svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

ขบวนการประชาคมจังหวัดเพื่อ"การปฏิรูปการศึกษาชุมชน" แนวทางขจัดความยากจน

21 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ขบวนประชาคมจังหวัดเพื่อ"การปฏิรูปการศึกษาชุมชน" ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการศึกษาโดยประชาชนจากฐานล่าง ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ  จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ติดตามในเจาะประเด็น "พลเดช ปิ่นประทีป"

คณะกรรมาธิการการ"แก้ปัญหาความยากจนฯ" วุฒิสภา มีข้อเสนอแนวนโยบายพุ่งเป้าตัดวงจรความยากจนข้ามรุ่น โดยขยายนวัตกรรมเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนา สร้างพลเมืองรุ่นเยาว์ เพื่อการพิจารณาของรัฐบาล พรรคการเมือง และสาธารณชน ดังนี้ 

 

1.   เป้าหมาย  ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาชุมชนตามแนวนโยบายประเทศไทย 4.0 ขยายนวัตกรรมเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนาออกไปอย่างน้อยจำนวน 1,000 แห่ง โดยเน้นการครอบคลุมทุกอำเภอในพื้นที่ 13 จังหวัดยากจน รวมทั้งกระจายไปในจังหวัดอื่นตามความพร้อม จัดระบบการศึกษาฐานสมรรถนะ (competency based education) สร้างพลเมืองรุ่นเยาว์ที่มีคุณภาพ(civic education)  มีทักษะชีวิต มีทักษะอาชีพ และความรู้ตามหลักสูตรพื้นฐาน เป็นฐานรองรับนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น

2.    โรงเรียนปฏิรูปการศึกษาเพื่อชุมชน คืออย่างไร


•  โรงเรียนปฏิรูปการศึกษาเพื่อชุมชน เป็นผลผลิตและนวัตกรรมการศึกษาจากโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ที่เกิดจากความริเริ่มของรัฐบาลตามนโยบายประเทศไทย 4.0 เมื่อปี 2561 เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบใหม่(sand box)

 

โดยมอบหมายให้"นายมีชัย วีระไวทยะ" และสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน(PDA)เป็นผู้บุกเบิก เป็นรูปแบบนวัตกรรมทางสังคมในด้านการศึกษาที่บังเกิดผลสัมฤทธิ์ในเชิงประจักษ์ จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นแนวทางการปฏิรูปการศึกษาชุมชนที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนาจำนวน 195 แห่งในพื้นที่  52 จังหวัด และกำลังอยู่ระหว่างการริเริ่มดำเนินการอีก 108 แห่งใน 22 จังหวัด

•    โมเดลโรงเรียนร่วมพัฒนา  มีลักษณะสำคัญประกอบด้วย การปฏิรูปการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, การเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนแบบฐานความรู้มาเป็นแบบฐานสมรรถนะ, การมุ่งอบรมบ่มสอนให้เด็กนักเรียนมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เอื้ออาทร เคารพผู้อื่น เป็นประชาธิปไตย มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และมีความรู้ตามหลักสูตรพื้นฐานโดยครบถ้วน, การเปลี่ยนโรงเรียนจากที่เคยเป็นสถานที่ศึกษาของเด็กนักเรียนไปเป็นศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนของคนทุกวัย, และการบริหารจัดการมีความเป็นอิสระ คล่องตัวในรูปแบบของความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ประชาสังคมและภาครัฐ.

 

•    กระบวนการขับเคลื่อน  ประกอบด้วย 8 กิจกรรมสำคัญ ดังนี้

 

1) เชื่อมโยงการปฏิรูปโรงเรียนกับขบวนการชุมชนเข้มแข็งที่อยู่โดยรอบ

 2) ฝึกอบรมครู นักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน และผู้นำชุมชนให้มีความเข้าใจกระบวนการ

 3) สนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์  

4) จัดตั้งแปลงเกษตรที่ทันสมัยในโรงเรียนและในชุมชน โดยหลักการเป็นการเกษตรที่ใช้ดินน้อย น้ำน้อย แรงงานน้อย ราคาดี  

5) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ มีรายได้ระหว่างเรียน จัดตั้งกองทุนเงินออมของนักเรียนเพื่อสนับสนุนกิจการของนักเรียน  

6) จัดตั้งกองทุนเงินออมของชุมชน สนับสนุนการลงทุนของชาวบ้าน  

7) สร้างความมั่นคงทางอาหาร เพิ่มรายได้ให้กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน  

8) ดูแลระบบสาธารณสุข สุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมในชุมชน


•    โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในการปฏิรูป

เปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยมีความร่วมมือของภาคีต่างๆในพื้นที่เป็นฝ่ายสนับสนุน อันได้แก่ ภาคประชาสังคมจังหวัด ภาคธุรกิจเอกชนและส่วนราชการในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายชุมชน และพลังบ้าน-วัด-โรงเรียน 

 

• ทุกฝ่ายร่วมมือกันโดยมีเป้าหมายและความใฝ่ฝันที่ยิ่งใหญ่ร่วมกัน  

 

ในที่สุดอาจเกิดการก่อตัวกลายเป็น "ขบวนประชาคมจังหวัดเพื่อการปฏิรูปการศึกษาชุมชน" ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นกลไกขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการศึกษาโดยประชาชนจากฐานล่าง ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ   

 

4.  พัฒนาระบบทุนการศึกษาสำหรับเด็กยากจน


•  เพื่อสนับสนุนให้เด็กยากจนจากครอบครัวที่ยากลำบากมีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพแนวใหม่นี้ ภาคประชาสังคมจังหวัดและองค์กรภาคี ควรจัดให้มีระบบทุนการศึกษาแนวใหม่ โดยมีภารกิจในการค้นหาเด็กยากจนและด้อยโอกาส และจัดหาทุนการศึกษาให้แก่เด็กเหล่านี้ได้เข้าเรียนในโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาเหล่านี้ อย่างเพียงพอและต่อเนื่องตลอดเส้นทางการศึกษาของพวกเขา โดยทุนการศึกษานี้สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ รวมทั้งเงินสนับสนุนการพัฒนาและบริหารกิจการของโรงเรียนแนวใหม่ด้วย  

 

5.  การสนับสนุนจากภาครัฐ 


•  รัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการ และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ควรทำบทบาทหลักในการสนับสนุนการขับเคลื่อนนี้ โดยนอกจากการสนับสนุนเชิงนโยบายแล้ว ควรจัดให้มีแผนงาน โครงการ และงบประมาณสนับสนุนกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อการขยายเครือข่ายและสร้างนวัตกรรมการปฏิรูปการศึกษาในระดับปฏิบัติการ

 

6.  ตัวชี้วัด


•  จำนวนโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาเพื่อชุมชน(โรงเรียนร่วมพัฒนา) ในภาพรวม 

•  การกระจายตัว และความครอบคลุมพื้นที่ 168 อำเภอและ 13 จังหวัดยากจนที่เป็นเป้าหมาย

 

•  จำนวนนักเรียนและชุมชนที่ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

logoline