svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง "ประพันธ์ุ คูณมี" เป็น"สมาชิกวุฒิสภา" ประกาศลงราชกิจจาฯ

03 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "ประพันธุ์ คูณมี" เป็นสมาชิกวุฒิสภา แทนตำแหน่งที่ว่าง

 

3 ธันวาคม 2565  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565  "ราชกิจจาฯ" เผยแพร่ ประกาศ แต่งตั้ง"สมาชิกวุฒิสภา" 

 

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง สมาชิกวุฒิสภา จำนวน ๒๕๐ คน ตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เนื่องด้วย "นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล" สมาชิกวุฒิสภา ได้ถึงแก่อนิจกรรม

 

โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง "ประพันธ์ุ คูณมี" เป็น"สมาชิกวุฒิสภา" ประกาศลงราชกิจจาฯ

 

จึงเป็นเหตุให้ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง "นายประพันธุ์ คูณมี" เป็นสมาชิกวุฒิสภา แทนตำแหน่งที่ว่าง

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา

 

คลิกอ่านฉบับเต็ม >>>

 

พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (นายประพันธุ์ คูณมี )

 

ประพันธุ์  คูณมี  ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็น สมาชิกวุฒิสภา

 

ทั้งนี้ ชื่อของ"นายประพันธุ์ คูณมี" เดิมได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในกลุ่มรายชื่อบุคคลสำรอง ลำดับที่ 12  ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 2 / 2562  เรื่อง ประกาศรายชื่อบุคคลสำรอง สำหรับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐

 

โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง "ประพันธ์ุ คูณมี" เป็น"สมาชิกวุฒิสภา" ประกาศลงราชกิจจาฯ

 

สำหรับ "นายประพันธุ์ คูณมี" แวดวงเพื่อนฝูงมักเรียกว่า "ผอม " ถือเป็นอดีตนักการเมืองอาวุโส โดยทำงานทางการเมืองร่วมกับหลายรัฐบาล แต่ที่น่าสนใจ คือ ความที่จบนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้มาเป็นมือกฎหมายให้กับ "นต.ประสงค์ สุ่นศิริ"  

 

แฟ้มภาพ  ประพันธุ์ คูณมี เมื่อครั้งขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

 

ด้วยความสนใจงานการเมือง จึงได้เข้าสังกัดพรรคการเมืองหลายพรรค ไม่ว่าเป็น"พรรคความหวังใหม่" ยุค "พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ" เป็นหัวหน้าพรรค   รวมถึงพรรคพลังธรรม ที่มี"พล.ต.จำลอง ศรีเมือง" เป็นหัวหน้าพรรค หรือแม้แต่เคยเข้าสังกัด"พรรคประชาธิปัตย์"

 

ชื่อของ"ประพันธ์ คูณมี" เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างมากขึ้น จากบทบาทร่วมกับ กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ ในการเคลื่อนไหวประท้วง "ทักษิณ ชินวัตร" เมื่อปลายปี พ.ศ. 2547 ร่วมกับ "นต.ประสงค์ สุ่นศิริ" จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ ทักษิณ ถึงกับตั้งฉายาประพันธ์ว่า "ทนายปีศาจ" และในการเลือกตั้งเมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 "ประพันธ์"ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยลงในเขต กรุงเทพมหานคร คือ เขตบางซื่อ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

 

ต่อมาในเหตุการณ์การขับไล่ "ทักษิณ ชินวัตร" ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2549 "ประพันธ์ คูณมี" ได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" (พธม.)  โดยเป็นแนวร่วมคนสำคัญ มีบทบาทเป็นโฆษกบนเวที และต่อมาภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ประพันธ์ได้รับแต่งตั้งเป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ขอบคุณข้อมูล: วิกีพีเดีย

 

 

logoline