svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ทั่วไทย

เปิดจุดเสี่ยง พื้นที่ จ.สุรินทร์​ หากมีการปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา

เปิดจุดเสี่ยง พื้นที่ จ.สุรินทร์​ หากมีการปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา ย้อนข้อมูล ปี 2554 หากสู่รบ จะมีหมู่บ้านได้รับผลกระทบจากวิถีกระสุน 287 หมู่บ้าน

11 มิถุนายน 2568 ภายหลังไทย ออกมาตรการตอบโต้ "กัมพูชา" ร่นเวลาเปิด-ปิดด่านพรมแดน ขู่ตัดกระแสไฟฟ้าหากมีการเพิ่มกำลังทหารของฝ่ายกัมพูชา กระทั่ง มีการนัดเจรจากันอีกครั้งระหว่างไทยและกัมพูชา เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2568 ซึ่งการเจรจาเป็นไปในทิศทางที่ดี  ทั้งสองฝ่าย ยอมปรับการวางกำลังสู่แนวเดิมเมื่อปี 2567 พร้อมกันนี้ ทหารฝ่ายกัมพูชา ได้มีการกลบ "คูเลต" ที่ขุดไว้ให้กลับสู่สภาพเดิม

เปิดจุดเสี่ยง พื้นที่ จ.สุรินทร์​ หากมีการปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แม้ว่า ฝ่าย "กัมพูชา" จะยอมปรับกำลังตามข้อตกลง แต่ไทยก็ยังไว้วางใจ "กัมพูชา" ไม่ได้ จนกว่าจะได้ข้อยุติที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะช่วงนี้ มีความพยายามของฝ่ายกัมพูชา ในการยื่นฟ้องศาลโลก ใน 4 พื้นที่ ได้แก่ ช่องบก ปราสาทตาควาย​ ปราสาทตาเมือนธม​ และปราสาทตาเมือนโต๊ด
 

โดยล่าสุด นางสาวแพทองธาร​ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อประชุมติดตามสถานการณ์การคลี่คลายปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา รวมถึงมาตรการสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น นายกรัฐมนตรี​ ได้ร่วมรับประทานอาหารกับกองกำลังชายแดนและฝ่ายปกครอง ที่บริเวณบ้านด่าน​ ฐานปฏิบัติการกองกำลังสุรนารี ก่อนถึงด่านช่องจอม

นายกฯ ลงพื้นที่ จว.ชายแดนไทย-กัมพูชา​ ยืนยันรักษาอธิปไตยประเทศ
https://www.nationtv.tv/politic/378962593

เปิดจุดเสี่ยง พื้นที่ จ.สุรินทร์​ หากมีการปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา

ทั้งนี้ พื้นที่ จ.สุรินทร์​ มีอำเภอชายแดน ครอบคลุม 4 อำเภอ ได้แก่​ "บัวเชด​ สังขะ กาบเชิง​ และพนมดงรัก​" ยาวประมาณ 125 กิโลเมตร​ มีจุดผ่านแดน 1 แห่ง ที่ด่านช่องจอม และมีช่องทางธรรมชาติ 54 แห่ง

โดยจุดเสี่ยงหากเกิดการปะทะ​ มี​ 3จุ​ด คือ​ 

  • ปราสาทตาควาย​ 
  • ปราสาทตาเมือนธม​ 
  • ปราสาทตาเมือนโต๊ด (อยู่ในเขตอำเภอพนมดงรัก​) 

เปิดจุดเสี่ยง พื้นที่ จ.สุรินทร์​ หากมีการปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา

เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการปะทะเมื่อ ปี 2554 เป็นจุดเป้าหมายของประเทศเพื่อนบ้านให้ความสนใจ "หากมีการสู้รบ​ จะมีหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากวิถีกระสุน 287 หมู่บ้าน 22 ตำบล มีประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 144,300 คน" และได้มีการสร้างหลุมหลบภัยเป็นส่วนรวม 224 หลุม​ แต่ยังคงไม่เพียงพอ เนื่องจากมีการสร้างมาตั้งแต่ ปี 2554 ซึ่งพบว่าบางแห่งชำรุด แต่ก็ได้มีการซ่อมแซมไว้แล้ว​ 

ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดทำแผนป้องกันภัยทางอากาศ มีจุดรองรับผู้อพยพจาก 287 หมู่บ้าน ไว้ 65 แห่ง​ ทั้งในโรงเรียน วัด ในเขตพื้นที่ 4 อำเภอ มีศูนย์ผู้ลี้ภัยจำนวน 1 แห่ง โดยจะใช้รถของประชาชนที่มีอยู่ในชุมชน ในการอพยพเป็นหลัก ส่วนผู้ป่วยติดเตียงจะย้ายไปยังศูนย์พักพิงปลอดภัย โดยในพื้นที่พบว่ามีผู้ป่วยติดเตียงประมาณ 700 ราย​ ซึ่งได้เตรียมโรงพยาบาลพนมดงรักษ์ไว้ 30 เตียง โรงพยาบาลกาบเชิง 60 เตียง