svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

เอ็กโก กรุ๊ป เปิดโรดแมปพลังงานสะอาด มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

02 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปัจจุบันปัญหาโลกร้อนกลายเป็นวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบไปทั่วโลก และในหลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญกับวิกฤตนี้ และพยายามอย่างหนักเพื่อหาวิธีเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป จัดงานสัมมนาหัวข้อ “EGCO Group Forum 2022 : Carbon Neutral Pathway ปฏิบัติการสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน”  ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ภาครัฐและเอกชนร่วมนำเสนอโรดแมป ระดมความคิดเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ( Carbon Neutral )

เอ็กโก กรุ๊ป เปิดโรดแมปพลังงานสะอาด มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานกรรมการ เอ็กโก กรุ๊ป

 

โดยในงานสัมมนา นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานกรรมการ เอ็กโก กรุ๊ป  ได้กล่าวถึงนโยบายการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำในปัจจุบัน จำเป็นจะต้องลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลลงอย่างต่อเนื่องภายในปี ค.ศ. 2050  โดย10 ประเทศอาเซียน ได้กำหนดนโยบายลดคาร์บอนลง  แต่ปัจจัยที่ยังเป็นห่วงคือ แต่ละประเทศ ยังมีความต้องการใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินต่อไป จะเป็นการส่งผลให้เส้นทางการก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งได้แก่

  • เป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้ 40% ในปี ค.ศ. 2030
  • เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี ค.ศ. 2050
  • เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ปี ค.ศ. 2065

   

ดังนั้นทางออกที่สำคัญในการแก้ปัญหานี้ คือการส่งเสริมให้ใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในหลายประเทศได้มีการออกนโยบายพลังงานสีเขียวเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว เช่น รัฐบาลญี่ปุ่นให้ได้สนับสนุนทุนถึง 2 ล้านล้านเยน เพื่อลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในระยะแรก ส่วนระยะต่อมาก็จะให้เอกชนดำเนินการเองอย่างเต็มรูปแบบ   และรัฐบาลยุโรปได้สนับสนุนเงิน 85,000 ล้านยูโร เพื่อปรับระบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะนำไปสู่ภาคขนส่งสีเขียว ในขณะที่ประเทศไทยได้ปรับกรอบแผนพลังงานชาติ ปี ค.ศ. 2022  โดยกรอบหลักได้เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนอย่างน้อย 50% การปรับพลังงานภาคขนส่งเป็นพลังงานสีเขียว และมาตรการสนับสนุนการใช้รถอีวี ปรับราคารถอีวีลงคันละ 2 แสนบาท เพื่อให้คนไทยหันมาใช้รถอีวีแทนรถสันดาป นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป กล่าวในหัวข้อ Carbon Neutral Roadmap ว่า  ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงานต้องปรับตัวเพื่อรับมือและเติบโตไปพร้อมกับความท้าทายดังกล่าว เอ็กโก กรุ๊ป จึงขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้แนวคิด “Cleaner, Smarter, and Stronger to Drive Sustainable Growth” เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยแบ่งเป้าหมายเป็น 2 ระยะ ได้แก่

  • เป้าหมายระยะกลาง การเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็น 30% และลดการปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตไดลง 10% ภายในปี ค.ศ. 2030
  • เป้าหมายระยะยาว คือ การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050”

   

สำหรับโรดแมป เอ็กโก กรุ๊ป ให้ความสำคัญกับการขยายพอร์ตโฟลิโอธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดทั้งในไทยและต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็มีนโยบายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงหลักที่ถือหุ้นอยู่ รวมถึงการศึกษาและพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่น ๆ เช่น ไฮโดรเจน แอมโมเนีย และการผลิตไฟฟ้าจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก (Small Modular Reactor - SMR) ซึ่งเป็นพลังงานที่ไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ มีเสถียรภาพ และราคาเริ่มเแข่งขันได้

อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก เนื่องจากส่วนใหญ่ต้องซื้อเทคโนโลยี จึงควรใช้โอกาสนี้ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งสามารถผลิตและส่งออกสินค้าเทคโนโลยีไปยังภูมิภาคอาเซียนได้ด้วย รวมถึงอยากเสนอให้ภาครัฐสนับสนุนพลังงานทางเลือกใหม่ ๆ เช่น ไฮโดรเจน ซึ่งมีเสถียรภาพ ราคาแข่งขันได้ และตอบโจทย์ความเป็นกลางทางคาร์บอนในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) เพิ่มเติม นอกเหนือจากการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเป็น 50%

นายจิรวัฒน์ ระติสุนทร องเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ในฐานะผู้กำหนดทิศทางและให้ข้อเสนอแนะเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอน  มองว่าการแก้ปัญหาต้องวางแผนระยะยาว ทั้งการปรับตัวและการลด ไม่ว่าจะใช้เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage - CCS) และเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilisation and Storage - CCUS) หรือ ไฮโดรเจน ซึ่งเกี่ยวพันโดยตรง ซึ่งจะต้องพิจารณาทั้งมิติความคุ้มค่าและมิติด้านเวลา ในการนำเข้าเทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด

นายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กล่าวว่า มีการประเมินว่าการปล่อยคาร์บอนจะไปสู่จุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2025 และจะค่อย ๆ ลดลง หากมาตรการต่าง ๆ สัมฤทธิ์ผล จนปี ค.ศ. 2050 การปล่อยจะสมดุลกับการเก็บ ซึ่งอาจจะต้องมีตัวช่วย คือ เทคโนโลยีที่ทำให้การปล่อยถูกจำกัดลงด้วยเทคโนโลยี CCS หรือระบบ CCUS

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.

นายพูนสิทธิ์ ว่องธวัชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลสู่ความยั่งยืน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาคธุรกิจต้องใช้เม็ดเงินลงทุนมหาศาล เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำตามเป้าหมายต่าง ๆ ที่ได้ประกาศไว้

ภาคธนาคารตระหนักถึงความสำคัญของการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินไปสู่ภาคธุรกิจที่จะลงทุนในโครงการสีเขียวต่าง ๆ โดยจากคาดการณ์พบว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2022-2050 จะเกิดช่องว่างทางการเงินของภาคขนส่ง พลังงาน อุตสาหกรรม และการเกษตร ที่ต้องการลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero ประมาณปีละ 2 แสนล้านดอลลาร์ ดังนั้น ภาคการเงินจะมีบทบาทช่วยผลักดันภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภาพรวมของประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero 

นายพูนสิทธิ์ ว่องธวัชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลสู่ความยั่งยืน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

logoline