svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

ปตท. ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emissions ในปี 2050

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เผยในงานประชุม TCAC 2023 ตั้งเป้าบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2050

 

คุณวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานประชุม TCAC 2023 ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ยกระดับเป็นวาระระดับโลก โดยที่ผ่านมาเราได้เห็นผลกระทบไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยทั่วโลก หรือภาวะ ElNino ที่ก่อให้เกิดปัญหาภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางเกษตร ดังนั้นการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในอนาคตจะมีแนวโน้มลดลง โดยก๊าซธรรมชาติจะเป็นพลังงานในช่วงเปลี่ยนผ่าน และมุ่งสู่พลังงานที่สะอาดมากขึ้น จากบทวิเคราะห์ของ International Energy Agency หรือ IEA หากแต่ละประเทศจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emissions ภายในปี 2050 การใช้พลังงานทดแทนจะเพิ่มขึ้น 4 เท่า ในขณะที่การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะลดลง 50% จากระดับ ปัจจุบัน และจำนวนสัดส่วนของรถ EV บนท้องถนนจะเพิ่มขึ้นเป็น 75% ของรถทั้งหมด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) ที่เร็วขึ้น และเป็นตัวเร่งให้เกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

คุณวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ปตท. ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emissions ในปี 2050

 

 

ปตท. ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emissions ในปี 2050

 

ปตท. ตระหนักและให้ความสำคัญในการเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว และพร้อมเป็นกำลังสำคัญนำพาประเทศไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตามวิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต” มุ่งเน้นการเติบโตในธุรกิจพลังงานอนาคต และธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง กระแสของโลกในอนาคต (Megatrend และ Energy Outlook) รวมทั้งปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกลุ่ม ปตท. ได้กำหนด 3 เป้าหมายที่บรรลุภายในปี 2030 ประกอบด้วย

 

Business Growth: ปรับพอร์ตการลงทุนธุรกิจพลังงาน โดยมุ่งเน้นธุรกิจคาร์บอนต่ำ

  • LNG: เพิ่มปริมาณการค้า LNG ใน Portfolio เป็น 9 ล้านตัน/ปี
  • Conventional Power: ปรับลดเป้าหมายลงทุนในกำลังผลิตไฟฟ้า Conventional เช่น Gas-to-Power จากเดิม 8 GW เป็น 5 GW
  • Renewable Power: เพิ่มเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จากเดิม 12 GW เป็น 15 GW ตามทิศทางของ Energy Transition ที่เร็วขึ้น

New Growth: เพิ่มสัดส่วนกำไรจากธุรกิจกลุ่ม Future Energy & Beyond ไม่ต่ำกว่า 30% ซึ่งประกอบไปด้วย

  • Future Energy ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงาน ห่วงโซ่อุปทานของรถยนต์ไฟฟ้า และ ไฮโดรเจน
  • Beyond ได้แก่ ธุรกิจยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ อาหารเพื่อสุขภาพ ธุรกิจเคมีภัณฑ์มูลค่าสูง ธุรกิจสนับสนุนการเคลื่อนที่และวิถีชีวิตท ธุรกิจโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน ธุรกิจระบบปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีดิจิทัล

Clean Growth: ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งกลุ่มลง 15% ภายในปี 2030 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2020

 

ปตท. ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emissions ในปี 2050

 

ปตท. ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emissions ในปี 2050

 

ปตท. ตั้งเป้าบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2050 และกำหนดกลยุทธ์ 3 เร่ง ได้แก่ “เร่งปรับ เร่งเปลี่ยน เร่งปลูก” สอดคล้องตามนโยบายและเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ประกอบด้วย

  • เร่งปรับกระบวนการผลิต (Pursuit of Lower Emissions) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการให้ได้สูงสุด และมุ่งเน้นการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • เร่งเปลี่ยนสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Portfolio Transformation) เพิ่มสัดส่วนการลงทุน โดยออกจากธุรกิจผลิตถ่านหิน มุ่งเน้นธุรกิจพลังงานสะอาด และการเติบใตในธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน
  • เร่งปลูกป่าเพิ่ม (Partnership with Nature and Society) เพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศด้วยวิธีทางธรรมชาติ ประสานความร่วมมือกับภาครัฐ เครือข่ายความยั่งยืน และสังคมชุมชน โดย กลุ่ม ปตท. มีแผนในการเพิ่มพื้นที่ป่าอีก 2 ล้านไร่ ภายในปี 2030 ประกอบด้วย ปตท. 1 ล้านไร่ และบริษัทในกลุ่ม ปตท. อีก 1 ล้านไร่

 

ปตท. ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emissions ในปี 2050

ปตท. ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emissions ในปี 2050

ปตท. ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emissions ในปี 2050

นอกจากนี้ ปตท. ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักรู้ในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดย สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ได้ยกระดับการให้ความรู้ทางวิชาการ จากท้องทะเล สู่ขุนเขา เข้าสู่เมือง ผ่านการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ที่สำคัญจำนวน 3 ศูนย์ ได้แก่

  • ศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนจากพื้นที่นากุ้งร้างแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่ง ปตท. เล็งเห็นถึงศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน และประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ทั้งในแง่การเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำชายฝั่ง เป็นแนวป้องกันชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะพังทลาย กำบังคลื่น ลม กระแสน้ำและพายุ รวมทั้งเป็นแหล่งดูดซับน้ำเสียจากบ้านเรือน
  • ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ จังหวัดระยอง เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการป่าครบวงจร เป็นพื้นที่สาธิตการปลูกป่าและวิจัยการฟื้นฟูป่าหลากหลายรูปแบบ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นภาคตะวันออกและพันธุ์ไม้หายากของไทย รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งใหม่ที่สำคัญของภาคตะวันออก
  • ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องป่าและระบบนิเวศที่ผสมผสานความสวยงามด้านภูมิสถาปัตยกรรม รวมถึงเป็นพื้นที่สีเขียวของคนกรุงเทพฯ

 

จากกลยุทธ์การดำเนินงานอย่างยั่งยืน ของกลุ่ม ปตท. สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัว ความมุ่งมั่น และความพร้อมในการพัฒนาธุรกิจอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และพร้อมเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปด้วยกัน

 

ปตท. เผยตั้งเป้าบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2050  คุณวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  กล่าวในงานประชุม TCAC 2023