เมื่อวันที่ 3 ต.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลัง"ราชกิจจานุเบกษา" ได้เผยแพร่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65
ก่อนหน้านี้ "นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า กทม.เหลืองบไว้ให้ผู้ว่าฯกทม.คนปัจจุบันใช้จ่ายเพียงเจ็ดหมื่นกว่าล้าน คำให้สัมภาษณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อบัญญัติกทม.เรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปี 66 ที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา
โดยงบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานครรวมทั้งสิ้น 79,000,000,000 บาท ประกอบด้วย งบกลาง 14,162,196,831 บาท จําแนกดังนี้
1. เงินสํารองจ่ายทั่วไป รวม 1,150,000,000 บาท
1.1 กรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น 500,000,000 บาท
1.2 ค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับน้ําท่วม 100,000,000 บาท
1.3 ค่าใช้ายเพื่อการพัฒนากทม. 550,000,000 บาท
2. เงินช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง 3,005,300,000 บาท
3. เงินบําเหน็จลูกจ้าง 1,328,000,000 บาท
4. ค่าติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ 100,000,000 บาท
5. เงินสํารองสําหรับค่างานส่วนที่เพิ่มตามสัญญา แบบปรับราคาได้ 10,000,000 บาท
6. เงินสํารองสําหรับค่าใช้ จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร 50,000,000 บาท
7. ค่าใช้ จ่ายเกี่ยวกับภารกิจและ หรือนโยบายที่ได้ รับมอบจากรัฐบาล 3,953,873,331 บาท
8. เงินสํารองสําหรับภาระผูกพันที่ ค้างจ่ายตามกฎหมาย 1,442,031,500 บาท
9. เงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้ รับบํานาญของกรุงเทพมหานคร 220,000,000 บาท
10. เงินสํารองสําหรับจ่ายเป็นเงินบําเหน็จบํานาญ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร 2,902,992,000 บาท
อ่านข่าวเพิ่มเติม>>>
เปิด"งบกทม."ยุค"ชัชชาติ" 7.9 หมื่นล้านบาท
ขณะที่สำนักต่างๆได้รับการจัดสรรงบฯดังนี้
สํานักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร รวม 125,309,020 บาท
สํานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร รวม 71,534,800 บาท
สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการ กรุงเทพมหานคร รวม 190,632,300 บาท
สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร รวม 798,165,550 บาท
สํานักการแพทย์ รวม 4,258,364,300 บาท
สํานักอนามัย รวม 2,397,267,545 บาท
สํานักการศึกษา รวม 1,485,432,600 บาท
สํานักการโยธา รวม 6,637,939,684 บาท
สํานักการระบายน้ํา รวม 5,766,306,200 บาท
สํานักการคลัง รวม 3,070,504,000 บาท
สํานักเทศกิจ รวม 396,147,000 บาท
สํานักการจราจรและขนส่ง รวม 3,128,726,740 บาท
สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวม 662,974,400 บาท
สํานักงบประมาณกรุงเทพมหานคร รวม 85,575,900 บาท
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล รวม 805,144,300 บาท
สํานักสิ่งแวดล้อม รวม 5,710,419,100 บาท
สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว รวม 1,477,909,499 บาท
สํานักพัฒนาสังคม รวม 998,001,700 บาท
สํานักการวางผังและพัฒนาเมือง รวม 193,544,900 บาท
เมื่อส่องดูงบประมาณ 50 เขต กทม.มีดังนี้
1.สํานักงานเขตพระนคร รวม 457,363,000 บาท
2.สํานักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย รวม 250,794,800 บาท
3.สํานักงานเขตสัมพันธวงศ์ รวม 217,589,474 บาท
4.สํานักงานเขตบางรัก รวม 237,815,460 บาท
5.สํานักงานเขตปทุมวัน รวม 379,336,670 บาท
6.สํานักงานเขตยานนาวา รวม 316,500,502 บาท
7.สํานักงานเขตดุสิต รวม 375,819,300 บาท
8.สํานักงานเขตพญาไท รวม 298,718,100 บาท
9.สํานักงานเขตห้วยขวาง รวม 361,459,300 บาท
10.สํานักงานเขตพระโขนง รวม 255,141,000 บาท
11.สํานักงานเขตบางกะปิ รวม 488,296,900 บาท
12.สํานักงานเขตบางเขน รวม 393,608,500 บาท
13.สํานักงานเขตมีนบุรี รวม 513,366,911 บาท
14.สํานักงานเขตลาดกระบัง รวม 588,620,400 บาท
15.สํานักงานเขตหนองจอก รวม 591,923,050 บาท
16.สํานักงานเขตธนบุรี รวม 408,389,900 บาท
17.สํานักงานเขตคลองสาน รวม 310,569,600 บาท
18.สํานักงานเขตบางกอกใหญ่ รวม 250,120,150
19.สํานักงานเขตบางกอกน้อย รวม 384,357,630 บาท
20.สํานักงานเขตตลิ่งชัน รวม 346,185,350 บาท
21.สํานักงานเขตภาษีเจริญ รวม 379,670,450 บาท
22.สํานักงานเขตหนองแขม รวม 444,899,240 บาท
23.สํานักงานเขตบางขุนเทียน รวม 498,278,700 บาท
24.สํานักงานเขตราษฎร์บูรณะ รวม 310,931,600 บาท
25.สํานักงานเขตดอนเมือง รวม 370,012,700 บาท
26.สํานักงานเขตจตุจักร รวม 511,457,900 บาท
27.สํานักงานเขตลาดพร้าว รวม 342,225,328 บาท
28.สํานักงานเขตบึงกุ่ม รวม 369,918,300 บาท
29.สํานักงานเขตสาทร รวม 270,154,200 บาท
30.สํานักงานเขตบางคอแหลม รวม 299,793,298 บาท
31.สํานักงานเขตบางซื่อ รวม 319,205,912 บาท
32.สํานักงานเขตราชเทวี รวม 327,459,636 บาท
33.สํานักงานเขตคลองเตย รวม 361,319,540 บาท
34.สํานักงานเขตประเวศ รวม 460,315,500 บาท
35.สํานักงานเขตบางพลัด รวม 329,635,600 บาท
36.สํานักงานเขตจอมทอง รวม 420,753,500 บาท
37.สํานักงานเขตดินแดง รวม 379,471,200 บาท
38.สํานักงานเขตสวนหลวง รวม 406,998,060 บาท
39.สํานักงานเขตวัฒนา รวม 335,831,960 บาท
40.สํานักงานเขตบางแค รวม 439,915,300 บาท
41.สํานักงานเขตหลักสี่ รวม 346,193,550 บาท
42.สํานักงานเขตสายไหม รวม 377,451,700 บาท
43.สํานักงานเขตคันนายาว รวม 312,595,220 บาท
44.สํานักงานเขตสะพานสูง รวม 338,910,300 บาท
45.สํานักงานเขตวังทองหลาง รวม 294,123,600 บาท
46.สํานักงานเขตคลองสามวา รวม 481,073,000 บาท
47.สํานักงานเขตบางนา รวม 290,762,550 บาท
48.สํานักงานเขตทวีวัฒนา รวม 359,942,900 บาท
49.สํานักงานเขตทุ่งครุ รวม 351,198,080 บาท
50.สํานักงานเขตบางบอน รวม 344,511,510 บาท
ทั้งนี้ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้อ 6 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครควบคุมการใช้จ่ายเงินและการบริหารงบประมาณ ตามรายการและจํานวนเงินที่ กําหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ และ ข้อ 7 ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรักษาการตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้