svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าวทั่วไทย

ไม่จบ “คดีลุงพล” อัยการอุทธรณ์โทษจาก “รอลงอาญา” ให้เป็น “จำคุก”

คดีป่าไม้ “ลุงพล” ยังไม่จบ อัยการศาลสูงจังหวัดมุกดาหาร ยื่นอุทธรณ์ในคดีร่วมกันทำไม้หวงห้าม พ.ร.บ.ป่าไม้ , พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ จากโทษรอลงอาญาให้เป็นจำคุก

จากกรณีเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 ศาลมุกดาหารได้อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับ นายไชย์พล วิภา หรือ ลุงพล และ นายธีรพงษ์ (สงวนนามสกุล) และนายนิคม (สงวนนามสกุล) สองยูทูบเบอร์ ถูกดำเนินคดีในข้อหา ความผิดร่วมกันทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 11 ร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 มาตรา 14 ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี 3 เดือน ปรับ 45,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีกำหนด 1 ปี ปรับคนละ 20,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายกรมป่าไม้จำนวน 23,054 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี รวมทั้งรื้อถอนพญานาคภายใน 30 วัน ซึ่งต่อมาได้มีการย้ายออกตามคำสั่งศาล

 

ไม่จบ “คดีลุงพล” อัยการอุทธรณ์โทษจาก “รอลงอาญา” ให้เป็น “จำคุก”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

คุก2ปี "ลุงพล" บุกรุกป่าสร้างวังพญานาค

ล่าสุด (27 ต.ค. 65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีการไลฟ์สดของนายไชย์พล วิภา เมื่อคืนวันที่ 26 ต.ค.65 ว่าตนเองได้รับหนังสือแจ้งจากศาลว่าได้ถูกอุทธรณ์เกี่ยวกับคดีป่าไม้ 1 คดี ผู้สื่อข่าวจึงได้สอบถามไปยัง อัยการศาลสูงจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งนางสาวนฤมล วิเชียรแสน อัยการศาลสูงจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยเบื้องต้นว่า ได้ยื่นอุทธรณ์คดีนายไชย์พล พร้อมพวกอีก 2 คน ในคดีความผิดร่วมกันทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 11 ร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 มาตรา 14 จริง เนื่องจากว่าจำเลยไม่สำนึกผิดและยังต่อสู้คดีในชั้นศาล

 

ไม่จบ “คดีลุงพล” อัยการอุทธรณ์โทษจาก “รอลงอาญา” ให้เป็น “จำคุก”

ซึ่งทางอัยการศาลสูงจังหวัดมุกดาหาร ได้ยื่นอุทธรณ์คดีตั้งแต่วันที่ 18 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยยื่นในส่วนการสั่งรอลงอาญาให้เป็นโทษจำคุก ส่วนเรื่องของรายละเอียดนั้นต้องให้ทางโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้แถลงอีกครั้ง ในส่วนของอัยการศาลสูงจังหวัดมุกดาหารขอให้ข้อมูลเพียงเท่านี้ก่อน

 

ไม่จบ “คดีลุงพล” อัยการอุทธรณ์โทษจาก “รอลงอาญา” ให้เป็น “จำคุก”