svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

"เลียงผา" โผล่อวดโฉม ที่ผาเดียวดาย อช.เขาใหญ่

31 พฤษภาคม 2566
275

พบ "เลียงผา" ออกมานอนรับแสงแดด ที่ผาเดียวดาย บนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยเลียงผาอยู่ในอาการสงบ สบายใจ แม้จะมีนักท่องเที่ยวเห็นแล้วบันทึกภาพ

31 พฤษภาคม 2566 ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บริเวณจุดชมวิว ผาเดียวดาย ที่เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 500 เมตร ที่ใช้ระยะเวลาในการเดินจากจุดเริ่มต้นมาจนถึงผา เป็นระยะเวลา 30-35 นาที โดยเส้นทางนี้นักท่องเที่ยวจะได้เห็นความสมบูรณ์ของระบบนิเวศของป่าดงดิบ พืชเมืองหนาว พืชพรรณหายาก ความซับซ้อนของธรรมชาติ และสัตว์ป่า รวมถึงจุดสำคัญคือทิวทัศน์ที่สวยงงามบนหน้าผาเดียวดาย 
"เลียงผา" โผล่อวดโฉม ที่ผาเดียวดาย อช.เขาใหญ่
ขณะที่วันนี้ถือเป็นโชคดีของนักท่องเที่ยวที่ได้พบกับเลียงผา เพศผู้ โตเต็มวัย ออกมานอนรับแสงแดดอ่อนๆ ในป่าข้างทางเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาเดียวดาย โดยไม่มีท่าทีตื่นกลัวนักท่องเที่ยว ที่เดินผ่านไปมา ด้วยลักษณะตัวที่มีสีดำ ที่กลมกลืนไปกับป่า นักท่องเที่ยวต้องใช้การสังเกตถึงจะรู้ว่ามีเลียงผานอนอยู่ แม้ว่านักท่องเที่ยวจะพบเห็นและถ่ายรูป เจ้าเลียงผาตัวนี้ก็ไม่มีท่าทีจะหนีหายไปอย่างใด 

"เลียงผา" โผล่อวดโฉม ที่ผาเดียวดาย อช.เขาใหญ่
สำหรับเลียงผา หรือ เยียงผา หรือ โครำ เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่ มีลักษณะคล้ายกับกวางผา แต่เลียงผามีขนาดใหญ่กว่า มีลักษณะคล้ายแพะแต่มีรูปหน้ายาวกว่า มีลำตัวสั้นแต่ขายาว มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขางอกยาวต่อเนื่องทุกปี กะโหลกแบน ขนตามลำตัวจะแปรเปลี่ยนไปตามอายุสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และชนิดพันธุ์ มีขนหยาบ ใต้ตามีต่อมน้ำมันใช้สำหรับถูตามต้นไม้หรือโขดหินเพื่อ ประกาศอาณาเขต พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่เอเชียใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อินโดนีเซีย จนถึงเอเชีย ตะวันออก เช่น จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น โดยมักอยู่ตามหน้าผาหรือภูเขาสูง หรือตามเกาะต่าง ๆ กลางทะเล มีความสามารถในการปีนป่ายที่สูงชันได้อย่างคล่องแคล่ว โดยสามารถทำความเร็วในการขึ้นที่สูงได้ถึง 1,000 เมตร ด้วยเวลาเพียง 15 นาที

"เลียงผา" โผล่อวดโฉม ที่ผาเดียวดาย อช.เขาใหญ่
เลียงผา
ถือเป็นสัตว์ที่มีความเก่าแก่ที่สุดในวงศ์ย่อยนี้ โดยปรากฏมาตั้งแต่ยุคไพลโอซีน ราว 2-7 ล้านปีมาแล้ว ถิ่นอาศัย ชอบอาศัยอยู่ตามภูเขาซึ่งปกคลุมด้วยป่าทึบ และพบเลียงผาอาศัยอยู่บริเวณหน้าผากับยอดเขาที่ระดับความสูง 1,000 เมตร ในป่าเบญจพรรณ โดยทั่วไปแล้วเลียงผาสามารถอาศัยอยู่ได้ในบริเวณที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 200 ไปจนถึงที่ระดับ 2,200 เมตร 
"เลียงผา" โผล่อวดโฉม ที่ผาเดียวดาย อช.เขาใหญ่