svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

ดรามาไม่เลิก! "วัดพระธาตุพนม" ถูก 2 ขั้วการเมืองท้องถิ่น ใช้เป็นเครื่องมือ

26 กันยายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดรามาไม่เลิก! "วัดพระธาตุพนม" ถูก 2 ขั้วการเมืองท้องถิ่นใช้เป็นเครื่องมือ ทต.ธาตุพนม วุ่น ถูกฝ่ายเห็นต่าง บีบทวงคืนถนนหน้าวัดเปิดการจราจร จนพื้นตัวหนอนเริ่มทรุด เร่งเสนอคมนาคมแก้ไข

26 กันยายน 2566  มีความคืบหน้าของการจัดระเบียบ หน้า วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม เพื่อหนุนสู่การขึ้นทะเบียนมรดกโลก ที่เป็นมหากาพย์ หมกหมมมานานนับสิบปี และยังไม่มีท่าทีว่าจะจบง่าย ๆ เนื่องจากยังมีปัญหา การจัดสรรพื้นที่ ให้กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้ จนเกิดเป็นกระแสดรามาหนักก่อนหน้านี้ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ดรามาไม่เลิก! \"วัดพระธาตุพนม\" ถูก 2 ขั้วการเมืองท้องถิ่น ใช้เป็นเครื่องมือ
 

ล่าสุด ได้เกิดดรามาระลอกใหม่ เป็นศึกใหม่ของ 2 ขั้วการเมือง โดยแต่ละฝ่ายต่างใช้วัดพระธาตุพนมเป็นข้ออ้าง ปมดังกล่าวเกิดจาก กลุ่มการเมือง 2 ขั้ว ในเทศบาลตำบลธาตุพนม (ทต.ธาตุพนม) มีกลุ่มฝ่ายตรงข้ามผู้บริหาร ทต.ธาตุพนม ออกมาเรียกร้อง ให้มีการเปิดถนน บริเวณหน้าวัดพระธาตุพนม ระยะทางประมาณ 300 เมตร โดยอ้างความสะดวกในการสัญจร 

ทั้งที่ ทต.ธาตุพนม เคยหารือกับวัดพระธาตุพนม หลังรับมอบถนน จากแขวงทางหลวงนครพนม จากเดิมเป็นเขตธรณีสงฆ์ ต่อมากรมทางหลวง ขออนุญาตตัดถนนผ่านหน้าวัด จึงกลายเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 (ชยางกูร) ภายหลังมอบให้ ทต.ธาตุพนม ดูแลรับผิดชอบ 
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 (ชยางกูร)  

กระทั่งปี 54 พล.ต.สนธยา ศรีเจริญ (ยศในขณะนั้น) อดีตผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 210 (ผบ.มทบ.210) เห็นว่า บริเวณหน้าวัด มีรถบรรทุกวิ่งผ่านทั้งวันทั้งคืน อาจมีผลกระทบต่อองค์พระธาตุพนมในอนาคต จึงมีการปิดถนน พัฒนาเป็นพื้นที่ลานธรรม ใช้งบประมาณกว่า 17 ล้านบาท ปรับปรุงพื้นปูบล็อกตัวหนอน ลายขิดอีสาน สร้างถนนลานธรรมเป็นรูปตัวที เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยว 

แต่ถึงขณะนี้ ยังไม่มีการถอนสภาพจากทางหลวงแผ่นดิน จึงเป็นช่องว่างให้ขั้วการเมือง ที่เห็นต่างจากผู้บริหารเทศบาล ใช้เป็นเครื่องมือออกมาร้องเรียน ให้มีการเปิดเป็นถนนสัญจรไปมา อ้างว่าหน้าวัดพระธาตุพนมฯ ยังคงสภาพเป็นทางหลวงแผ่นดิน จะต้องเปิดเป็นเส้นทางจราจร

เมื่อผู้บริหารถูกกดดัน จึงเปิดถนนหน้าวัดพระธาตุพนมฯ ให้มีการสัญจรได้ แต่ก็เกิดปัญหาตามมา การจราจรไม่สามารถควบคุมได้ มีทั้งรถบรรทุกหนัก รวมถึงรถยนต์ รถจักรยานยนต์วิ่งวุ่น เสี่ยงอันตรายกับประชาชน นักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวทำบุญ 
ดรามาไม่เลิก! \"วัดพระธาตุพนม\" ถูก 2 ขั้วการเมืองท้องถิ่น ใช้เป็นเครื่องมือ
 

เบื้องต้น จากการตรวจสอบพบว่า พื้นที่บล็อกตัวหนอน ที่ปูเป็นลายขิดอีสานสวยงาม มีความชำรุดเสียหาย พื้นเริ่มทรุดตัว เพราะไม่ได้ออกแบบมา เพื่อรับน้ำหนักรถสัญจรไปมา ทำให้บรรดาพ่อค้าแม่ค้า รวมถึงประชาชน นักท่องเที่ยว ออกมาเรียกร้องให้หน่วยงานเกี่ยวข้อง เร่งแก้ไขปัญหา ให้เกิดความชัดเจน ในการออกคำสั่งปิด-เปิดถนนดังกล่าว เพื่อไม่ให้กระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยว และเกิดความเสียหายของพื้นถนน ที่เป็นงบประมาณภาษีของประชาชน ที่สำคัญแรงสั่นสะเทือน จะไปถึงองค์พระธาตุพนม โอกาสเกิดรอยปริร้าวมีมากทีเดียว
ดรามาไม่เลิก! \"วัดพระธาตุพนม\" ถูก 2 ขั้วการเมืองท้องถิ่น ใช้เป็นเครื่องมือ  


