svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

พิษณุโลก นำร่องติดตั้งหอฟอกอากาศอัจฉริยะ แก้ปัญหา PM 2.5

23 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เทศบาลนครพิษณุโลก ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคเอกชน ติดตั้งหอฟอกอากาศอัจฉริยะ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อทดลองแก้ปัญหา PM 2.5 ใน 2 จุด หน้าโรงพยาบาลพุทธชินราช และ ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

23 มีนาคม 2566 ที่หน้าโรงพยาบาลพุทธชินราช อ.เมือง จ.พิษณุโลก นางเปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก พร้อม ผช.ศาสตราจารย์พิสิฐ มณีโชติ อาจารย์คณะวิทยาลัยพลังงาน มหาวิทยาลัยนเรศวร และ นายเอกสิทธิ์ วันสม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยโซล่าเวย์ จำกัด ตรวจสอบการติดตั้ง หอฟอกอากาศอัจฉริยะ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และระบบควบคุมดูแลผ่านเทคโนโลยีไฮโอที เพื่อการลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ซึ่งเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพในการฟอกอากาศ มากกว่าร้อยละ 90 และอัตราการฟอกอากาศ 5 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และส่งเสริมให้เทศบาลนครพิษณุโลกเป็นเมืองสะอาด เป็นนครแห่งความสุข พร้อมก้าวสู่เมือง Smart City อีกทางหนึ่ง 
พิษณุโลก นำร่องติดตั้งหอฟอกอากาศอัจฉริยะ แก้ปัญหา PM 2.5

พิษณุโลก นำร่องติดตั้งหอฟอกอากาศอัจฉริยะ แก้ปัญหา PM 2.5
นางเปรมฤดี
กล่าวว่า เทศบาลนครพิษณุโลก ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนเรศวร และภาคเอกชน ในการร่วมแก้ไขปัญหา ฝุ่น PM 2.5 โดยการติดตั้งติดตั้ง หอฟอกอากาศอัจฉริยะ บริเวณศาลาที่พักผู้โดยสาร 2 แห่ง ได้แก่ ศาลาที่พักผู้โดยสารบริเวณต้านหน้าโรงพยาบาลพุทธชินราช และ ศาลาที่พักผู้โดยสารบริเวณต้นหลังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) เพื่อเป็นการฟอกอากาศ ให้กับผู้รอรถโดยสาร และกินบริเวณพื้นที่ กว่า 100 ตารางเมตร ซึ่งในช่วงนี้พื้นที่ของเทศบาลนครพิษณุโลก มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับ PM2.5 เนื่องจากเมืองค่อนข้างเป็นแอ่งกระทะ ทำให้เกิด PM2.5 ปริมาณค่อนข้างมาก ซึ่งหากหอดังกล่าวทำงานได้ดี ก็จะมีการพัฒนาเป็นรถโมบายวิ่งไปตามจุดต่างๆเพื่อช่วยฟอกอากาศให้กับเมืองพิษณุโลก
พิษณุโลก นำร่องติดตั้งหอฟอกอากาศอัจฉริยะ แก้ปัญหา PM 2.5

พิษณุโลก นำร่องติดตั้งหอฟอกอากาศอัจฉริยะ แก้ปัญหา PM 2.5
ด้าน นายเอกสิทธิ์ กล่าวว่า หอฟอกอากาศอัจฉริยะ ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส) พัฒนาหอฟอกอากาศ ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร และเทศบาลนครพิษณุโลก เป็นพื้นที่นำร่อง ซึ่งหอฟอกอากาศเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพในการฟอกอากาศ มากกว่าร้อยละ 90 และอัตราการฟอกอากาศ 5 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ซึ่งในงานวิจัยนั้น ได้มาทำทดสอบจำนวน 2 แห่ง กระทั่งพบว่าหน้าโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก และหลังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ช่วงที่พักรอรถโดยสารประจำทาง เนื่องจากพบ เป็นจุดที่มีค่าฝุ่นละอองหมอกควันสูงมาก เป็นสีแดงมาโดยตลอด จึงได้นำผลงานการวิจัยเครื่องฟอกอากาศขนาดใหญ่ ที่ทำงานด้วยระบบม่านน้ำ และเทคนิคเสริมอีก 3 อย่าง ทำการประดิษฐ์ ติดตั้งไว้ทั้ง 2 จุด ในราคาประมาณเครื่องละ 9 แสนบาท ครอบคลุมพื้นที่ฟอกอากาศประมาณ 100 ตารางเมตร มีทั้งการดูดอากาศเสียเข้าไปฟอก แล้วปล่อยอากาศดีออกมา มีเครื่องวัดค่าของอากาศทั้งสองทาง แบบเรียลไทม์ โดยจะเปิดช่วงที่มีการจราจรแออัด มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนน๊อคไซด์สูง เป็นการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่มานั่งรอรถโดยสารครั้งละนาน ๆ นับชั่วโมง ให้สามารถสูดเอาอากาศดี เข้าไปในปอด แทนอากาศเสีย หากได้ผล จะขยายเป็นระบบฟอกอากาศติดรถโมบาย ตรงไหนมีปัญหาจะไปฟอกอากาศทันที

logoline