svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

กางระเบียบราชทัณฑ์ให้นักโทษลากิจร่วมงานศพ

20 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ภายหลังเกิดกระแสข่าวในโลกโซเชียลมีเดีย กับการปรากฏภาพ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกศาลตัดสินให้จำคุกจากการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว เดินทางไปร่วมงานศพมารดา

จนเกิดคำถามตามมาจากสังคม ว่าสามารถทำได้หรือไม่ และจากเรื่องนี้ ทำให้ย้อนกลับไปยังกรณีของ "นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" แกนนำคนเสื้อแดง ที่ได้มาร่วมงานศพบิดาระหว่างถูกจำคุกในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ก่อนมีรายงานข่าวจากกรมราชทัณฑ์ ออกมายืนยันว่า สามารถกระทำได้ตามระเบียบว่าด้วยการลาของนักโทษเด็ดขาด

 

สำหรับระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการลาของนักโทษเด็ดขาด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 แก้ไขโดยให้ยกเลิก ข้อ 6 ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการลาของนักโทษเด็ดขาด พ.ศ. 2561

 

โดยระเบียบปัจจุบัน กำหนดหลักเกณฑ์ในการลากิจของนักโทษเด็ดขาด (เฉพาะการลาไปประกอบพิธีเกี่ยวกับงานศพ)

ซึ่งแบ่งเป็น 3 ข้อหลัก ประกอบด้วย

 

1.คุณสมบัติของนักโทษเด็ดขาดที่จะอนุญาตลากิจ

 

-เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นกลางขึ้นไป

 

-เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย มีความอุตสาหะ ความก้าวหน้าในการศึกษา ทำงานบังเกิดผลดีหรือความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ

 

-ไม่กระทำผิดวินัยในเรือนจำ ระยะเวลาที่ถูกลงโทษต้องผ่าน 5 ปีขึ้นไป นับจากวันที่รับทราบคำสั่งลงโทษ

 

2.แนวทางการพิจารณาอนุญาตให้นักโทษเด็ดขาดลากิจ

 

-ให้เฉพาะลาไปร่วมพิธีฌาปนกิจศพ (ฝั่งศพ หรือเผาศพ ฯลฯ) เท่านั้น

 

-ให้เฉพาะผู้ตายที่เป็น บิดา มารดา สามี ภรรยา และบุตร ของนักโทษเด็ดขาด

 

-ให้ตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน คุณสมบัตของนักโทษที่จะขอลา ดังนี้

 

** บัตรประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง (กรณีญาตินักโทษเด็ดขาดยื่นคำร้อง)

 

** เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนักโทษเด็ดขาดกับผู้ตาย

 

** ใบมรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตาย

 

- ให้คำนึงความปลอดภัยของนักโทษและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม และต้องพิจารณารายละเอียดอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น สถานที่ประกอบพิธีฌาปนกิจ ระยะทาง การเดินทาง อยู่ในจุดอันตรายหรือเสี่ยงต่อการควบคุมหรือไม่

3. ผลการพิจารณา

 

3.1 ในกรณีผู้ได้รับมอบอำนาจ พิจารณาอนุมัติ

 

-ให้ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถาน กำชับเจ้าหน้าที่ให้ควบคุมนักโทษเด็ดขาดอย่างใกล้ชิด และถือปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ของทางราชการโดยเคร่งครัด อย่าให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ เมื่อเสร็จภารกิจ ให้เจ้าหน้าที่คุมตัวนักโทษกลับเข้าเรือนจำ หรือทัณฑสถานทันที

 

3.2 ในกรณีผู้ได้รับมอบอำนาจ พิจารณาอนุมัติ

 

-ให้ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถาน มอบหมายเจ้าหน้าที่ชี้แจงนักโทษหรือญาติผู้ยื่นคำร้องทราบ หากนักโทษหรือญาติผู้ยื่นคำร้องมีความประสงค์อุทธรณ์คำสั่งไม่อนุมัติ ให้เรือนจำ ทัณฑสถาน ส่งคำอุทธรณ์และเอกสารรายละเอียดต่างๆ ของนักโทษดังกล่าวพร้อมเสนอความเห็นเกี่ยวกับการลากิจ ไปกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์พิจารณาอีกครั้งต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม "นายบุญทรง เตริยาภิรมย์" ศาลมีคำสั่งพิพากษาจำคุก ในปี 2560 โดยกำหนดโทษ 48 ปี แต่มีพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ ในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธ.ค. พ.ศ. 2564

 

ทำให้นายบุญทรง ได้รับอภัยโทษ ลดวันต้องโทษ ปี 64 ในรอบแรก เหลือวันต้องโทษจำคุก 16 ปี ได้รับอภัยโทษ ลดวันต้องโทษ ปี 64 ในรอบสอง เหลือวันต้องโทษ 10 ปี โดยจะพ้นโทษวันที่ 21 เม.ย. 2571 

 

 

logoline