สอบถามบรรดาพ่อค้าแม่ค้า ประชาชน นักท่องเที่ยว ระบุว่า ยอมรับว่า ยังสับสนกับการเปิดใช้ถนนหน้าวัดพระธาตุพนมฯ ทั้งที่ เคยปิดมาเป็นพื้นที่ลานธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างภาพลักษณ์สวยงามแก่วัดพระธาตุพนมฯ มานานนับ 10 ปี แต่ล่าสุดมีคำสั่งเปิดเป็นถนนสัญจรไปมา รถยนต์ รถจักรยานยนต์ยนต์วิ่งการวุ่น 

สิ่งที่กังวลคือ เป็นพื้นที่คนเดินมาท่องเที่ยวทำบุญ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้พบว่า พื้นถนนที่เป็นบล็อกตัวหนอน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อความสวยงาม ไม่ได้ทำเพื่อการรองรับรถยนต์หนักสัญจร เริ่มทรุดพังเสียหาย หากปล่อยไว้ยิ่งจะพังเสียหายหนัก

จึงฝากหน่วยงานเกี่ยวข้องแก้ปัญหา เพราะเห็นควรว่า จะต้องปิดเพื่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยว เพราะมีถนนบายพาส เลี่ยงตัวอำเภอธาตุพนม และมีถนนเลี่ยงหน้าวัด ในเขตเทศบาลตำบลธาตุพนม ไม่จำเป็นต้องผ่านหน้าวัด ควรใช้เป็นพื้นที่ค้าขาย และลานธรรมจัดกิจกรรมของวัดมากกว่า 
ดรามาไม่เลิก! \"วัดพระธาตุพนม\" ถูก 2 ขั้วการเมืองท้องถิ่น ใช้เป็นเครื่องมือ  

นายสรรชัย ธนตื้อ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม เปิดเผยว่า สำหรับปัญหาปิด-เปิดถนนหน้าวัดพระธาตุพนมฯ ย้อนไปเมื่อหลาย 10 ปีก่อน ยอมรับถนนเส้นหน้าวัด เดิมเป็นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 212 เชื่อมจาก จ.นครพนม ไปยัง จ.มุกดาหาร

ในอดีตไม่มีถนนบายพาสเลี่ยงตัวอำเภอ ทางจังหวัดนครพนม รวมถึงอำเภอธาตุพนม และหน่วยงานเกี่ยวข้อง จึงได้ผลักดันพัฒนา สร้างถนนรอบตัวอำเภอธาตุพนม เพื่อลดการจราจรแออัด ควบคู่กันได้มีการปรับปรุงพื้นที่หน้าวัด หรือพื้นที่ธรณีสงฆ์ของวัดเป็นลานธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างภาพลักษณ์ความสวยงาม

ในส่วนของถนนหน้าวัด ทางแขวงทางหลวง ได้ส่งมอบให้ ทต.ธาตุพนม ดูแลรับผิดชอบ จึงปิดพื้นที่พัฒนาเป็นลานธรรม ลานจัดกิจกรรมของวัด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มาตั้งแต่ปี 54 ในส่วนของการสัญจรไปมา ยืนยันว่า ไม่กระทบมีเส้นทางเลี่ยงทั้งบายพาส และในเขต ทต.ธาตุพนม และประชาชนส่วนใหญ่เห็นดีงามด้วย 

ปัญหาที่เกิดขึ้น มีฝ่ายขั้วการเมืองเห็นต่าง ออกมาเรียกร้องให้เปิดถนน เป็นเส้นทางสัญจรตามปกติ อ้างถึงเอกสารหลักฐาน ยังคงสภาพเป็นถนนทางหลวงฯ 212 เทศบาลมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ แต่ไม่มีอำนาจในการปิดพื้นที่ จะต้องมีการนำเสนอไปยัง หน่วยงานระดับสูงแก้กฎหมาย ถอนสภาพเสียก่อน กลายเป็นปัญหาตามมา ต้องกลับมาเปิดเป็นถนนสัญจรไปมา โดยจัดเจ้าหน้าที่ร่วมกับตำรวจ ฝ่ายปกครอง ไปดูแลประชาชน นักท่องเที่ยว เรื่องความปลอดภัย เพราะกลายเป็นพื้นที่ทางเดิน และมีรถสัญจรไปมาจำนวนมาก 
 

ยอมรับว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นบางส่วน เป็นปมความเห็นต่างของขั้วการเมืองตรงข้าม และเป็นปัญหาความขัดแย้ง ของคณะกรรมการวัดอีกด้วย


ที่กังวลหนักคือ ความเสียหายของพื้นถนนตามมา เพราะไม่ได้ทำเพื่อรับน้ำหนักรถยนต์สัญจร ทำให้บางจุดทรุดตัว อยู่ระหว่างการเสนอจังหวัดนครพนม ไปยังกระทรวงคมนาคมแก้ไขปัญหาระยะยาว
ดรามาไม่เลิก! \"วัดพระธาตุพนม\" ถูก 2 ขั้วการเมืองท้องถิ่น ใช้เป็นเครื่องมือ

logoline