svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

แบบนี้ก็มี! ชาวเน็ตโพสต์ดรามา เจอ "ส่วยค่าเก็บเห็ด" ที่เขาอังคารบุรีรัมย์

17 กันยายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แบบนี้ก็มี! ชาวเน็ตโพสต์ดรามา เจอ "ส่วยค่าเก็บเห็ด" ที่เขาอังคารบุรีรัมย์ ขณะที่ทางชุมชนแจงข้อเท็จจริงถึงกับอึ้ง

17 กันยายน 2566 กำลังเป็นที่วิจารณ์อย่างมากในสังคม กรณี "ส่วย" หรือการเรียกเก็บเงิน เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกรณีปัญหาเรื่อง "ส่วย" นี้ จะลุกลามไปในทุกวงการ 

ล่าสุด ปัญหา "ส่วย" ได้ไปปรากฏในวงการเก็บเห็ด จนกลายเป็น "ดรามา" หลังหลังมีผู้ใช้เฟชบุ๊กรายหนึ่ง ชื่อ "ผู้สาวไทบ้าน" โพสต์ภาพด่านเก็บเงิน พร้อมเขียนข้อความว่า 

โดนเก็บค่าเห็ดสองด่านตะวันตกกับตะวันออก พี่น้องข่อยได้เห็ดสองดอก ใครที่ยังไม่รู้โปรดรู้ ก่อนที่จะไปเด้อคะ

สำหรับคนที่จะไปเก็บเห็ด มีสองด่านคนละเขต ถ้าใครจะไปเขาอังคา รให้ไปอีกทางจะได้ไม่ผ่านด่านโคกพวง ถ้ามาเขาคอดให้มาทางโคกพวงได้เลยคะ” 

ซึ่งภายหลังที่โพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ ได้มีชาวเน็ตเข้าไปแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยส่วนตั้งคำถามว่า ป่าสาธารณะน่าจะเก็บเห็ดได้อย่างเสรี หรือจะเป็น "ส่วย" เก็บเห็ดหรือไม่? 
โพสต์ดรามา "ส่วย" เก็บเห็ด
 

ภายหลัง ผู้สื่อข่าวเดินทางไปตรวจสอบ บริเวณทางขึ้นเขาอังคาร ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นป่าเห็ดที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของ จ.บุรีรัมย์ พบว่า มีผู้คนจากทุกสารทิศ ทั้งขี่รถมอเตอร์ไซค์ และเหมารถกระบะมากันเป็นจำนวนมาก รอจ่ายเงินค่าเข้าไปเก็บเห็ด จนรถติดยาวกว่า 1 กม. 

จากการสอบถามทราบว่า คณะกรรมการของหมู่บ้าน จะเก็บค่าผ่านทางคนละ 20 บาท ในแต่ละวัน จะมีรถพาคนมาเก็บเห็ดประมาณ 80 - 100 คัน มีคนประมาณ 800 -1,000 คนต่อวัน ที่เข้าไปเก็บเห็ดในป่านี้ 
ปชช.นับพันรอเข้าคิวเก็บเห็ดที่เขาอังคาร
ปชช.นับพันรอเข้าคิวเก็บเห็ดที่เขาอังคาร
 

นายพลภัทร ชัสวิเศษ เลขาป่าชุมชนเจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่า ป่าเขาอังคารแห่งนี้ มี 6 ชุมชน ที่รับผิดชอบร่วมกัน มีการเก็บเงินค่าเข้าไปเก็บเห็ดจริง เป็นค่าใช้บริการ เงินที่ได้ไปจะเข้าคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนกลาง ซึ่งแต่ละหมู่บ้าน แต่ละป่า จะมีคณะกรรมการคนละชุด ซึ่งแต่ละคณะกรรมการ จะไปวางระเบียบการจัดการบริหารอย่างไร

ส่วนใหญ่จะเอาไปพัฒนาป่าในพื้นที่ เช่นการพัฒนาแหล่งน้ำ การปลูกป่าเพิ่ม การทำแนวกันไฟ รวมถึงชุดล่าตระเวน ที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ออกไปอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง แต่ในช่วงที่เห็ดออกเยอะ คือช่วงนี้ จนท.จะต้องออกล่าตระเวนคืนละ 1-2 ครั้ง แต่ถ้าเงินเหลือก็จะเอาเข้าไปพัฒนาชุมชนของตัวเอง 
นายพลภัทร ชัสวิเศษ เลขาป่าชุมชนเจริญสุข  

นายพลภัทร กล่าวด้วยว่า เท่าที่สอบถามผู้ที่มาเก็บเห็ดจากที่อื่น พบว่า แต่ละพื้นที่มีป่าเหมือนกันหมด แต่ไม่มีเห็ดให้เก็บ ส่วนตัวคิดว่า ชุมชนนั้นไม่มีความสามารถ บริหารจัดการให้สิ่งแวดล้อม ให้กลับคืนมาได้ สิ่งที่เราอยากจะสื่อสารในการเก็บค่าบริการคือ อยากให้ทุกคนที่มาเก็บเห็ด ได้สร้างจิตสำนึก ให้เขากลับไปคิดว่า บ้านเขาก็มีป่า ทำไมไม่ไปบริหารจัดการ ให้ป่าของตัวเองมีเห็ดแบบนี้บ้าง ไม่จำเป็นเดินทางมาเก็บถึงที่นี่ บางคนเดินทางมาไกลกว่า 80 กม. 
แบบนี้ก็มี! ชาวเน็ตโพสต์ดรามา เจอ \"ส่วยค่าเก็บเห็ด\" ที่เขาอังคารบุรีรัมย์  

น.ส.สุพรรณษา จูกูร กรรมการประธานป่าชุมชน กล่าวว่า พื้นที่เขาอังคาร มีเนื้อที่ประมาณ 3,430 ไร่ เห็ดของป่านี้ จะมีความพิเศษกว่าเห็ดป่าที่อื่น เพราะเป็นป่าภูเขาไฟ ลักษณะเห็ดจะล้างดินออกง่าย รสชาติอร่อย สารบางอย่างที่ดีต่อสุขภาพ แบบเห็ดที่อื่นไม่มี

โดยในแต่ละปี เห็ดจะออกในช่วงเดือน เม.ย.- พ.ค.และเดือน ก.ย.-ต.ค.ทุกปี โดยเฉพาะเขาอังคาร มีโบราณสถาน มีธรรมชาติและอากาศที่ดีไม่แพ้เขาใหญ่ นักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ สามารถมาเที่ยวและสัมผัสด้วยตนเองได้

ส่วนกรณีดรามา ค่าส่วยเก็บเห็ด ทางชุมชนมีระเบียบชัดเจน มีกฎหมายป่าชุมชนรองรับอยู่แล้ว ทุกอย่างถูกต้อง ด้าน
น.ส.สุพรรณษา จูกูร กรรมการประธานป่าชุมชน  

นายวิเชษฐ์ เภตรา นายก อบต.เจริญสุข กล่าวว่า ส่วนหนึ่งดีใจที่มีผู้คนรู้ว่า ป่าเขาอังคารแห่งนี้ อุดมสมบูรณ์ ทั้งยังจะสะท้อนไปยังป่าชุมชนอื่น ๆ ว่าควรจะปรับปรุงหรือฟื้นป่าของตนเองอย่างไร ให้ป่ามาเป็นซุปเปอร์มาเก็ตของชุมชนได้ 
นายวิเชษฐ์ เภตรา นายก อบต.เจริญสุข
 

logoline