8 กันยายน 2567 ที่ ประตูระบายน้ำปากคลองบางบาล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า พร้อมคณะลงพื้นที่ โดยมี นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับพร้อมบรรยายสรุปสถาการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ซึ่งการเดินทางลงพื้นที่มาครั้งนี้ เพื่อติดตามรับฟังสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา โดยปัจจุบัน หลังเขื่อนเจ้าพระยา ยังคงมีการระบายอยู่ที่ 1,498 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ประมาณน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วม ได้รับผลกระทบ จำนวน 7 อำเภอ 71 ตำบล 343 หมู่บ้าน 10,376 ครัวเรือน อำเภอเสนา รวม 7 ตำบล 49 หมู่บ้าน 4 ชุมชน 2,736 ครัวเรือน อำเภอบางบาล รวม 13 ตำบล 64 หมู่บ้าน 1,624 ครัวเรือน อำเภอผักไห่ รวม 12 ตำบล 70 หมู่บ้าน 2,045 ครัวเรือน
นอกจากนี้ ยังได้รับฟังปัญหาผลกระทบจากชาวบ้านในพื้นที่ ตำบลบางชะนี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มาร่วมให้การต้อนรับและเปิดเผยถึงปัญหาที่ได้รับ ซึ่งเป็นชาวบ้านที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ ซึ่งได้รับผลกระทบเกือบทุกปี แม้พื้นบ้านมีการยกสูงขึ้นแต่น้ำก็จะสูงขึ้นทุกๆปีเกือบถึงพื้นบ้าน บ้างคนมีทุนก็ยกสูงขึ้น แต่น้ำก็สูงตามขึ้นมาทุกๆปี อยากให้มีแนวทางหรือการแก้ไขอย่างไร
ส่วนคำถามที่ว่า ปีนี้สถานการณ์จะเหมือนปี 2554 หรือไม่ ตอนนี้เราให้ความมั่นใจกับพี่น้องประชาชนชนได้ว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่เป็นเหมือนตอนปี 2554 แน่ และภายใน 1-2 ปีนี้จะดีขึ้น กว่าที่เป็นอยู่ ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบไปบ้างแล้ว ทางจังหวัดจะเป็นเจ้าภาพหลักในการที่จะประสานความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เอง ก็มีกรมการข้าว ที่จะเตรียมเรื่องเมล็ดพันธุ์ ให้กับพี่น้องเกษตรกรได้เพาะปลูกหลังจากระบายน้ำออกแล้ว ทางกรมปศุสัตว์ ก็มีการเตรียมในเรื่องของอาหารสัตว์ที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรด้วย และ กรมพัฒนาที่ดิน ก็จะเข้ามาปรับปรุงสภาพพื้นที่ด้วย ส่วน พม.ก็จะเข้ามาช่วยในส่วนของดีดตัวบ้านบางพื้นที่ ที่จำเป็นต้องรับมวลน้ำมา