไปคุกคามพยานหรือจะหนีอะไรว่าไป
แต่หลักการใหญ่คือต้องให้ประกันตัวเพื่อเขาจะได้ใช้ชีวิตได้ปกติ หลายคนเรียนหนังสืออยู่ถามว่าเวลาที่เขาถูกจำกัดเสรีภาพแต่เขายังมีสิทธิในการเข้าถึงการศึกษา ดังนั้นเขายังต้องเรียนหนังสือคือชีวิตเขาต้องไม่เปลี่ยนไป ไม่ใช่ออกมาแล้วเพื่อนๆจบไปแล้ว การที่ถูกคดีอาญาเวลาคุณไปสมัครงานที่ไหนใครจะรับคุณอะไรแบบนี้
จริงๆเรื่องพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ข้อหาหมิ่นประมาท คือ ภาคประชาสังคมและสิทธิมนุษยชนเรียกร้องมานาน สหประชาชาติ ทำความเห็นหลายครั้งต่อรัฐบาลไทยว่าไม่ควรที่จะเป็นคดีอาญา ถ้าจะฟ้องก็ให้ฟ้องแพ่งไม่ควรที่จะฟ้องอาญาเพราะโทษอาญามันคือติดคุก และมาตรา 116 เป็นกฎหมายที่โบราณมากเลยความผิดฐานกระด้างกระเดื่องทำให้เกิดการเปลี่ยนการปกครองอะไรขนาดนั้นเลย ถามว่าจะนำไปสู่ตรงนั้นจริงมั้ย
คลิป >>> อดอาหาร=ทางออก?