svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

ปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยัน ไม่มี "ซีเซียม-137" รั่วไหลจากโรงหลอม

20 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้ว่าฯ ปราจีน พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แถลงยืนยัน ไม่มี "ซีเซียม-137" รั่วไหลจากโรงหลอม หรือแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม จัดเก็บฝุ่นแดงปนเปื้อนแล้ว ระบุ ควบคุมสถานการณ์ได้ ขอประชาชนอย่าตื่นหตระหนก

20 มีนาคม 2566 เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ห้องศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 4 ศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วย นพ.สุรินทร์ สืบซึ้ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี , พล.ต.ต.วินัย นุชชา ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี , นายเพิ่มสุข  สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, นางเพ็ญนภา กัญชนะ รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, นายกิตติกวิน อรามบุญ หัวหน้าปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี แถลงข่าวกรณีวัสดุกัมมันตรังสี "ซีเซียม-137" หายไปจากบริษัทไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม 304 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี โดยเปิดเผยสรุปรายงานผลการดำเนินงานแก้ไข ระบุว่า

ปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยัน ไม่มี "ซีเซียม-137" รั่วไหลจากโรงหลอม

ตามที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี ได้รับแจ้งจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยการประสานจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. ว่า วัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 (Cesium - 137, Cs -137) มีลักษณะเป็นแห่งทรงกระบอกมีตะกั่วปกป้องอยู่ชั้นใน และห่อหุ้มด้วยเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ความยาว 8 นิ้ว น้ำหนัก 25 กิโลกรัม และมีป้ายติดรายละเอียดแสดงข้อมูลของวัสดุกัมมันตรังสี และมีสัญลักษณ์ทางรังสีขนาดเล็กติดอยู่ ของบริษัทเนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ จำกัด สูญหายไปจากที่ติดตั้ง โดยวัสดุกัมมันตรังสีผ่านการใช้งานมาแล้วประมาณ 28 ปี นั้น

ปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยัน ไม่มี "ซีเซียม-137" รั่วไหลจากโรงหลอม

จังหวัดปราจีนบุรีได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แก้ไขปัญหาวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137สูญหาย ขึ้นเพื่อบูรณาการและประสานการปฏิบัติ โดยการค้นหา  ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี, สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี, สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี, สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี, อำเภอศรีมหาโพธิ, อำเภอกบินทร์บุรี เข้าตรวจวัดรังสี

โดยออกปฏิบัติงานทันที ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้นำรถห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ พร้อมอุปกรณ์ประกอบด้วย 1.เครื่องวิเคราะห์ไอโซโทปรังสีแบบบอกทิศทาง ใช้เพื่อสำรวจปริมาณรังสีและวิเคราะห์ไอโซโทปรังสี รวมถึงบอกทิศทางของรังสีที่มากระทบกับเครื่องมือวัด 2.อากาศยานไร้คนขับพร้อมเครื่องวิเคราะห์ไอโซโทปรังสี สำรวจปริมาณรังสีในพื้นที่ขนาดใหญ่ พร้อมวิเคราะห์ไปโซโทปรังสีในพื้นที่เกิดเหตุ 3.เครื่องสำรวจปริมาณรังสี ใช้สำรวจปริมาณรังสีในพื้นที่เกิดเหตุ ในสถานที่เสี่ยง

ปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยัน ไม่มี "ซีเซียม-137" รั่วไหลจากโรงหลอม

ได้แก่ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด เช่น การค้นหาภายในโรงงาน พื้นที่ข้างเคียงรอบโรงงาน ร้านค้าของเก่า/โรงหลอม แหล่งจำหน่ายเศษวัสดุประจำของโรงงาน รัศมีรอบโรงงาน ร้าน/บริษัทรับซื้อของเก่า โรงงานหลอมเหล็ก ในพื้นที่ และให้กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี ตรวจเช็กข้อมูลกล้องวงจรปิด (CCTV) ในรัศมีรอบเขตอุตสาหกรรมทุกตัว บริเวณจุดที่สำคัญ เช่น สี่แยก ตรวจรถเข้า-ออก บริเวณโรงงาน บ้านพักคนงาน โดยรอบโรงงาน ประสานหาข้อมูลจากคนรับซื้อของเก่า และกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานบริษัทฯ เพื่อใช้เป็นซ้อมูลเบาะแสในการค้นหาวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137

ปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยัน ไม่มี "ซีเซียม-137" รั่วไหลจากโรงหลอม

ทั้งยังขอความร่วมมือการเผยแพร่ข่าวสารทุกช่องทาง โดยเฉพาะการจัดทำภาพอินโฟกราฟิก และจัดทำประกาศเป็นเสียงแจกจ่าย ให้อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน นำไปปิดป้ายประกาศและประกาศเสียงตามสาย รวมทั้งจัดแถลงข่าว ตลอดถึงขอความร่วมจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นครนายก นครราชสีมา สระแก้ว และฉะเชิงเทรา เพื่อเผยแพร่ข่าวสารให้ถึงประชาชนมากที่สุด รวมทั้งเพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อแจ้งเหตุที่จำง่ายที่สุด เช่น 1784 , 1296 , 191

ปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยัน ไม่มี "ซีเซียม-137" รั่วไหลจากโรงหลอม

นอกจากนี้ยังมีการประชุมผู้เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและสถานประกอบการ (บริษัทเนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด) เพื่อมอบหมายภารกิจและติดตามผลการดำเนินงานทุกวันตั้งวันที่ 13-18 มีนาคม 2566 เวลา 15.00 น. ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี

ในด้านสาธารณสุขและการแพทย์ มีการเตรียมความพร้อมด้านการรักษาพยาบาล ได้แก่ ยา , เวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงการติดตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้งยั้งมีการติดตาม เฝ้าระวัง สังเกต ซักถามประวัติและอาการ เมื่อมีคนไข้อาการผิดปกติเกี่ยวกับการได้รับผลกระทบจากสารเคมี เข้ามาทำการรักษา ส่วนการประชาสัมพันธ์ ได้ออกประกาศให้ความรู้แก่ประชาชนรับทราบแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องในทุกรูปแบบ ผ่านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอทุกอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี รายงานและเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของชุดปฏิบัติการ ทั้งผลงานที่ผ่านและแผนการดำเนินงานในวันถัดไปทุกวัน

สำหรับการตรวจพบ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจวัดรังสีในอุตสาหกรรมโรงหลอมโลหะจากเศษเหล็กที่เลิกใช้แล้ว ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย

1. วันที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 14.30-16.00 น. ได้แก่ บริษัท หยงชิง สตีล (ไทยแลนด์) จำกัด ต.หัวหว้า อ.ศรีมหาโพธิ

2. วันที่ 19 มีนาคม 2566 เวลา 09.30-18.30 น. ได้แก่ บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ต.หนองกี่ อ.กบินทร์บุรี , บริษัท เค ที พี สตีล จำกัด ต.หาดนางแก้ว อ.กบินทร์บุรี , บริษัท ที เอส บี เหล็กกล้า จำกัด ต.หนองโพรง อ.ศรีมหาโพธิ , บริษัท สิงห์ไทย สตีล จำกัด ต.หัวหว้า อ.ศรีมหาโพธิ

โดย ปส. ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ไอโซโทปรังสีในการตรวจสอบ เพื่อสำรวจปริมาณรังสีและวิเคราะห์ของสารกัมมันตรังสีจากวัตถุต้องสงสัย ว่าเป็นสารกัมมันตรังสีหรือวัตถุที่อาจมีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเชียม-137 หรือไม่

ผลการตรวจสอบพบโรงงานแห่งหนึ่งมีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในฝุ่นโลหะที่ได้จากผลิตโลหะ

ปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยัน ไม่มี "ซีเซียม-137" รั่วไหลจากโรงหลอม

ผู้เชี่ยวชาญของ ปส. ได้ควบคุมและตรวจสอบพื้นที่โรงงานโดยรอบ พบว่าโลหะที่ได้จากกระบวนการผลิต ไม่พบการปนปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 เมื่อตรวจวัดปริมาณรังสีโดยรอบพื้นที่โรงงานพบว่า ระดับปริมาณรังสีอยู่ในระดับปกติตามปริมาณรังสีในธรรมชาติ นอกจากนี้ได้มีการตรวจสอบคุณภาพอากาศ น้ำ บริเวณโดยรอบโรงงานพบว่า ระดับรังสีอยู่ในระดับปกติตามปริมาณรังสีในธรรมชาติ ไม่มีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในสิ่งแวดล้อม

สำหรับการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในฝุ่นแดง เกิดขึ้นจากโรงงานหลอมโลหะรีไซเคิล ที่รับซื้อเศษโลหะมือสองที่มีการปะปนของวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 เข้าไปในกระบวนการหลอมโลหะ และเมื่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเขียม-137 เข้าไปในกระบวนการหลอม ซีเชียม-137 จะถูกหลอมและระเหยกลายเป็นไอกระจายอยู่ในเตาหลอม ซึ่งจะมีระบบการกรองของเสียจากกระบวนการผลิต และเป็นการทำงานในระบบปิดทั้งหมด ซึ่งฝุ่นปนเปื้อนเหล่านี้จะมีระบบกรอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม และถูกจัดเก็บ ควบคุมอยู่ในระบบปิดทั้งหมด

ดังนั้น ฝุ่นโลหะปนเปื้อนได้ถูกระงับการเคลื่อนย้าย และจำกัดไม่ให้ออกนอกบริเวณโรงงาน ปส.ได้ดำเนินการตรวจวัดการเปรอะเปื้อนทางรังสีนอกร่างกายของผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดภายในโรงงาน ผลการตรวจสอบไม่พบการเปรอะเปื้อนทางรังสีของผู้ปฏิบัติงานแต่อย่างใด

สามารถสรุปได้ว่า ฝุ่นโลหะปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเชียม-137 มีการปนเปื้อนในบริเวณที่จำกัด และถูกควบคุมโดยผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และเหตุการณ์ในครั้งนี้ไม่เกิดการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 สู่สิ่งแวดล้อม ไม่เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยรอบและบริเวณใกล้เคียง ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกและสถานการณ์ทั้งหมดได้ถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว

ทั้งนี้ระหว่างการแถลงข่าว สื่อมวลชนจากหลายสำนัก รวมทั้งภาคเอกชนในพื้นที่ ได้พยายามถามว่าวัตถุที่หายไปนั้นถูกทำลาย ถูกหลอมละลายไปแล้วหรือไม่ ซึ่งทั้งเลขาธิการและเจ้าหน้าที่ ปส. รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ยืนยันว่าไม่มีการแพร่กระจายของซีเซียม-137 ออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้จะเรียกว่าฝุ่นแดง หรือฝุ่นเหล็ก ก็อยู่ภายในระบบปิด ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้ย้ำว่าตนเองก็อยู่ในบริเวณโรงงานที่พบ เครื่องมือก็ตรวจไม่พบ 

ส่วนฝุ่นแดงที่ปนเปื้อนซีเซียม-137 นั้น มาจากอุปกรณ์ที่หายไปหรือไม่ หรืออุปกรณ์นั้นมาถึงโรงงานแห่งนี้ได้อย่างไร รวมทั้งบางโรงหลอมเหล็กที่ไม่มีระบบตรวจจับ ถือเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ต้องดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขต่อไป

ปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยัน ไม่มี "ซีเซียม-137" รั่วไหลจากโรงหลอม

ย้อนไทม์ไลน์  ซีเซียม-137

วันที่ 14 มีนาคม มีการค้นหาซีเซียม-137 ที่หายไปจากโรงไฟฟ้าเอกชน สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้รับเเจ้งเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2566 โดยออกค้นหาใช้ครื่องตรวจจับออกค้นหาในทุกมิติ

ซีเซียม-137 ที่หายไปเป็นแท่งทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว หนัก 25 กิโลกรัม มีตะกั่วปกป้องอยู่ชั้นในและห่อหุ้มด้วยเหล็ก

ต่อมา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกาศตั้งเงินรางวัลถึง 100,000 บาท ให้กับผู้ชี้เบาะแสนำไปพบซีเซียม-137

วันที่ 19 มีนาคม มีข่าวการพบซีเซียม-137 ที่สูญหาย จากนั้นเวลาประมาณ 22.00 น. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปราจีนบุรี ยืนยันว่าข่าวเป็นความจริง

วันนี้ (20 มีนาคม) เวลา 11.00 น. ผู้ว่าฯ ปราจีนบุรี เเถลงยืนยันเเล้ว "ซีเซียม-137" ถูกหลอมเเล้ว สั่งปิดพื้นที่ ให้หยุดงานทันที เเละเตรียมตรวจเลือดกลุ่มเสี่ยง

ปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยัน ไม่มี "ซีเซียม-137" รั่วไหลจากโรงหลอม

logoline